กรมโยธาธิการฟันธงไม่ยืดอายุรายงานตรวจสอบอาคาร

อังคาร ๑๘ มีนาคม ๒๐๐๘ ๑๔:๒๘
กรุงเทพฯ--18 มี.ค.--กทม.
กรมโยธาธิการฯ ฟันธง ไม่ให้ยืดเวลาการรายงานผลตรวจสอบอาคาร กทม.ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นฯ ต้องดำเนินการตามกฎหมายกับเจ้าของอาคารโดยไม่ยกเว้น เผยยังมีผู้ที่ไม่ยื่นรายงานกว่า 2,000 ราย จากที่ต้องตรวจสอบทั้งหมด 5,380 ราย
นายถนอม อ่อนเกตุพล โฆษกของกรุงเทพมหานคร กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทยได้แจ้งมายังกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับการไม่อนุมัติการผ่อนผันเจ้าของอาคารที่ไม่ยื่นรายงานผลการตรวจสอบอาคารตามกฎหมาย ซึ่งกำหนดให้เจ้าของอาคารต้องจัดส่งรายงานผลการตรวจสอบอาคาร มีกำหนดสิ้นสุดวันที่ 28 ธ.ค.50 โดยกรุงเทพมหานครได้ส่งหนังสือแจ้งเตือนให้เจ้าของอาคารจัดส่งรายงานผลการตรวจสอบอาคารแล้ว ผลปรากฏว่ามีเจ้าของอาคารจัดส่งรายงานผลการตรวจสอบอาคารจำนวนน้อย เมื่อเทียบกับข้อมูลอาคารที่ต้องจัดส่งรายงานผลการตรวจสอบ กรุงเทพมหานครจึงได้ประสานกรมโยธาธิการและผังเมือง ซึ่งเป็นหน่วยงานผู้เสนอออกกฎหมายพิจารณาขยายเวลาการจัดส่งรายงานผลการตรวจสอบอาคารออกไปอีกเป็นเวลา 180 วัน นับจากวันที่ 29 ธ.ค.50 แต่หลังจากนั้นกรมโยธาธิการและผังเมืองได้แจ้งว่าไม่สามารถอนุญาตให้ขยายระยะเวลาได้ กทม.จึงจำเป็นต้องดำเนินตามกฎหมายกับเจ้าของอาคารโดยไม่มีข้อยกเว้น
ตามที่กรุงเทพมหานครในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่น ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 32 ทวิ กฎกระทรวงกำหนดประเภทอาคารที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบ พ.ศ.2548 บังคับใช้ 25 ต.ค.48 และกฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้ตรวจสอบ หลักเกณฑ์การการขอขึ้นทะเบียนและการเพิกถอนการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบ และหลักเกณฑ์การตรวจสอบอาคาร พ.ศ.2548 บังคับใช้ 29 ธ.ค.48 กำหนดให้เจ้าของอาคาร 9 ประเภท คือ อาคารสูง 23 เมตรขึ้นไป อาคารขนาดใหญ่พิเศษพื้นที่ 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป โรงงานที่มีความสูงมากกว่า 1 ชั้นและมีพื้นที่ตั้งแต่ 5,000 ตารางเมตรขึ้นไป สถานบริการที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 200 ตารางเมตรขึ้นไป ป้ายบนดินสูง 15 เมตรขึ้นไป หรือมีพื้นที่ 50 ตารางเมตรขึ้นไป และป้ายบนอาคารที่มีพื้นที่ 25 ตารางเมตรขึ้นไป โรงมหรสพ โรงแรมขนาด 80 ห้องขึ้นไป อาคารชุมนุมคนพื้นที่ 1,000 ตารางเมตรขึ้นไป หรือชุมนุมคนได้ 500 คนขึ้นไป และอาคารอยู่อาศัยรวมหรืออาคารชุดพื้นที่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไปแต่ไม่ถึง 5,000 ตารางเมตร ได้รับการผ่อนผัน 7 ปี และพื้นที่ 5,000 ตารางเมตรขึ้นไป แต่ไม่ถึง 10,000 ตารางเมตร ได้รับการผ่อนผัน 5 ปี ทั้งหมดนี้ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบอาคาร
สำหรับข้อมูลอาคารที่ต้องมีการตรวจสอบตามกฎหมายในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 5,380 อาคาร มีผู้ยื่นรายงานผลการตรวจสอบอาคารจำนวน 3,265 ราย ยังไม่ยื่น 2,115 ราย ซึ่งหากอาคารไม่จัดให้มีผู้ตรวจสอบต้องรับโทษตามมาตรา 65 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 จำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับรายวันๆ ละไม่เกิน 10,000 บาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง อีกทั้งหากไม่แก้ไขตัวอาคารหรืออุปกรณ์ที่ชำรุดตามคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องรับโทษตามมาตรา 65 จัตวา แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ต้องปรับไม่เกิน 30,000 บาท และปรับรายวันๆ ละ ไม่เกิน 5,000 บาท ตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืน หรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๓๓ COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๑๘:๓๖ GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๑๘:๔๔ PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๑๘:๓๙ LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๑๘:๑๒ ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๑๘:๕๗ ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๑๘:๓๖ LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๑๘:๔๖ SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๑๘:๔๙ STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๑๘:๓๕ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน