Speedo บุกตลาดพร้อมโต 20% พร้อมชูเทคโนโลยีสุดทันสมัย ช่วยให้ว่ายน้ำได้เร็วที่สุดในโลก

พุธ ๐๗ พฤษภาคม ๒๐๐๘ ๑๑:๑๖
กรุงเทพฯ--7 พ.ค.--A La Carte
ไอ.ซี.ซี. ฯ ส่ง Speedo ลุยตลาดชุดว่ายน้ำเกาะกระแสโอลิมปิก เปิดตัวนวตกรรมใหม่ล่าสุด คือ “Speedo Fastskin LZR Racer” ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการว่ายน้ำให้เร็วยิ่งขึ้น พร้อมสนับสนุนนักกีฬาทีมชาติไทยเข้าแข่งในกีฬาโอลิมปิกที่ปักกิ่ง
นายชัยเลิศ มนูญผล รองผู้อำนวยการฝ่าย บ. ไอ.ซี.ซี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า Speedoชุดว่ายน้ำสัญชาติอังกฤษที่บริษัทฯ ได้รับสิทธิ์ในการจำหน่ายในประเทศไทยซึ่งปัจจุบันมีสัดส่วนทางการตลาดอยู่ที่ 30 % จากมูลค่าตลาดโดยรวม 1,000 กว่าล้านบาทแบ่งเป็น ชุดว่ายน้ำที่มียี่ห้อประมาณ 680 ล้านบาท ที่จำหน่ายอยู่ภายในห้างสรรพสินค้า โดยกลุ่มชุดว่ายน้ำที่ICC จัดจำหน่ายนั้นมีอยู่ประมาณ 50เปอร์เซ็นต์ บริษัทฯ คาดว่าในปีนี้ตลาดชุดว่ายน้ำโดยรวมทั้งหมดจะโต 10% และSpeedo คาดว่าจะโต 20% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว
ในปี้ 2551 เพื่อรองรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเรามีนวัตกรรมใหม่ล่าสุด คือ Speedo Fastskin LZR Racer ซึ่งเนื้อผ้าที่ใช้ทำมาจากเส้นใยที่พัฒนาให้เป็นเส้นใยที่เบาที่สุดในโลก มีคุณสมบัติในการกระชับกล้ามเนื้อ ไม่อมน้ำ ทนทานต่อคลอรีน และแห้งเร็ว โดยใช้ระบบตัดเย็บด้วยแสงเลเซอร์ ซึ่งการออกแบบชุดว่ายน้ำรุ่นนี้ Speedo ได้ ์NASA มาเป็นที่ปรึกษาในการออกแบบและนำเทคโนโลยีอวกาศมาพัฒนาให้ได้มาซึ่งชุดว่ายน้ำที่เร็วที่สุดในโลกเท่าที่เคยผลิตมา พร้อมมีการทดสอบคุณภาพและมาตรฐาน โดยใช้การทดสอบในอุโมงค์ลมของ NASA ที่ใช้ในการวิจัยที่เรียกได้ว่ามีความแม่นยำในการทดลองมากที่สุดในโลก ซึ่งใช้เป็นสถานที่สำหรับวิจัยแรงเสียดทานของวัสดุ — อย่างเช่นการทดสอบวัสดุที่ใช้บนยานอวกาศเมื่อกลับเข้าสู่บรรยากาศโลกด้วยความเร็วสูงด้วย บริษัทฯ คาดว่านวตกรรมใหม่ Speedo Fastskin LZR Racer จะสร้างมาตรฐานใหม่การผลิตชุดว่ายน้ำเพื่อคนรักการออกกำลังกายทางน้ำ และสีสันของการแข่งขันโอลิมปิกได้เป็นอย่างมาก
จุดเด่นของSpeedo
- กลุ่มสินค้าประเภท Performance
เป็นกลุ่มสินค้าที่มุ่งเน้นให้กับลูกค้าที่ใช้ชีวิตอยู่กับสระว่ายน้ำเป็นส่วนใหญ่ และชื่นชอบการว่ายน้ำเป็นพิเศษ ส่วนมากจะใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่กับสระั
- กลุ่มสินค้าประเภท Sport
เป็นกลุ่มสินค้าที่มุ่งเน้นไปยังลูกค้าที่ชื่นชอบชีวิตสนุกสนานร่าเริง สินค้ากลุ่มนี้จะไม่มีเพียงแค่ชุดว่ายน้ำเพียงอย่างเดียว แต่จะมีกลุ่มชุดลำลอง (Apparel) และ กางเกง (Watershorts)
โดยรวมแล้วสินค้าทั้ง 2 กลุ่มนี้ล้วนแต่จุดแข็งของเราโดยทั้งสิ้น เนื่องจากชุดว่ายน้ำในBrand อื่นๆนั้นจะเน้นที่ในกลุ่มFashion เสียเป็นส่วนใหญ่
Speedo อยู่คู่กับกีฬาว่ายน้ำทั้งระดับสากลและในประเทศไทยมาโดยตลอดซึ่งในอดีตนักกีฬาที่มีชื่อเสียงระดับโลกล้วนทำลายสถิติด้วยชุดของSpeedo อาทิ
Michael Phelps (USA), Grant Hackett (AUS), Kate Ziegler (USA), Katie Hoff (USA), Lizbeth Lenton (AUS)
ในส่วนของประเทศไทยSpeedo ได้มีโอกาสดูแลนักกีฬาทีมชาติทุกยุคทุกสมัยจนถึงโอลิมปิกที่กรุงปักกิ่งครั้งนี้ด้วย ซึ่งนักกีฬาที่บริษัทฯให้การสนับสนุนการการเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าแข่งขันครั้งนี้ คือ นายอาวุธ ชินภาแสง, นายรดมยศ มาดเจือ, นางสาวณัชฐานันตร์ จันทร์กระจ่างและนาย ฐานวัตร ธนาวรเกียรติ
สำหรับกลุ่มลูกค้าของSpeedoในปัจจุบันแบ่งเป็นผู้ชาย 60% ผู้หญิง 40% ซึ่งบริษัทฯ กำลังจะขยายฐานไปยังกลุ่มผู้ชายได้มากว่าผู้หญิง โดยใช้กลยุทธการถ่ายFashion และเดินFashion ในสื่อ Magazine ต่างๆ ในแต่ละseason เราก็จะมุ่งเน้นในการปลูกฝังให้เยาวชนสนใจ และให้ความสำคัญกับกีฬาว่ายน้ำมากขึ้น อีกทั้งยังมีแผนที่จะเปิด Shop-in-Shop และ Stand Alone Shop เพื่อสร้างConcept สินค้าให้ชัดเจน และให้ลูกค้านั้นได้เข้าถึงความเป็น Speedo ได้มากขึ้นและการจัดVisual Merchandise ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการสร้างยอดขายให้เติบโตยิ่งขึ้น
ในการเปิดตัว Speedo Fastskin LZR Racer อย่างเป็นทางการในประเทศไทยในครั้งนี้ บริษัทฯ เลือกรูปแบบการเปิดตัวภายใต้ชื่องาน “Swimming in The Catwalk by Speedo 2008” พร้อมเปิดตัวชุดว่ายน้ำที่ช่วยให้ว่ายน้ำเร็วที่สุดในโลก ด้วยเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่กำลังเป็นที่นิยมในวงการกีฬาระดับสากล และการจัดแฟชั่นโชว์ใต้น้ำครั้งแรกของประเทศไทย ที่มีปลาฉลามร่วมเดินแบบด้วย ซึ่งเดินแบบโดยนายแบบ-นางแบบมืออาชีพจากประเทศไทยและต่างประเทศ อาทิ แท็ค ภรัณยู โรจนาวุฒิธรรม สา มาริสา แอนนิต้า โดยมีคุณชัยเลิศ
มนูญผล รองผู้อำนวยการฝ่าย บ. ไอ.ซี.ซี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) และ Mr. Olivier Godbille Regional Business Development Director Speedo Asia Pacific เป็นประธานในงาน วันพุธที่ 7 พฤษภาคม 2551 เวลา 17.00 น. ณ สยามโอเชี่ยนเวิร์ด สยามพารากอน
ค.ศ. 1928 — สปีโด้ได้ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในประเทศออสเตรเลีย
ค.ศ. 1929 — อาเน่ บอร์ก ได้สร้างสถิติโลกใหม่ในชุดสปีโด้เรเซอร์แบ็ค
ค.ศ. 2000 ณ กรุง ซิดนียย์ 83 เปอร์เซ็นต์ของเหรียญรางวัลประเภทว่ายน้ำถูกนักว่ายน้ำที่ใช้ชุด Fastskin กวาด
ค.ศ. 2004 ณ กรุงเอเธน ชุดว่ายน้ำ Fastskin FS2 ช่วยให้นักกีฬาชนะ 47 เหรียญในกีฬาโอลิมปิก
ในปี ค.ศ. 2007 Fastskin FS-Pro ได้ถูกนำเสนอสู่ตลาด และทำให้21 สถิติโลกถูกทำลาย
และปีนี้ 2008 — Speedo ได้เตรียมนวัตกรรมล่าสุดสำหรับการแข่งขันโอลิมปิก ณ กรุงปักกิ่งLZR Racer และหลังจากSpeedo ได้นำเสนอ LZR Racer ไม่นานมีสถิติโลกทั้งหมด 35 สถิติถูกทำลายไปเรียบร้อยแล้ว
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับชุดLZR Racer
ทีมงาน Speedo LZR Racer
เพื่อให้ได้ชุดว่ายน้ำที่มีคุณภาพระดับโลก ผู้ำพัฒนาจึงต้องศึกษาจากนักกีฬาระดับโลกได้แก่:
Michael Phelps (USA), Grant Hackett (AUS), Ryan Lochte (USA), Eamon Sullivan (AUS), Liam Tancock (GBR), Brenton Rickard (AUS), Hugues Duboscq (FRA), Fred Bousquet (FRA), Natalie Couglin (USA), Kate Ziegler (USA), Katie Hoff (USA), Leisel Jones (AUS), Lizbeth Lenton (AUS), Jessicah Schipper (AUS)
นอกจากนักกีฬาแล้ว ทีมงานศึุกษา และค้นคว้าก็ถือว่า่เป็นทีมงานระดับโลกเช่นเดียวกัน ได้แก่
- Speedo Aqualab ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ประเทศอังกฤษ Speedo Aqualab เป็นแหล่งรวมผู้เชี่ยวชาญจากทั้งประเทศ อเมริกา, อังกฤษ, ญี่ปุ่น, ออสเตรเลีย และประเทศในทวีปยุโรป ที่มีความเชีี่่ยวชาญในเรื่อง เทคโนโลยีเนื้อผ้า และการออกแบบ ศึกษาและพัฒนาโครงสร้าง
- NASA — ศูนย์ค้นคว้า Langley
- มหาลัย Nottingham ในประเทศอังกฤษ — Computer Fluid Dynamic
- Australian Institute of Sport (AIS) — สถาบันกีฬาประเทศออสเตรเลีย โดยการทำงานร่วมกับ ทีมวิทยาศาสตร์การกีฬา เพื่อการทดสอบประสิทธิภาพของชุด
The Design Concept
การออกแบบตั้งอยู่ภายใต้โจทย์หลักอยู่ 3 ข้อ
- ชุดว่ายน้ำจะต้องสร้างแรงเสียดทานกับน้ำให้น้อยที่สุดในขณะที่นักกีฬากำลังเคลื่อนไหวอยู่ในน้ำ
- จะสร้างชุดว่ายน้ำขึ้นมาอย่างไรเพื่อลดแรงเสียดทาน และสร้างอุทกพลศาสตร์ (Hydrodynamic)และมีรูปแบบปราดเปรียว
- จะออกแบบชุดว่ายน้ำอย่างไรเพื่อเสริมแกนทรงตัวหลักให้กับนักกีฬาเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
การพัฒนา และกระบวนการทดสอบ
ผลการทดสอบแรงเสียดทานของพื้นผิวเนื้อผ้าจากองค์การ NASA
- Speedo ใช้การศึกษาค้นคว้าของเทคโนโลยีอวกาศ เพื่อใหัได้มาซึ่งชุดว่ายน้ำที่เร็วที่สุดในโลกเท่าที่เคยผลิตมา อีกทั้งได้์NASAมาเป็นที่ปรึกษาในการออกแบบ
- NASA มีอุโมงค์ลมที่ใช้ในการวิจัยที่เรียกได้ว่ามีความแม่นยำในการทดลองมากที่สุดในโลก ซึ่งใช้เป็นสถานที่วิจัยแรงเสียดทานของวัสดุ — อย่างเช่นการทดสอบวัสดุที่ใช้บนยานอวกาศเมื่อกลับเข้าสู่บรรยากาศโลกด้วยความเร็วสูง
- Speedo ได้ทดลองกับเนื้อผ้ามากกว่า 60ชนิด (ทั้งแบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน และแบบที่พัฒนาขึ้นมาใหม่) เพื่อทดสอบแรงเสียดทาน และดูว่าเนื้อผ้าชนิดไหนให้ประสิทธิภาพสูงสุดในความเร็ว และก่อให้เกิดแรงเสียดทานน้อยที่สุด
การทดสอบประสิทธิภาพของชุดว่ายน้ำผ่านความคิดเห็นของนักกีฬาของ สถาบันกีฬาออสเตรเลีย
- สถาบันกีฬาของประเทศออสเตรเลียจัดได้ว่าเป็นสถาบันทางกีฬาชั้นนำระดับโลกซึ่งผลิตโค้ชชั้นแนวหน้า อีกทั้งนักกีฬาที่มีชื่อเสียง และเป็นที่ซึ่งชุดว่ายน้ำLZR ถูกนำมาทดสอบกับนักกีฬาเพื่อหาความคิดเห็น และนำมาพัฒนาชุดนี้ต่อไป
- การทดสอบในครั้งนี้ได้แก่ ว่ายน้ำระยะ 10 เมตร ไม่จำกัดท่าว่าย การหมุนตัว ฯลฯ
การศึกษาสรีระศาสตร์นักกีฬาจากAqualab
Speedo ได้ทำการศึกษาสรีระของนักกีฬาผ่านทางการทำ 3D Scan กับนักกีฬากว่า 400 ชีวิตเพื่อเข้าใจในสรีระของนักกีฬาได้ดีมากขึ้น ข้อมูลที่ได้มาถูกนำมาพัฒนาชุดว่ายน้ำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นสำหรับชุด LZR Racer
ส่วนประกอบของLZR Racer Suit
เนื้อผ้า
- เนื้อผ้าที่ใช้ทำLZR Racer Suit ทำมาจากเส้นใยที่พัฒนามาจากชุด Fast Skin FS-Pro เส้นใยนี้มีชื่อเรียกว่า LZR Pulse
- LZR Pulse เป็นเส้นใยที่เบาที่สุดในโลก มีคุณสมบัติในการกระชับกล้ามเนื้อ ไม่อมน้ำ ทนทานต่อคลอรีน และแห้งเร็ว
- LZR Racer ประกอบไปด้วย LZR Panel ซึ่งผลิตมาจาก เยื่อPU คุณสมบัติพิเศษคือมีความบางมาก เยื่อPUนี้จะถูกตัดออกอย่างแม่นยำโดยแสงเลเซอร์ และถูกเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน
**LZR Panel Close-Up**
- เนื้อผ้า LZR Pulse และ LZR Panel จะถูกวางไว้ตรงตำแหน่งบนร่างกาย ซึ่งทำให้เกิด Hydro Form Compression System สิ่งนี้ช่วยลดแรงเสียดทานระหว่างน้ำกับชุด และสามารถว่ายน้ำไปได้ด้วยความเร็วสูงสุดได้
- จากการวิเคราะห์ของ Computer Fluid Analysis (การวิเคราะห์การลื่นไหนของของเหลวโดยใช้คอมพิวเตอร์) จากมหาลัยNottingham ในประเทศอังกฤษเพื่อบ่งบอกตำแหน่งที่ทำให้เกิดแรงเสียดทาน ทั้งนี้ก็เพื่อนำLZR Panel มาติดตรงตำแหน่งดังกล่าวเพื่อลดแรงเสียดทานทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
- ชุดLZR Racer ไม่ก่อให้เกิดความรำคาญกับนักกีฬาเมื่อเคลื่อนไหว
โครงสร้าง
- ชุดLZR Racer เป็นชุดว่ายน้ำชุดแรกที่ใช้เทคโนโลยี Bonded ไม่ใช้การเย็บ
- ประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยี Bonded จึงทำให้รูปแบบของชุดLZR ดูเรียบๆไม่ค่อยมีรายละเอียดของการตัดเย็บเพราะเนื้อผ้าทุกชิ้นถูกนำมาเชื่อมเข้าด้วยกัน อีกทั้งทำให้เกิดแรงเสียดสีกับผิวหนังน้อยลงด้วย
**Bonded Seam Close-up Image**
- ซีลีโคนที่นำมาเย็บตรงหัวเข่าและข้อเท้ามีคุณสมบัติช่วยยึดตัวชุดว่ายน้ำกับร่างกายนักกีฬา เพื่อไม่ให้เกิดการเคลื่อนไหวมากจนเกินไปซึ่งอาจก่อให้เกิดความรำคาญได้
- ซิบที่ถูกเชื่อมต่อจะถูกออกแบบมาให้มีแรงเสียดทานกัีบน้ำน้อยที่สุด
**Ultra Low Profile Zip** Close-up
ผลที่ได้รับ
- ชุด Speedo LZR Racer สามารถลดแรงเสียดทานที่เกิดจากน้ำได้มากถึง 10% ซึ่งมากกว่าชุด Fast Skin FSII ที่เปิดตัวเมื่อปี 2004 และเมื่อเปรียบเทียบกับชุด Fast Skin Pro (ซึ่งช่วยให้นักกีฬาทำลายสถิติโลกไปแล้ว ถึง 21 สถิติ ตั้งแต่มีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อเดือน มีนาคม 2007) ชุดLZR Racer สามารถลดแรงเสียดทานได้มากกว่า 5%
- การนำ LZR Panel มาติดตรงจุดสำคัญช่วยลดแรงเสียดทานได้มากถึง 24% เมื่อเปรียบเทียบกับผิวFast Skin ปกติ
- การใช้เทคโนโลยี Bonded (นำผ้ามาเชื่อมต่อกัน) ทั้งชุดสามารถลดแรงเสียดทานของพื้นผิวได้มากกว่าชุดว่ายน้ำที่ยังใช้การเย็บแบบปกติถึง 6%
หมายเหตุ: แรงเสียดทานกับพื้นผิว คือแรงที่ทำให้นักกีฬาว่ายได้ช้าลง เป็นแรงของน้ำที่ไหลผ่านพื้นผิวของชุดว่ายน้ำ หรือผิวหนังของนักกีฬา เนื่องจากน้ำเราไม่สามารถเปลี่ยนสถานะของน้ำได้ ดังนั้นชุดว่ายน้ำจึงต้องมีความเีรียบเนียนใ้ห้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ การที่พื้นผิวของชุดว่ายน้ำขรุขระมากเท่าไหร่ ก็ิยิ่งก่อให้เกิดแรงต้านเมื่อเคลื่อนตัวในน้ำมากเท่านั้น หากร่างกายของนักกีฬาถูกปกคลุมได้ด้วยวัสดุที่ก่อให้เกิดแรงเสียดทานน้อยมากเท่าไหร่ นักกีฬาย่อมว่ายน้ำด้วยแรงเสียดทานที่น้อยมากเท่านั้น ซึ่งหมายถึงสถิติที่ดีขึ้น
Speedo กับกิจกรรมเพื่อสังคม
WSAM Collection
- เรามีCollection World Swim Against Malaria ซึ่งรายได้ส่วนหนึ่งของการจัดจำหน่ายเสื้อในCollection นี้จะมอบให้กับ มูลนิธิ World Swim Against Malaria เพื่อไปซื้อมุ้งให้กับเด็กในทวีปแอฟริกา
- อะไรคือ World Swim Against Malaria
โครงการWorld Swim Against Malaria เดิมชื่อ World Swim for Malaria ถูกจัดตั้งครั้งแรกวันที่ 3 ธันวาคม ค.ศ. 2005 โดยมีจุดประสงค์เพื่อเชิญชวนให้ผู้คนทั่วโลกมาว่ายน้ำเพื่อต่อต้่านโรคมาลาเรีย โดยเงินจะนำ้ไปบริจาคให้มูลนิธิ World Swim for Malaria นำไปซื้อมุ้งให้เด็กในแถบประเทศในทวีปแอฟริกาใช้ ในตอนนั้นมีผู้เข้าร่วมว่ายน้ำมากถึง 250,000 คน ซึ่งถือว่าเป็นโครงการที่มีผู้เข้าร่วมว่ายน้ำมากที่สุดในโลก
- ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโีรคมาลาเรีย
มีคนอย่างน้อยประมาณ 1 ล้านคนเสียชีวิตจากโรคมาลาเรียทุกปี มีการคาดการณ์ว่าตัวเลขอาจสูงถึง 2.7ล้านคน และ 90 เปอร์เซ็นต์ในจำนวนผู้เสียชีิวิตนั้นมาจากแอฟฟริกา 70เปอร์เซ็นต์เป็นเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ขวบ นั่นแปลว่า ทุก 30วินาทีจะมีเด็กในแอฟฟริกาเสียชีวิตด้วยโรคมาลาเรีย เมื่อเปรียบเทียบจำนวนเด็กที่เสียชีวิตจะสามารถใส่เครื่องบินจัมโบ้ได้ 7 ลำเต็มๆต่อหนึ่งวันเลยทีเดียว
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร.
ปินน่า, แตง 081-848-5464, 02-720-5546
ข้อมูลเกี่ยวกับ Speedo
นวัตกรรมจากอดีตถึงปัจจุบัน
80 ปีของการนวัตกรรม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๔๒ เฮลท์สเคป (Healthscape)' นำร่องส่ง 'MADE BY SILVER' ชวนสัมผัสผลิตภัณฑ์เพื่อไลฟ์สไตล์สำหรับกลุ่มซิลเวอร์เจน 20 พ.ค. - 2 มิ.ย. 67 ณ ศูนย์การค้า ดิ เอ็ม
๑๔:๐๗ HENG เสนอขายหุ้นกู้ครั้งที่ 1/2567 จำนวน 2 ชุด อัตราดอกเบี้ยคงที่ 5.25% และ 5.50% เปิดจองซื้อ 23-24 และ 27 พ.ค. 67 เดินหน้าเสริมแกร่งธุรกิจ
๑๓:๑๕ กลุ่มบริษัทศรีตรัง ลุยติดตั้ง EV Charger ในโรงงานทั่วประเทศ สนับสนุนพนักงานใช้พลังงานสะอาด ร่วมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตอกย้ำจุดยืน Green Rubber
๑๓:๒๔ Bitkub Chain และ The Sandbox ร่วมยกระดับวงการ Metaverse ในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
๑๓:๔๗ AJA โชว์แกร่ง!! งบโค้งแรกพลิกมีกำไรพุ่งเกือบ 452% ชูกลยุทธ์ปี 67 กระจายลงทุนในธุรกิจหลากหลาย-สร้างฐานการเติบโตยั่งยืน
๑๓:๕๙ KJL โชว์นวัตกรรมในงาน SUBCON Thailand 2024 เพื่อตอบโจทย์อุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้า
๑๓:๐๑ ITEL อวดกำไร Q1/67 โต 113% กำไรสุทธิ 123 ล้านบาท ล่าสุด ก.ล.ต. ไฟเขียวนับหนึ่งไฟลิ่ง บ.ย่อย BLUE เรียบร้อยแล้ว
๑๓:๒๓ โอยิกะ ผู้นำด้านโซลูชั่นเทคโนโลยีแบตเตอรี่จากสิงคโปร์ ชูนวัตกรรมพลังงานสะอาด มุ่งขยายธุรกิจตู้สลับแบตเตอรี่สำหรับตลาดรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย
๑๓:๔๗ ดื่มด่ำกับรสชาติของเนื้อโกเบจากโอซาก้า ที่ห้องอาหารฮากิ เซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว
๑๓:๕๒ W9 เผยไทยเผชิญฝุ่นพิษล้อมเมืองติดอันดับโลก เปิด 5 กลุ่มเสี่ยงรับฝุ่นพิษ ภัยเงียบสะสม แนะวิธีรับมือเชิงเวลเนส