ครั้งแรกของนิทรรศการงานศิลปะที่ทำให้รู้จักกรุงเทพฯ 226 ปีได้ใน 1 วัน !

จันทร์ ๒๒ ธันวาคม ๒๐๐๘ ๐๙:๕๙
ศิลปะจากยุคสร้างบ้านแปงเมืองสู่กรุงเทพฯ ในฝัน นิทรรศการศิลปะที่เป็นการเปิดตัวของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร โดยการรวบรวมผลงานของศิลปินในอดีต ในช่วง 2 ศตวรรษที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน จำนวนกว่า 200 ชิ้น เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวและบอกเล่าความเป็นมาของกรุงเทพฯ ในระยะเวลา 226 ปี

นี่คือนิทรรศการศิลปะ งานแรกที่จัดในนามของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพฯ ภายใต้ชื่อนิทรรศการว่า “กรุงเทพฯ 226” จุดเริ่มต้นก้าวแรก ที่มองก้าวล่วงเข้าไปในอดีต เพื่อค้นหาตัวตนที่แท้จริงของกรุงเทพฯ แล้วบอกเล่าความเป็นมาของกรุงเทพฯ ผ่านงานศิลปะ และนับเป็นปรากฏการณ์ครั้งแรกของวงการศิลปะ ที่มีการรวบรวมงานศิลปะหลากแขนงจากศิลปินผู้มากเปี่ยมด้วยความสามารถกว่า 200 ชิ้น แล้วนำเสนอผ่านการออกแบบนิทรรศการอย่างมีชั้นเชิง เพื่อบอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาของกรุงเทพฯ 226 ปี ผ่านงานศิลปะ โดยในการจัดแสดงนิทรรศการ แบ่งเป็นโซนหลัก 4 โซน ดังนี้

1. กรุงเทพฯ ปฐมบท (Bangkok Early Days)

เล่าเรื่องเมืองกรุงเทพฯ ในช่วงแรกเริ่มสถาปนากรุงธนบุรี โดยงานศิลปะของโซนนี้จะมีอายุระหว่าง พ.ศ.2325-2111

2. กรุงเทพฯ ทันสมัย (Modernised Bangkok) VS พระนครวันวาน (Nostalgic Past) ราวพุทธศตวรรษที่ 24 เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจในหมู่ชนชั้นนำ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เนื้อหาของศิลปะในส่วนนี้มีทั้งภาพวาด งานประติมากรรม และงานสถาปัตยกรรม ซึ่งเห็นได้ว่าได้รับอิทธิพลของตะวันตกมากขึ้นอย่างชัดเจน

3. เส้นขอบฟ้าใหม่ (New Bangkok Skyline)

เมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงที่การสื่อสาร การคมนาคม การทำธุรกิจ และการค้ากับต่างประเทศ มีความก้าวหน้ามาก นับเป็นจุดเปลี่ยนอีกครั้งของงานศิลปะ ภาพที่ถ่ายทอดผ่านงานศิลปะ เต็มไปด้วยมุมมองที่หลากหลายมากขึ้น มีทั้งด้านความงามและความเสื่อมที่มาคู่กับความเจริญของเมือง

4. กรุงเทพฯ ในฝัน (Dream Bangkok)

เป็นการบอกเล่าความเป็นไปของกรุงเทพฯ ในอนาคต (Dream Bangkok) ตามจินตนาการของศิลปิน กรุงเทพฯ 226 เป็นนิทรรศการที่เต็มไปด้วยรายละเอียดปลีกย่อยจำนวนมาก การจัดเตรียมงานของคณะทำงาน จึงเต็มไปด้วยเรื่องราวน่าสนใจ กว่างานจะออกมาเป็นรูปเป็นร่าง ไม่ใช่เรื่องง่าย คุณลักขณา คุณาวิชยานนท์ ภัณฑารักษ์ หอศิลปฯ หนึ่งในทีมทำงาน ได้เล่าว่า

“ต้องเริ่มตั้งแต่ศึกษาค้นคว้าเรื่องศิลปะที่เป็นตัวแทนของยุคสมัย ของกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเรื่องยากมาก การรวบรวมข้อมูลก็มีปัญหาพอสมควร ทำให้การสืบค้นไม่เร็วอย่างที่คิด เช่น ศิลปินอาวุโส ที่อายุ 60-70 ปลายๆ ปัญหาคือจำงานตัวเองไม่ได้ เราไปเจอว่ามีงานชิ้นหนึ่งที่เกี่ยวกับงานกรุงเทพฯ 226 และมีข้อมูลว่าเป็นของใคร พอไปเจอศิลปิน ก็หาไม่เจอ ตัวศิลปินเองก็ไม่รู้ว่างานของตัวเองอยู่ที่ไหน พอได้ทั้งหมดมา ก็ต้องมาทำเรื่องยืม ก็หนีไม่พ้นเรื่องการประกันภัย ต้องมีการประเมินราคา บางชิ้นก็มีความยากในการหยิบยืม แล้วบางชิ้นก็เป็นงานสะสมส่วนบุคคลมาให้สาธารณชนได้ดู ซึ่งก็ต้องขอบคุณนักสะสมเหล่านี้ เพราะมันเป็นสิ่งที่ไม่สามารถทดแทนเป็นตัวเงินได้ เพราะบางชิ้นอยู่กับเจ้าของมาทั้งชีวิต บางชิ้นเป็นของตกทอดเป็นมรดกจากตระกูล

นี่คือการชมของที่เป็นมูลค่าทางจิตใจซึ่งวัดค่าเป็นตัวเงินไม่ได้

ในส่วนของความคาดหวังหลังจากคนมาชมแล้ว คงไม่ใช่ว่าให้คนมาตื่นตะลึงกับฝีแปรงที่สุดยอด แต่จุดประสงค์หลัก คือจุดประกายให้คนเข้าใจว่าศิลปะมีความสำคัญกับมนุษย์ สังคม จิตวิญญาณ เพราะเรื่องที่มีการถ่ายทอดผ่านงานศิลปะ เหมือนศิลปะเป็นตัวถ่ายทอดประวัติศาสตร์ได้ในแง่มุมหนึ่ง

ขอให้มาดูก่อนแล้วค่อยกลับไปทำการบ้าน อยากให้มาดูก่อน ว่าเรานำเสนออะไร มีภาพถ่าย ภาพเขียนเก่า ภาพความหดหู่ของคนอะไรก็แล้วแต่ อยากให้มันเป็นการจุดประกายหรือกระตุ้น ให้คนกลับไปหาข้อมูลกรุงเทพฯ ว่าเราเป็นคนกรุงเทพฯ รู้จักกรุงเทพฯ จริงหรือเปล่า อยากให้เกิดคำถามเหล่านี้”

สำหรับ คุณอภิศักดิ์ สนจด ภัณฑารักษ์ หอศิลปฯ อีกท่าน ได้บอกเล่าย้อนไปสู่กระบวนการคิดก่อนมาเป็นนิทรรศการ “เรามาคิดกันว่า ถ้าทำในนามของหอศิลปฯ ก็คงจะพูดเรื่องอื่น ไม่น่าสนุกเท่ากับพูดถึงกรุงเทพฯ ก็เลยเป็น แนวคิด (Theme) ว่า เอาเรื่องเวลาและอายุของกรุงเทพฯ มาเกี่ยวของด้วย ว่า ตอนนี้ กรุงเทพฯ มีอายุ 226 ปี แล้ว มีใครจะนึกสงสัย หรือ ตั้งคำถามไหม ว่าผ่านมา 226 ปีแล้ว มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง แล้วเราจะดำเนินไปอย่างไร

ในส่วนของวิธีการนำเสนอ เราก็ใช้การออกแบบที่สวยงามและทันสมัย “กรุงเทพ 226” จึงเป็นการเล่าเรื่องผ่านการออกแบบ ก็จะเห็นทั้งมุมมองทางศิลปะและข้อมูลประวัติศาสตร์ รวมถึงมุมมองด้านการออกแบบ ซึ่งทำให้เมื่อชมนิทรรศการแล้วจะเพลิดเพลินกับการออกแบบด้วย และจะเน้นความสนใจไปกับงานศิลปะด้วย ทำให้ ได้เห็นความสำคัญของศิลปะ ว่าศิลปินมองอนาคตของเมืองว่ายังไง หรือในสมัยก่อนเขาเล่าเรื่องอย่างไร สิ่งเหล่านี้แม้แต่คนทั่วไปก็ซึมซับได้ไม่ต่างจากนักประวัติศาสตร์หรือศิลปิน อยากให้ พอจบงานแล้วคนมองศิลปะเป็นบวกมากขึ้น และรู้สึกว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวมากขึ้น อยู่ในชีวิตประจำวัน ที่จับต้องได้”

“โครงการกรุงเทพ 226” จะจัดขึ้นในวันที่ 16 ธันวาคม 2551 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2552 ณ หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่เวลา 10.00-21.00 น.

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

ฝ่ายประชาสัมพันธ์โครงการโทร. 0-2628-8818, 086-5488388 กมลฉัตร/ระวิยา

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง