“อมตะ” จับมือยุ่นผุดโซนอุตฯไฮเทคต.ค.นี้ SMEs ไทยได้ประโยชน์ดึง R&D ญี่ปุ่นเสริม

อังคาร ๑๒ กรกฎาคม ๒๐๐๕ ๑๒:๒๕
กรุงเทพฯ--12 ก.ค.--อมตะ
“อมตะ”ดึงญี่ปุ่นร่วมพัฒนาโซนอุตสาหกรรมไฮเทค ตั้ง “Cyber Park Zone” กระตุ้นนักลงทุนไทยทำวิจัยและพัฒนาเพิ่ม เปิดทางกลุ่ม SMEs ได้ผลิตสินค้าเทคโนโลยีชั้นสูง ชี้ข้อพิพาทญี่ปุ่น-จีน เป็นโอกาสระดมเงินทุนยุ่นสะพัดเข้าไทย
นางสมหะทัย พานิชชีวะ ผู้อำนวยการสายพัฒนาธุรกิจ บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) (Ms.Somhatai Panichewa, Vice President Business Development of Amata Corporation PCL.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ นายวิกรม กรมดิษฐ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (Mr.Vikrom Kromadit, CEO) บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ กับ มร.โนบุอากิ ยามาดะ (Mr.Nobuaki Yamada) เลขาธิการ องค์กรส่งเสริมอุตสาหกรรมเมืองโอตะ (Secretary Greneral of OTA CITY Industrial Promotion Organization (OCIPO)) ในการร่วมลงทุนสร้างโซนอุตสาหกรรมไฮเทค “Cyber Park Zone” รองรับกลุ่มนักลงทุนผู้ผลิตสินค้าเทคโนโลยีระดับสูง ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี โดยจัดแบ่งเป็นโซนพื้นที่อุตสาหกรรมสำหรับผลิตสินค้า และโซนพื้นที่สำหรับงานวิจัยและพัฒนา หรือ “Cyber Park Zone” โดยโซนการลงทุนดังกล่าวจะเพิ่มศักยภาพให้กับกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ของไทยที่เข้ามาลงทุนอยู่ในนิคม ให้สามารถผลิตสินค้าคุณภาพด้วยเทคโนโลยีระดับสูง ซึ่งจะมีการลงนามสัญญาในแผนการเข้ามาลงทุนทั้งหมดในไทยช่วงเดือนตุลาคมนี้
“การที่นิคมอมตะนครได้ร่วมลงทุนกับองค์กรส่งเสริมอุตสาหกรรมเมืองโอตะ (OCIPO) เป็นอีกก้าวหนึ่งในการที่จะช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมไฮเทคภายในประเทศ โดยกลุ่มอุตสาหกรรม
OCIPO จากประเทศญี่ปุ่นทั้งหมด เป็นกลุ่มที่มีความแข็งแกร่งทางธุรกิจ มีการใช้เทคโนโลยีในการ
ผลิตชั้นสูง ผลิตสินค้าเฉพาะกลุ่มตลาด อาทิเช่น ชิ้นส่วนหุ่นยนต์ ชิ้นส่วนยานอวกาศ อุปกรณ์
ชิ้นส่วนกล้องไฮเทค อุปกรณ์เปลี่ยนโมเดลรถยนต์ เป็นต้น ซึ่งประมาณเดือนตุลาคมนี้ จะมีการย้ายฐานการลงทุนส่วนหนึ่งเข้ามาอยู่ในนิคมอมตะ รวมทั้งจัดตั้งศูนย์การวิจัยเทคโนโลยีญี่ปุ่นในไทย โดยจะมีการดึงสถาบันเทคโนโลยี เครื่องมือ และบุคลากรชั้นนำเฉพาะทางจากญี่ปุ่นมาเสริมงานวิจัยของไทยให้พัฒนาขึ้น”นางสมหะทัยกล่าว
“กลยุทธ์การบริหารธุรกิจของบริษัท คือ การมองไปข้างหน้าอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นแน่นอนว่าการดึงเมืองอุตสาหกรรมโอตะมาร่วมพัฒนาโซนอุตสาหกรรมไฮเทค ร่วมกับนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร เพราะเราเห็นว่าจะเกิดประโยชน์กับอุตสาหกรรมภาพรวมของประเทศ เนื่องจาก โอตะเป็นเมืองอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่สุดในจังหวัดโตเกียว มีประชากรทั้งหมดกว่า 750,000 คน มีจำนวนโรงงานกว่า 6,000 โรง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม SMEs ที่มีขีดความสามารถการแข่งขันในระดับสูง โดยโรงงานส่วนมากใช้บุคคลากรจำนวนน้อย ใช้เทคโนโลยีในการผลิตชั้นสูง อีกทั้งยังสามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศญี่ปุ่นเป็นมูลค่าถึง 1 ล้านล้านเยนต่อปี มีการพัฒนางานวิจัยสนับสนุน โดยยกระดับมาตรฐานสินค้าอยู่ตลอดเวลาให้ตรงกับความต้องการเฉพาะของลูกค้าแต่ละราย ทำให้เชื่อมั่นว่าการดึงนักลงทุนกลุ่มนี้เข้ามาเราจะมีแต่ได้ประโยชน์ จะทำให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีสมัยใหม่ให้ผู้ประกอบการของไทย อีกทั้งยังเกิดการจ้างแรงงานในประเทศเพิ่มขึ้นด้วย”
ทั้งนี้ในแนวทางการดำเนินธุรกิจร่วมกันองค์กร OCIPO จะทำหน้าที่บริหาร ประชาสัมพันธ์ และการตลาด ในขณะที่อมตะจะเป็นผู้จัดเตรียมสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ และพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนครไว้รองรับ โดยในเบื้องต้นมีลูกค้าประมาณ 5 รายจากเมืองอุตสาหกรรมโอตะ ประเทศญี่ปุ่น มีความสนใจที่จะย้ายฐานการลงทุนเข้ามาอยู่ในนิคมอมตะในช่วงเดือนตุลาคมนี้ตามแผนที่วางไว้
ฝ่ายประชาสัมพันธ์
มุก โทร.038-213-007, 01-734-3651--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๒๙ ม.กรุงเทพ เห็นถึงคุณค่าพลังงานที่ยั่งยืนเชิญผู้เชี่ยวชาญมาสร้างสกิลตรง
๑๖:๐๗ แอลจีเผยผลประกอบการไตรมาสแรกของปี 2024 ผลักดันธุรกิจด้วยนวัตกรรมพร้อมรักษาสมดุลระหว่างธุรกิจหลักและการเติบโตในอนาคตเพื่อสร้างโอกาสใหม่ๆ
๑๖:๓๕ ฮั้วฟง รับเบอร์ฯ (HFT) จัดประชุมผู้ถือหุ้นปี 2567 ผถห.โหวตผ่านฉลุยทุกวาระ
๑๖:๕๒ ซีเอ็ด เปิดสาขาใหม่ที่ตราด! บริจาคหนังสือ 2 แสนบาท หนุนการอ่านในท้องถิ่น
๑๖:๕๙ ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 มีมติอนุมัติจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น ทั้งปีที่อัตราหุ้นละ 0.52
๑๖:๕๙ ปรับการนอนหลับของคุณให้มีคุณภาพดีขึ้นด้วยฟีเจอร์ใน HUAWEI Band 9
๑๖:๓๔ ไฮเออร์ ประเทศไทย โชว์ศักยภาพแกร่ง พาเหรดทัพนวัตกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ร่วมจัดแสดงในงาน China Enterprise Product Resources
๑๖:๑๐ สถานทูตอิตาลี เปิดศูนย์รับคำร้องขอวีซ่าแห่งใหม่ในกรุงเทพ
๑๖:๕๒ CHAYO จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ไฟเขียวทุกวาระ
๑๖:๑๓ ผู้บริหารบางจากฯ แชร์แนวทางขับเคลื่อนการรับมือวิกฤตสภาพภูมิอากาศ 2 เวที