เทคโนโลยี ระบบ Cisco Systems คือใครและมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไร

พุธ ๐๑ เมษายน ๒๐๐๙ ๐๙:๓๔
Cisco Systems คือใครและมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไร

ซิสโก้ ซีสเต็มส์ เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีระบบเครือข่ายที่มีวิสัยทัศน์ในด้านเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรมบริการด้านสุขภาพอย่างชัดเจนภายใต้แนวคิด Connected Health ซิสโก้ ซีสเต็มส์มีองค์ความรู้และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเพื่องานบริการด้านสุขภาพมากมาย ตลอดจนมีโซลูชั่นทางเทคโนโลยีที่สามารถใช้งานได้จริงตรงตามความต้องการใช้งาน ที่สำคัญคือช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของสถานบริการด้านสุขภาพได้อย่างแท้จริง

Connected Health คืออะไร

Connected Health คือ แนวคิดการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงชุมชนระบบสุขภาพแบบครบวงจร โดยเชื่อมโยงทุกบริการที่เกี่ยวข้องกับการบริการสุขภาพตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงผู้รับบริการปลายทางเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น สถานพยาบาลทั้งในเมืองและในพื้นที่ห่างไกล ผู้ป่วย แพทย์ ร้านขายยา สถาบันวิจัย หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง บริษัทประกัน ไปจนถึงลูกจ้าง พนักงาน และบ้านเรือน เป็นต้น

ระบบ Connected Health จะช่วยให้โรงพยาบาลขยายขอบเขตการประสานความร่วมมือกันได้อย่างครอบคลุม ทำให้ลดความซ้ำซ้อนในการทำงาน ช่วยพัฒนาการให้บริการ ควบคู่ไปกับการควบคุมค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ยังช่วยเชื่อมโยงบุคลากรทางการแพทย์ถึงกัน และเชื่อมโยงแพทย์เข้ากับข้อมูลสำคัญต่างๆ ช่วยให้แพทย์สามารถหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดและให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดเส้นทางการดูแลรักษาพยาบาล ขณะเดียวกันก็ช่วยให้ผู้ป่วยมีบทบาทในการตัดสินใจเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลหรือดูแลสุขภาพของตนเองมากขึ้น อีกทั้งยังได้ขยายแนวความคิดเรื่องการแพทย์เชิงป้องกันหรือการตรวจดูแลผู้ป่วยแบบระยะไกลให้ไกลออกไปจากเดิม โดยจะสามารถเข้าถึงผู้ป่วยได้ก่อนที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาล

ความสำคัญของงานบริการล่ามกับการให้บริการของโรงพยาบาล

ในโรงพยาบาลที่มีผู้ป่วยชาวต่างชาติใช้บริการเป็นสัดส่วนที่สูงในระดับหนึ่ง ปัญหาที่พบบ่อยคือ ผู้ป่วยมักไม่สามารถสื่อสารด้วยภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษได้ ผู้ป่วยมักจะสื่อสารได้แต่ภาษาท้องถิ่นของตน การจัดเตรียมล่ามเพื่อให้บริการผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่มาใช้บริการโรงพยาบาล ซึ่งเป็นการสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ป่วยอีกทางหนึ่ง และที่สำคัญคือเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องในการรักษาพยาบาล นอกจากนี้ยังเป็นการวางรากฐานที่สำคัญในการขยายบริการไปสู่ระดับนานาชาติ สอดรับกับนโยบายของประเทศที่ต้องการให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านบริการสุขภาพในภูมิภาคนี้

ประโยชน์ของเทคโนโลยีเพื่องานล่ามต่อการให้บริการของโรงพยาบาล

ด้วยเทคโนโลยีดังกล่าว ล่ามจะสามารถเข้าถึงจุดที่ต้องให้บริการได้เร็วขึ้น ทำให้ผู้ป่วยหรือผู้ที่มาใช้บริการของโรงพยาบาลสูญเสียเวลาในการรอคอยน้อยที่สุด เป็นการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า และเพิ่มศักยภาพในการให้บริการของบุคลากรล่ามที่มีอยู่ให้สามารถบริการลูกค้าได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้โรงพยาบาลบริหารจัดการบุคลากรล่ามได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยเฉพาะโรงพยาบาลที่มีสาขา หรือโรงพยาบาลในเครือหลายแห่ง เพราะจะสามารถบริหารจัดการล่ามที่มีอยู่ในแต่ละแห่งให้เสมือนรวมศูนย์อยู่ที่เดียวกัน โรงพยาบาลจึงไม่จำเป็นต้องจัดจ้างบุคลากรล่ามทุกภาษาประจำในทุกสาขาของโรงพยาบาล แต่สามารถให้ล่ามแต่ละภาษาอยู่กระจายตามสาขาแต่ละแห่งตามความเหมาะสม และหากมีสาขาใดที่ต้องการล่ามในภาษาที่ไม่มีบริการอยู่ ณ สาขานั้น ก็จะสามารถเชื่อมโยงล่ามจากสาขาอื่นที่มีบริการภาษาที่ต้องการอยู่ได้ทันที จึงช่วยให้โรงพยาบาลลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการลงไปได้เป็นอย่างมาก อีกทั้งในอนาคตยังสามารถให้บริการสู่ภายนอก สร้างรายได้ให้กับโรงพยาบาลอีกทางหนึ่งด้วย

นอกจากนี้ด้วยระบบดังกล่าวยังช่วยให้โรงพยาบาลสามารถขยายความร่วมมือไปยังต่างประเทศ และสามารถติดตามการรักษาผู้ป่วยชาวต่างชาติหลังจากที่ผู้ป่วยกลับภูมิลำเนาไปแล้ว โดยผ่านความร่วมมือกับโรงพยาบาลในประเทศนั้นๆ ซึ่งเป็นพันธมิตรต่อกันได้

รูปแบบเทคโนโลยีที่นำมาใช้

เทคโนโลยีที่นำมาใช้เรียกว่า เทคโนโลยี Cisco Unified Communication เป็นการรวมเอาเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล เสียง ภาพเคลื่อนไหว และเว็บ (Data, Voice, VDO และ Web) เข้ามาเชื่อมโยงให้เป็นระบบเดียวกัน ช่วยให้เกิดการประสานความร่วมมือในการทำงาน เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานมากขึ้น ขณะที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนการดำเนินงานได้ในเวลาเดียวกัน ซึ่งองค์ประกอบหลักที่ติดตั้งในห้องแพทย์และห้องล่ามประกอบไปด้วย

- กล้อง Cisco VT Advantage ติดตั้งที่จอคอมพิวเตอร์และลงโปรแกรม Cisco Soft Phone Client ที่เครื่อง PC ของล่ามและแพทย์ เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายสามารถใช้เครื่อง PC เสมือนหนึ่งเป็นเครื่องโทรศัพท์และทำ VDO conference ได้ในขณะเดียวกัน ทำให้การติดต่อสื่อสารข้อมูลระหว่างกันสะดวกและง่ายดายมากยิ่งขึ้น

- Cisco Wireless IP Phone นอกจากระบบที่ติดตั้งอยู่บนเครื่อง PC แล้ว จะมีบุคลากรล่ามจำนวนหนึ่งถือเครื่องไอพีโฟนแบบไร้สายไว้กับตัว ในกรณีที่ล่ามติดภารกิจกับผู้ป่วย และมีการร้องขอใช้บริการล่ามใหม่เข้ามา หัวหน้างานจะสามารถตัดสินใจได้ทันทีว่าจะให้ล่ามผู้ที่ถือเครื่องไอพีโฟนไร้สายรายใดที่อยู่ใกล้จุดที่ต้องการรับบริการมากที่สุดไปเป็นผู้ให้บริการ ช่วยลดระยะทางที่ล่ามต้องเดินทางไปยังจุดที่ต้องให้บริการ ทำให้ล่ามเสียเวลากับการเดินทางน้อยลงและเข้าถึงตัวผู้ป่วยที่ต้องการใช้บริการได้เร็วขึ้น

ทั้งนี้ ด้วยระบบดังกล่าวจะช่วยให้ล่ามสามารถสื่อสารจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ของแพทย์เพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับผู้ป่วยได้ดียิ่งขึ้น ในกรณีที่แพทย์จะต้องตรวจวินิจฉัยหรือบอกค่าผลตรวจต่างๆ กับผู้ป่วย

ขั้นตอนการให้บริการ

ขั้นแรกผู้ป่วยจะพบล่ามผ่านทางระบบ Cisco VDO Conference และหากผู้ป่วยท่านใดมีความประสงค์ต้องการล่ามแปลภาษาเฉพาะตัวก็สามารถร้องขอได้ ทางศูนย์ล่ามจะดำเนินการจัดส่งบุคลากรล่ามที่อยู่ใกล้บริเวณนั้นมากที่สุดมาเป็นผู้ให้บริการ ทำให้ผู้ป่วยสูญเสียเวลาในการรอคอยน้อยที่สุด

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเครือข่ายเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ในรูปแบบ

ซิสโก้ ซีสเต็มส์ มีโซลูชั่นสำหรับการเชื่อมโยงทางการแพทย์ที่ครบวงจร เริ่มตั้งแต่ระบบเครือข่ายอัจฉริยะซิสโก้ เมดิคัล-เกรด เน็ตเวิร์ค (Cisco Medical-Grade Network) เพื่อรองรับการใช้ข้อมูลสุขภาพร่วมกัน ซึ่งสามารถตรวจสอบ คุ้มครอง และซ่อมแซมตัวเอง เพื่อให้แอพพลิเคชั่นและข้อมูลสำคัญมีความปลอดภัยและพร้อมใช้งานอยู่เสมอ

นอกจากนั้นยังมีโซลูชั่นซิสโก้ คอนเน็กเต็ด อิมเมจจิ้ง (Cisco Connected Imaging) สำหรับบริหารจัดการและเชื่อมโยงการรับส่งภาพถ่ายทางการแพทย์จากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโดยเฉพาะรังสีวิทยา เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการตรวจวิเคราะห์เเละวินิจฉัยโรค และโซลูชั่นซิสโก้ คลินิคัล คอนเน็กชั่น สวีท (Cisco Clinical Connection Suite) ที่เชื่อมต่อแพทย์ ผู้ป่วย และข้อมูลสุขภาพเข้าด้วยกันอย่างครบวงจร ซึ่งภายใต้ระบบ Cisco Clinical Connection Suite ยังประกอบไปด้วย solution ต่าง ๆ เช่น

- Collaborative Care เพื่อให้การติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ให้บริการด้านการเเพทย์และผู้ป่วย หรือ ระหว่างผู้ให้บริการทางด้านการแพทย์ด้วยกันมีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังช่วยให้การบริการผู้ป่วยใช้เวลาน้อยลงแต่ได้ความพึงพอใจสูงสุดจากผู้ป่วย

- Interpretation Services ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงระหว่างล่ามที่มีอยู่ปริมาณจำกัดให้บริการผู้ป่วยต่างชาติได้จำนวนมากขึ้นเเละยังสามารถบริหารจัดการล่ามที่อยู่ต่างสถานที่ผ่านโครงข่ายเน็ตเวิร์คสำหรับสถานบริการบางที่ที่มีล่ามภาษานั้น ๆ ในปริมาณที่จำกัดหรือไม่มีเลย

- Context Aware Healthcare หรือระบบติดตามตำแหน่งที่ตั้ง ซึ่งสามารถติดตามข้อมูลผ่านเครือข่ายไร้สาย

- Mobile Care ระบบติดตามพยาบาลฉุกเฉิน (Nurse Call) ผ่านไอพีโฟนไร้สายสำหรับพกพา

- TelePresence for Healthcare ระบบเทเลเพรสเซนส์ หรือการประชุมทางไกลเสมือนจริงสำหรับการบริการทางการแพทย์หรือบริการเพื่อสุขภาพ

ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ

Panruetai Kongyimlamai (Pingpong)

Public Relations officer

Marketing Communication Division

Bangkok Hospital Medical Center

Tel : 02 755 1639 /089- 111 5754

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง