SPPT เตรียมทบทวนแผนธุรกิจปีหน้า เพื่อรับมือกับสถานการณ์เศรษฐกิจโลก

พฤหัส ๑๑ ธันวาคม ๒๐๐๘ ๐๘:๐๑
"ประพจน์ พลพิพัฒนพงศ์" ประเมินแนวโน้มของ SPPT ในปี 2552 จะได้รับผลดีจากราคาวัตถุดิบ ประเภทโลหะได้ปรับลดลงมาก ช่วยลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลงและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตดีขึ้น แต่เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันอาจจะชะลอแผนลงทุนด้านเครื่องจักรสำหรับธุรกิจ HDD อย่างไรก็ตามช่วยให้บริษัทฯ มีกระแสเงินสดมากขึ้นและทำให้อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนต่ำลงกว่าปัจจุบันที่อยู่ในระดับ 0.6:1 เท่า

นายประพจน์ พลพิพัฒนพงศ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ซิงเกิ้ล พอยท์พาร์ท (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ SPPT เปิดเผยว่าปัจจุบันอยู่ระหว่างการทบทวนแผนการดำเนินและประมาณการผลประกอบการในปี 2552 เพื่อให้สอดคล้องกับสถานะการณ์ของเศรษฐกิจโลก โดยผลดีที่บริษัทได้รับคือราคาวัตถุดิบ ประเภทโลหะ ได้ปรับลดลงมาก และการปรับปรุงระบบการผลิตให้ดีขึ้น เพื่อช่วยในการปรับลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลงและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตดีขึ้น โดยบริษัทสามารถผลิตได้มากขึ้นในขณะที่จำนวนเครื่องจักรเท่าเดิม เพื่อรองรับการต่อรองราคาของลูกค้าซึ่งคาดว่าคงไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

ในด้านการลงทุนทางด้านเครื่องจักรสำหรับธุรกิจ HARD DISK DRIVE ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทมีการลงทุนเพิ่มทุกปีคาดว่าอาจจะต้องชะลอไปก่อน ซึ่งจะส่งผลให้บริษัทมีกระแสเงินสดเพิ่มมากขึ้น และจะทำให้ อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนของบริษัทซึ่งในปัจจุบันอยู่ที่ 0.6 :1 ต่ำลงกว่าเดิม ทั้งนี้เป็นไปตามนโยบายเศรษกิจพอเพียงที่บริษัทดำเนินการมาตลอดระยะเวลา 11 ปีนับจากก่อตั้งบริษัท คือการขยายกิจการจากเงินทุนและผลกำไรของบริษัท และทำการกู้ยืมเท่าที่จำเป็น เพื่อไม่ให้เป็นภาระมากเกินไปในเรื่องค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย โดยยังสามารถรักษานโยบายการจ่ายเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอให้แก่ผู้ถือหุ้น

เขาได้กล่าวถึงธุรกิจแปรรูปขยะพลาสติกเป็นน้ำมัน ซึ่งดำเนินการโดยบริษัท ซิงเกิ้ล พอยท์ อีเนอยี่ แอนด์ เอ็นไวรอนเม้นท์ จำกัด( SPEE) ว่าขณะนี้ได้ดำเนินการติดตั้งเครื่องจักรเครื่องแรกที่ เทศบาลเมืองระยองใกล้เสร็จสมบูรณ์แล้ว และจะดำเนินการส่งมอบงานและเริ่มผลิตได้ในปีนี้ จะส่งผลให้ SPEE จะมีรายได้ในปีนี้ที่ประมาณ 40 ล้านบาท และ บมจ.ซิงเกิ้ล พอยท์ พารท์( ประเทศไทย) จะรับรู้กำไรส่วนหนึ่งจากโครงการนี้ด้วย

นอกจากนี้ SPEE ยังได้เซ็นสัญญาขายเครื่องจักรแปรรูปขยะพลาสติกเป็นน้ำมันให้กับ เทศบาลหัวหิน จำนวน 1 เครื่อง มูลค่าโครงการประมาณ 55 ล้านบาท ซึ่งโครงการนี้มีกำหนดเสร็จสิ้นภายในประมาณ มิถุนายน 2552 ตามที่ระบุในสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง จะส่งผลให้ SPEE มีเครื่องจักรที่สามารถดำเนินการ เพื่อช่วยในการแก้ไขปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม และยังสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชน และยังเป็นเครื่องจักรที่ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้มาศึกษาและเยี่ยมชมนวัตกรรมใหม่ในการแก้ปัญหาขยะล้นเมือง และสถานที่ฝังกลบในสองภาคของประเทศโดย ภาคตะวันออกที่ จังหวัดระยอง และภาคใต้ตอนบนที่ อ. หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยบริษัทจะพยายามในการจัดทำโครงการเพื่อนำเสนอให้ครอบคลุม ภาคใต้ตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคกลาง อีก 4 จุด ตามแผนงานเบื้องต้นที่ได้จัดทำใว้ให้บรรลุเป้าหมายในปี 2552 นี้ ซึ่งจะทำให้ SPEE มีรายได้ทั้งหมดประมาณ 250 ล้านบาทในปี 2552 และจะเป็นผลดีต่อ บมจ.ซิงเกิ้ล พอยท์ พารท์( ประเทศไทย) ที่จะรับรู้รายได้ และผลกำไรด้วยส่วนหนึ่ง

รายละเอียดเพิ่มเติม : บริษัท ซิงเกิ้ล พอยท์ พาร์ท (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)(SPPT)

บริษัท ซิงเกิ้ล พอยท์ พาร์ท (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)(SPPT) กลุ่มบริษัทประกอบด้วยบริษัทย่อย 2 บริษัท คือ บริษัท ซิงเกิ้ล พอยท์ เมดิคอล พาร์ท จำกัด (“SPMP”) ถือหุ้นโดยบริษัทร้อยละ 49.99 ดำเนินธุรกิจการผลิตชิ้นส่วนพลาสติกสำหรับอุปกรณ์ทางการแพทย์ (Medical Grade) และบริษัท ซิงเกิ้ลพอยท์ เอ็นเนอร์ยี่ แอนด์ เอ็นไวรอนเม้นท์ จำกัด (“SPEE”) ถือหุ้นโดยบริษัทร้อยละ 49.99 ดำเนินธุรกิจด้านพลังงานทดแทนโดยการจำหน่าย ประกอบและติดตั้งเครื่องจักรแปรรูปขยะพลาสติกเป็นน้ำมันดิบ และจำหน่ายสารเร่งปฏิกริยาในการแปรรูปเศษพลาสติกเป็นน้ำมันดิบ

ลักษณะผลิตภัณฑ์ของบริษัทแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังต่อไปนี้

1. ส่วนประกอบสำหรับผลิตภัณฑ์ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ (Hard Disk Drive)

1.1 ชิ้นส่วนสำหรับนำไปประกอบเป็นผลิตภัณฑ์ Pivot ซึ่งเป็นตัวยึดแขนอ่าน

1.2 ชิ้นส่วนสำหรับนำไปประกอบเป็นผลิตภัณฑ์ Spindle Motor ซึ่งใช้ในการขับเคลื่อนแผ่นจานเก็บข้อมูล

2. ส่วนประกอบสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ (Non Hard Disk Drive)

2.1 ส่วนประกอบสำหรับผลิตภัณฑ์กลุ่มคอนซูมเมอร์ อิเล็คโทรนิค และเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ (Consumer Electronic &Entertainment) เช่น ชิ้นส่วนสำหรับกล้องถ่ายรูป กล้องถ่ายวีดิโอ เอมพี 3 เครื่องเล่นเกมส์

2.2 ส่วนประกอบสำหรับผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น ชิ้นส่วนสำหรับรถจักรยานยนต์

3. ชิ้นส่วนอุปกรณ์ทางการแพทย์ ดำเนินธุรกิจภายใต้บริษัท SPMP โดยได้ดำเนินการจดสิทธิบัตรของผลิตภัณฑ์วาล์วพลาสติกที่ประเทศญี่ปุ่นสำหรับอุปกรณ์การไหลเวียนของเหลวซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่สามารถให้ยาแก่ผู้ป่วยที่มีการต่อสายยางจากร่างกายโดยไม่ต้องใช้เข็มฉีดยา

4. เครื่องจักรแปรรูปขยะพลาสติกเป็นน้ำมันดิบ ดำเนินธุรกิจภายใต้บริษัท SPEE ทั้งนี้ SPEE จะนำเข้าเครื่องจักรแปรรูปขยะเป็นน้ำมันดิบจากต่างประเทศมาขายและติดตั้งให้กับลูกค้า และมีการบริการต่อเนื่องในการขายเครื่องจักรดังกล่าว คือ การขายตัวเร่งปฏิกิริยาในการสลายพลาสติกเป็นน้ำมันดิบ (Catalyst), การให้บริการในการดูแลรักษาเครื่องจักร (Maintenance) และการบริการขนส่งน้ำมันดิบที่ได้จากขยะไปยังโรงกลั่นน้ำมัน (Logistic)

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : คุณปภาดา สุวรรณกูฎ (ตุ้ย) 02-554-9396 , 085-133-0184

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๓๓ COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๑๘:๓๖ GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๑๘:๔๔ PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๑๘:๓๙ LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๑๘:๑๒ ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๑๘:๕๗ ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๑๘:๓๖ LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๑๘:๔๖ SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๑๘:๔๙ STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๑๘:๓๕ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน