นพ.บัญชา พงษ์พานิช สืบสานงานสึนามิครบรอบ 4 ปี ภัยพิบัติต้องเริ่มที่ชุมชน

ศุกร์ ๒๖ ธันวาคม ๒๐๐๘ ๑๑:๑๖
สืบสานงานสึนามิครบรอบ 4 ปี ภัยพิบัติต้องเริ่มที่ชุมชน

เหตุการณ์ “สึนามิ” เวียนมาบรรจบครบวาระอีกครั้งเป็นปีที่ 4 ในวันที่ 26 ธันวาคม 2551 นี้ หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับภัยพิบัติต่างถือโอกาสทบทวนบทเรียนที่ได้รับจากการทำงานและการแก้ปัญหาที่ผ่านมา พร้อมนำเสนอมุมมองใหม่ว่าการจัดการภัยพิบัติที่แท้จริงต้องเริ่มต้นที่ชุมชน และต้องพลิกมุมให้พ้นจากกรอบการทำงานและความเคยชินแบบเดิมๆ โดยต้องจัดการความขัดแย้งไปพร้อมๆ กัน

โจนาธาน ชอตต์ ผู้ดำเนินโครงการการจัดการภัยพิบัติธรรมชาติโดยชุมชน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. เปิดเผยว่า ตลอด 4 ปีของการทำงานเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิ นอกจากงานในส่วนการฟื้นฟูความเป็นอยู่และอาชีพของผู้ได้รับผลกระทบแล้ว ทางโครงการยังให้ความสำคัญในเรื่องการเตรียมความพร้อมด้านภัยพิบัติอีกด้วย

ที่ผ่านมา ภาครัฐได้จัดการป้องกันและระวังภัยที่เป็นรูปธรรมหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นป้ายบอกทาง ระบบสัญญาณเตือนภัย หอกระจายข่าว จนถึงทีมกู้ภัย แต่ โจนาธาน เห็นว่านั่นเป็นเพียงเครื่องมือที่สนับสนุนได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น แต่ไม่ควรวางใจว่าระบบดังกล่าวว่าจะลดผลกระทบจากภัยพิบัติได้จริง เพราะการจัดการภัยพิบัติธรรมชาติควรเริ่มต้นจากสำนึกของชุมชนในพื้นที่เสี่ยงภัยก่อน ทำอย่างไรสมาชิกในระดับชุมชน หรือระดับหมู่บ้านจะตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องนี้ตลอดเวลา และมีความพร้อมอยู่เสมอ มิใช่รอคอยความช่วยเหลือจากภายนอกอย่างที่เคยเป็นมา

“ถึงสัญญาณเตือนภัยดัง แต่ถ้าคนไม่รู้ หรือไม่ตระหนักว่าคือเสียงอะไร และต้องทำอย่างไรต่อไป ก็ย่อมไม่ได้ผล ทำอย่างไรชุมชนจึงจะนำปัญหาพื้นที่เสี่ยงภัยของตนเองไปคิดต่อด้วยตัวเอง ไม่ใช่เพียงให้อยู่ในสมองชั่วคราว และเป็นเรื่องที่ลึกลงไปถึงหัวใจของชุมชน”

ด้าน เรวดี ประเสริฐเจริญสุข ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เสริมว่าองค์ประกอบที่จะส่งเสริมให้ชุมชนมีสำนึกในการจัดการภัยพิบัติด้วยตนเอง ต้องมาจากปัจจัยพื้นฐานในเรื่องของที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน โดยก่อนเกิดเหตุการณ์สึนามิ ได้มีความขัดแย้งในเรื่องของการตีแนวเขตที่ดินระหว่างชาวบ้านกับนายทุนมาก่อนแล้ว หลังเหตุการณ์สึนามิ ปัญหาจึงเกิดขึ้นควบคู่พร้อมๆ ไปกับเรื่องการฟื้นฟู และการจัดการภัยพิบัติ

“เมื่อชาวบ้านไม่มีที่อยู่ ไม่มีที่ทำกิน หมายความว่า จะไม่มีความมั่นคงในเรื่องของอาชีพ รายได้ รวมไปจนถึงการสูญสลายของชุมชน การจัดการภัยพิบัติย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ ดังนั้น ในเครือข่ายของคณะทำงานจากองค์กรต่างๆ จึงหันมาสนใจการสร้างระบบด้านการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมไปพร้อมๆ กัน เป็นงานที่ต้องทำแบบบูรณาการ และมีการจัดการความขัดแย้งเป็นส่วนหนึ่งของงาน ที่ผ่านมา คดีความ 300 คดีจากกว่า 400 คดีได้สิ้นสุดลง และ 70 เปอร์เซ็นต์ออกมาน่าพอใจ ทั้งสองฝ่ายต่างมีข้อตกลงในเชิงบวก”

ขณะที่ นพ.บัญชา พงษ์พานิช กรรมการบริหารแผนเปิดรับทั่วไปและนวัตกรรม สำนักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนการจัดการและป้องกันภัยพิบัติ เพราะถือเป็นภัยคุกคามสุขภาพโดยตรง ได้ให้ข้อสรุปบทเรียนจากการทำงานสึนามิตลอด 4 ปีว่า ทำให้แต่ละภาคส่วนหันมาจัดการภัยพิบัติอย่างเป็นระบบมากขึ้น ซึ่งอย่างน้อยๆ ต้องประกอบด้วยปัจจัย 2 ประการ อย่างแรก คือความไม่ประมาท และการลุกขึ้นมาจัดการตัวเองในทุกระดับ และอย่างที่ 2 ต้องพัฒนาระบบเตือนภัยและป้องกันภัยให้มีประสิทธิภาพ เพราะนอกจากสึนามิ ที่ไม่น่าเชื่อว่าจะเกิดขึ้นแล้ว ยังมีภัยใหญ่ในอนาคตรออยู่

“อย่างที่รู้กันอยู่ ภัยจากภูมิอากาศ บรรยากาศโลก น้ำอาจจะท่วม อาจจะเกิดพายุใหญ่ หรืออาจจะเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ แม้กระทั่งการเกิดโลกระบาดใหญ่ ที่ใครอาจจะเป็นเรื่องเล็กๆ อย่างที่ไก่ตายเป็นแสนเป็นล้านตัว อย่าลืมว่า เมื่อมันพัฒนาเป็นโลกระบาดในมนุษย์ได้ อาจจะได้เห็นคนล้มตายแบบอยู่กันไม่ได้”

นพ.บัญชา ทิ้งท้ายว่าประเด็นที่น่าสนใจก็คือ จากเหตุการณ์สึนามิ พบกรณีศึกษาดีๆ ไม่น้อยที่ชาวบ้านมีส่วนในการจัดการ มีการรวมตัวกันฟื้นฟูตัวเอง และแก้ไขรับมือภัยพิบัติด้วยตนเอง ดังกรณีของบ้านน้ำเค็ม ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ยืนยันได้ดีว่า แนวคิดในเรื่องการจัดการภัยพิบัติควรเริ่มต้นจากชุมชนเป็นสำคัญ.

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ

ผู้ส่ง : karn

เบอร์โทรศัพท์ : 087-605-3559

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๓๓ COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๑๘:๓๖ GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๑๘:๔๔ PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๑๘:๓๙ LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๑๘:๑๒ ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๑๘:๕๗ ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๑๘:๓๖ LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๑๘:๔๖ SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๑๘:๔๙ STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๑๘:๓๕ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน