เอสเอ็มอี แบงก์ เดินหน้าลุยโครงการ“Machine Fund” ระยะที่ 2 ฟื้นฟูเครื่องจักร เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

ศุกร์ ๑๓ มีนาคม ๒๐๐๙ ๑๕:๕๕
เอสเอ็มอี แบงก์ จับมือ สสว. สถาบันไทย-เยอรมัน(TGI) สมาพันธ์สมาคมอุตสาหกรรมสนับสนุน และสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เดินหน้าโครงการ “Machine Fund” ระยะที่ 2 ผลักดัน SMEs ปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักร แถมลดดอก 3% ยาวนานถึง 5 ปี

นายโสฬส สาครวิศว กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอี แบงก์) เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆนี้ คณะกรรมการจัดการธนาคารมีมติเห็นชอบให้ธนาคารเข้าร่วมโครงการสนับสนุนการปรับปรุง-ฟื้นฟูสภาพเครื่องจักรแก่ SMEs (Machine Fund) ระยะที่ 2 ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างเอสเอ็มอี แบงก์ - สสว. - สถาบันไทย-เยอรมัน(TGI) - สมาพันธ์สมาคมอุตสาหกรรมสนับสนุน และสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยมีระยะเวลาสิ้นสุดโครงการในเดือนธันวาคม 2552

สำหรับปีนี้ได้มีการปรับหลักเกณฑ์และอุตสาหกรรมกลุ่มเป้าหมายไว้อย่างชัดเจน โดยผู้ประกอบการจะได้รับการสนับสนุนดอกเบี้ยจากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) รายละ 3% ต่อปี เป็นระยะเวลา 5 ปีนับจากวันที่ทำนิติกรรมสัญญาเงินกู้ ซึ่งเป็นมาตรการพิเศษให้ความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประกอบการ และเป็นการกระตุ้นให้ผู้ประกอบการ SMEs หันมาปรับปรุงฟื้นฟูหรือปรับเปลี่ยนเครื่องจักรให้ทันสมัยมากขึ้น ก่อให้เกิดกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ สามารถลดต้นทุนและแข่งขันได้ในอนาคต

นอกจากการให้ความช่วยเหลือด้านดอกเบี้ยแล้ว ยังเพิ่มการสนับสนุนทางด้านการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทั้ง Hardware และ Soft ware มาใช้ในกระบวนการผลิต รวมทั้งได้มีการกำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมายไว้อย่างชัดเจนซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลัก ๆ ที่ทำรายได้เข้าประเทศได้อย่างมหาศาล ประกอบด้วยอุตสาหกรรมอาหารและการเกษตรแปรรูป เครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอ, เซรามิค/เครื่องเคลือบดินเผา, ชิ้นส่วนยานยนต์, ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์, อะไหล่และเครื่องจักรกล, ท่องเที่ยวและบริการ, อุตสาหกรรมเกี่ยวกับ Life Style เช่น แฟชั่น เฟอร์นิเจอร์ ตกแต่งภายใน เครื่องประดับ เป็นต้น

นายโสฬส กล่าวว่า ผู้ประกอบการ SMEs จงมองภาวะวิกฤติเศรษฐกิจขณะนี้ให้เป็นโอกาสเป็นจังหวะที่เหมาะสมในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เนื่องจากเครื่องจักรที่ใช้งานมานานอาจชำรุดหรือประสิทธิภาพการผลิตลดลง ดังนั้นการปรับปรุงฟื้นฟูหรือปรับเปลี่ยนเครื่องจักรจะทำให้ประสิทธิภาพการผลิตสูงขึ้น มีระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัย ช่วยลดต้นทุนและรองรับการผลิตที่มากขึ้นได้ในอนาคต นอกจากนี้ธนาคารและหน่วยงานภาครัฐก็ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการอย่างเต็มที่ทั้งด้านเงินกู้และอัตราดอกเบี้ยที่ถูกกว่าตลาดทั่วไป โดยผู้ประกอบการสามารถยื่นความจำนงขอสนับสนุนสินเชื่อโครงการฯได้ที่เอสเอ็มอีแบงก์ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือสอบถามฝ่ายสินเชื่อโครงการและกิจการภาครัฐโทร.0-2265-4023-5

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๓๓ COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๑๘:๓๖ GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๑๘:๔๔ PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๑๘:๓๙ LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๑๘:๑๒ ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๑๘:๕๗ ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๑๘:๓๖ LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๑๘:๔๖ SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๑๘:๔๙ STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๑๘:๓๕ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน