การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน ครั้งที่ 13

ศุกร์ ๑๐ เมษายน ๒๐๐๙ ๑๒:๕๗
บทนำ

1. เรา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน ได้มีการประชุมครั้งที่ 13 วันที่ 9 เมษายน 2552 ณ อำเภอเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี โดยมีนายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของประเทศไทยเป็นประธานการประชุม

2. เราได้ต้อนรับผู้ว่าการธนาคารกลางของประเทศไทย เวียดนาม และ บรูไนซึ่งเป็นตัวแทนของประธานการประชุมผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียนในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เข้าร่วมประชุม พร้อมทั้งรับฟังมุมมองเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน และการพัฒนาด้านการเงิน รวมถึงความคิดเห็นต่อความร่วมมือทางการเงินของอาเซียนพร้อมทั้งได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเลขาธิการอาเซียน (ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ) ประธานธนาคารพัฒนาเอเชีย (นาย Haruhiko Kuroda) และรองประธานธนาคารโลกฝ่ายภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (นาย James Adams)

3. เราได้หารือถึงความท้าทายสำหรับภูมิภาคและการรับมือกับความผันผวนท่ามกลางวิกฤติการเงินโลก และตกลงร่วมกันที่จะให้ความสำคัญกับการส่งเสริมเสถียรภาพทางการเงินในภูมิภาคและ การรวมตลาดทุนเป็นอันดับแรก เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ภายในปี ค.ศ. 2015 เพื่อให้สอดคล้องกับข้อตกลงดังกล่าว เราได้หารือถึงผลการดำเนินงานในการปฏิบัติตามแผนการรวมตัวทางการเงินอาเซียน (Roadmap for Monetary and Financial Integration of ASEAN, RIA-Fin) และความร่วมมือระดับภูมิภาคอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น การพัฒนามาตรการริเริ่มเชียงใหม่ไปสู่การเป็นพหุภาคี (Chiang Mai Initiative Multilateralisation: CMIM) และมาตรการริเริ่มพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Markets Initiatives: ABMI) สำหรับ CMIM เราเน้นย้ำความสำคัญและความเร่งด่วนในการในดำเนินการ CMIM และตกลงที่จะร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับประเทศบวกสาม เพื่อหาข้อสรุปสำหรับเรื่องที่ยังคงค้างอยู่ในการประชุมในเดือนพฤษภาคม 2552

พัฒนาการทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน

4. เรามีความยินดีที่จะแถลงว่าภายใต้ความผันผวนของเศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอาเซียนยังขยายตัวอย่างต่อเนื่องที่ระดับร้อยละ 5 ในปีที่แล้ว โดยได้รับแรงขับเคลื่อนจากอุปสงค์ภายในประเทศ พื้นฐานเศรษฐกิจมหภาคที่แข็งแกร่ง มาตรฐานทางบัญชีของธนาคารและภาคเอกชน และการปรับปรุงโครงสร้างที่ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2540 อย่างไรก็ตาม เรายังตระหนักถึงความเสี่ยงในด้านลบ เช่นการลดลงของอุปสงค์ภายนอก การเงินโลกที่อยู่ในภาวะตึงตัว และความผันผวนของการไหลของเงินทุน ซึ่งเราได้ดำเนินมาตรการทางการเงินและการคลัง เพื่อสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินในภูมิภาค

5. เพื่อรับมือกับความผันผวนทางการเงินและเศรษฐกิจในปัจจุบัน เราได้ตกลงที่จะร่วมมือกันดำเนินการอย่างเด็ดขาด รวดเร็ว ในการฟื้นฟูความเชื่อมั่นของนักลงทุนและสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เราสนับสนุนการขยายขอบเขตการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจหากจำเป็น พร้อมทั้งรักษาเสถียรภาพทางการคลังในระยะปานกลาง เรายังยืนยันข้อตกลงในการต่อต้านการปกป้องทางการค้าและการกีดกันทางการเงิน และผลักดันการเปิดเสรีทางการค้าต่อไป

ความร่วมมือกับคู่ค้าทางเศรษฐกิจ

6. เรารับคำประกาศและข้อแนะนำจากผู้นำกลุ่มประเทศ G20 จากการประชุมผู้นำสูงสุด ณ กรุงลอนดอน ซึ่งประกอบด้วยสร้างความน่าเชื่อถือ การเจริญเติบโตและการจ้างงานเพื่อกระตุ้นความเชื่อมั่นต่อตลาด และพยายามที่จะหาข้อสรุปในกรอบโดฮา

7. เรารับทราบถึงความพยายามของธนาคารพัฒนาเอเชีย ธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศในการให้การมีบทบาทของธนาคารพัฒนาเอเชีย ธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ในการสนับสนุนในภูมิภาคและมีบทบาทที่ชัดเจนในการแก้ไขปัญหาภาวะเศรษฐกิจโลกขาลงในปัจจุบัน โดยเฉพาะในเรื่อง

การริเริ่มในการเพิ่มทุนขององค์กรการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งรวมถึงการเพิ่มทุนขององค์กรการเงินระหว่างประเทศเป็นจำนวน 750 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ รวมถึงการเพิ่มทุนสามัญทั่วไปขึ้นอีกร้อยละ 200 ของทุนปัจจุบันของธนาคารพัฒนาเอเชีย

การเพิ่มข้อผูกพันของธนาคารพัฒนาเอเชีย และธนาคารโลก ในด้านโครงสร้างพื้นฐาน การค้าด้านการเงิน และความต้องการในด้านอื่นๆ ของภูมิภาค

การปฎิรูปโครงสร้างการให้กู้เงินของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ รวมถึงให้มีวงเงินใหม่ๆ ที่ยืดหยุ่นมากขึ้น

องค์กรการเงินระหว่างประเทศยังอยู่ระหว่างการปฎิรูปในด้านการบริหารจัดการที่ดี การเพิ่มอำนาจการออกเสียง และกระบวนการตัดสินใจ

8. เรารับทราบถึงความสำคัญในการนำทรัพยากรที่มีอยู่ในภูมิภาคและระหว่างประเทศและสนับสนุนการเจริญเติบโตและเสถียรภาพของอาเซียน และในอนาคต เราสนับสนุนให้ธนาคารพัฒนาเอเชีย ธนาคารโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ มีความร่วมมือระหว่างกันอย่างใกล้ชิด รวมถึงแนวทางการทำงานร่วมกันระหว่างอาเซียนเพื่อยกระดับเศรษฐกิจ การเงิน เพื่อศึกษาในเรื่องที่เกี่ยวกับการค้า โครงสร้างพื้นฐาน และการบริหารจัดการดุลการชำระเงิน เป้าหมายการรวมตัวทางการค้า ซึ่งรวมถึงการให้องค์กรการเงินระหว่างประเทศเข้ามามีส่วนร่วมในการกระจายความเสี่ยงในมาตรการริเริ่มต่างๆ ในภูมิภาค

แผนแม่บทการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจการเงินรวมกันของอาเซียน

9. ท่ามกลางความผันผวนทางการเงินที่มีมาอย่างต่อเนื่อง เราตระหนักดีถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่จะเพิ่มความยืดหยุ่นทางการเงินโดยการสร้างความร่วมมือระหว่างตลาดการเงินในภูมิภาค วิกฤติการเงินโลกในปัจจุบันทำให้เห็นโอกาสในการพิจารณาแผนที่จำเป็นในการรวมตลาดการเงินอีกครั้ง ในประเด็นนี้ เราขอยืนยันข้อตกลงในการรวมตลาดการเงิน ภายใต้แผนการรวมกันของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยเฉพาะในด้านการพัฒนาตลาดทุน การเปิดเสรีทางการเงิน และการเปิดเสรีบัญชีทุนเคลื่อนย้าย เราเห็นชอบในการทำงานร่วมกัน ในอันที่จะผลักดันให้ตลาดการเงินอาเซียนมีความสามารถในการแข่งขันและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

การพัฒนาตลาดทุน

10. เราจะขยายและพัฒนาตลาดทุนในภูมิภาคโดยใช้มาตรการในการสนับสนุนการลงทุน สภาพคล่อง และความเชื่อมโยงของตลาด รวมทั้งยกระดับอาเซียนในการจัดอันดับสินทรัพย์ เรายอมรับว่าการกำกับดูแลตลาดทุนที่ดีและมีประสิทธิภาพจำเป็นต่อการกระจายเงินออมที่ช่วยสร้างความยืดหยุ่นเพื่อต้านทานผลกระทบจากภายนอก สำหรับการกระตุ้นการไหลเวียนของเงินทุนระหว่างประเทศ เชื่อมโยงตลาดทุนนั้น มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องสร้างสภาพแวดล้อม และโครงสร้างพื้นฐานของตลาด เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกในการลงทุนระหว่างประเทศ สร้างความแข็งแกร่งให้กับองค์กรในตลาด และรักษานโยบายที่เปิดกว้างต่อภายนอก (Outward-Oriented Policies)

11. เราให้การรับรอง แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาตลาดทุนสู่การรวมตลาดในอาเซียน อย่างเป็นทางการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ภายในปี ค.ศ. 2015 แผนดังกล่าวเป็นการวางแนวทางไปสู่การรวมตลาดทุนของภูมิภาคซึ่งประกอบด้วยมาตรการริเริ่มต่างๆและเป้าหมายในการดำเนินการ นอกจากนี้ยังสร้างความเข้มแข็งให้กับกระบวนการทางการเงิน ขยายขีดความสามารถ และบริหารจัดการความเสี่ยง เพื่อสนับสนุนอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศและของภูมิภาค เราเชื่อว่าแนวทางหลักของแผนซึ่งรวมถึงความเข้าร่วมกัน กรอบการทำงานที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และขยายขอบเขตการครอบคลุมประเทศต่างๆ จะได้รับการสนับสนุนจากความพยายามในการสร้างพันธมิตรด้านการซื้อขายและชำระบัญชี รวมทั้งโครงสร้างพื้นฐาน กระชับความร่วมมือและระบบกำกับดูแล ทั้งในระดับภูมิภาคและในระดับประเทศ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในความพยายามรวมตลาดทุนของเรา

การเปิดเสรีทางการเงิน

12. การตระหนักถึงความแตกต่างของระดับการพัฒนาการบริการด้านการเงินและความพร้อมของประเทศสมาชิกอาเซียน เราตกลงที่จะให้มีการศึกษาเรื่อง Assessing the Financial Landscape in ASEAN ซึ่งจะเป็นการทบทวนและพิจารณาถึงระบบการเงินของอาเซียนในปัจจุบัน ระบุความแตกต่างและข้อจำกัดที่เป็นอุปสรรคต่อการรวมตัวทางการเงิน และมุ่งพัฒนาหารวางกรอบการดำเนินงานที่ชัดเจน โดยมีข้อเสนอแนะอย่างเฉพาะเจาะจง และการกำหนดกรอบเวลาเพื่อมุ่งสู่การเปิดเสรีของภาคการเงิน ในขณะเดียวกัน เราจะกำหนดให้เกิดความยืดหยุ่นในข้อตกลงที่ได้เคยตกลงกันไว้ เพื่อให้เราสามารถได้ข้อสรุปในการเจรจาการเปิดเสรีทางการเงินของอาเซียน รอบที่ 5 ของ ASEAN Framework Agreement on Services (AFAS) ได้ทันกำหนดในปี 2010 เราตอบรับข้อสรุปของการเจรจาด้านบริการรวมถึงการบริการด้านการเงินในการเปิดเสรีกับเกาหลี ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ นอกจากนี้เรายังคงความร่วมมือกับประเทศคู่เจรจาอื่นๆ เพื่อยืนยันการเข้าถึงตลาดของประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศคู่ค้า

การเปิดเสรีบัญชีทุนเคลื่อนย้าย

13. การไหลเวียนเงินทุนระหว่างประเทศเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเคลื่อนย้ายเงินทุน และกระจายเงินทุนในภูมิภาคให้มีประสิทธิภาพ ท่ามกลางการรวมตัวกันอย่างใกล้ชิดของเศรษฐกิจโลก ซึ่งในเรื่องนี้ เรายืนยันข้อตกลงที่จะเปิดเสรีบัญชีทุนเคลื่อนย้าย โดยจะพยายามแก้ไขปัญหา รวมถึงพยายามสร้างความร่วมมือในภูมิภาค เพื่อบริหารจัดการกับความผันผวนของการไหลเวียนของเงินทุนที่อาจเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน

การเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านความร่วมมือทางการเงินและการรวมตัวทางเศรษฐกิจ

ความร่วมมือทางการเงินภายใต้กรอบอาเซียน +3

14.เราตกลงร่วมกันที่จะสรุปสาระสำคัญของมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ไปสู่พหุภาคีในการประชุมร่วมกับประเทศบวกสามที่บาหลี ในเดือนพฤษภาคมปีนี้ เรายินดีที่จะแถลงว่าเราได้ข้อสรุปเกี่ยวกับสัดส่วนในการลงเงินของประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เราจะให้ความร่วมมือกับประเทศบวกสามอย่างใกล้ชิดเพื่อเร่งรัดให้บรรลุผลของมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ไปสู่พหุภาคีภายในเดือนพฤษภาคม 2552 ณ บาหลี

การส่งเสริมระบบระวังภัยทางเศรษฐกิจในภูมิภาค

15. เราตกลงที่จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งและความสามารถของระบบระวังภัยของสำนักงานเลขาธิการอาเซียน เราเห็นชอบในการจัดตั้ง Macroeconomic and Finance Surveillance Office (MFSO) เพื่อสนับสนุนทรัพยากรที่จำเป็นในการปฏิบัติการที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

การระดมทุนเพื่อโครงสร้างพื้นฐาน

16. เรายังคงตกลงที่จะอำนวยความสะดวกสำหรับการระดมทุนเพื่อโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคในระยะปานกลางและระยะยาวมีความแข็งแกร่งมากขึ้น โดยร่วมมือกับภาคเอกชนและองค์กรระหว่างประเทศในการระดมทุนและลดความเสี่ยง ซึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในระดับที่สูงขึ้น ดังนั้น เรายินดีที่จะแถลงว่า ได้มีการร่วมมือระหว่างธนาคารโลกและอาเซียน โดยจัดตั้งInfrastructure Finance Network เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้ภายในภูมิภาค เราได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ระดับสูงหาแนวทางในการเคลื่อนย้ายเงินทุนในภูมิภาคเพื่อลงทุนในโครงการที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานในภูมิภาค

ความร่วมมือด้านศุลกากร

17. เรายินดีที่จะแถลงว่าการดำเนินการตามแผนการพัฒนาระบบศุลกากรและ ASEAN Single Customs Window มีความก้าวหน้า ซึ่งรวมถึงการออกประกาศของศุลกากรอาเซียน และข้อตกลงศุลกากรใหม่ๆที่จะช่วยขยายความร่วมมือด้านกฎระเบียบระหว่างเจ้าหน้าที่ศุลกากรในภูมิภาค เราจะพยายามให้ความสะดวกด้านการค้าและการลงทุนในภูมิภาค โดยการลดความยุ่งยากด้านวิธีการทางศุลกากร

การประชาสัมพันธ์กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน

18. เนื่องจากได้ตระหนักถึงความสำคัญในการประชาสัมพันธ์กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนให้เป็นที่ยอมรับ เราตกลงที่จะเข้าร่วมงาน ASEAN Investment Day ที่จะจัดขึ้นระหว่างการประชุมประจำปีของธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชียที่บาหลี ในเดือนพฤษภาคม 2009 ซึ่งในงานนี้จะมีการจัดการสัมมนาสำหรับนักลงทุน การสัมมนาที่เกี่ยวข้องกับการระดมทุนในภูมิภาค และการจัดนิทรรศการ

ประชาคมเศรษฐกิจอาซียน

19. วิกฤติการเงินโลกทำให้เราตระหนักถึงความรับผิดชอบร่วมกันในการจัดการกับความท้าทายที่เกิดขึ้น ดังนั้น เรายืนยันข้อตกลงที่จะรักษาเสถียรภาพทางการเงินของภูมิภาค ผลักดันการรวมตัวทางการเงิน และร่วมกันช่วยเหลือในการทำให้วิกฤติของโลกจบลง รวมถึงการต่อต้านการกีดกันทางการค้าและการเงิน เราเห็นว่าวิกฤติในปัจจุบันไม่ควรขัดขวางความก้าวหน้าของการรวมตัวทางเศรษฐกิจที่ได้ดำเนินมาแล้ว

20. เราขอแสดงความชื่นชมต่อรัฐบาลและประชาชนชาวไทย สำหรับการจัดงานและการต้อนรับที่อบอุ่น การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน ครั้งที่ 14 จะจัดขึ้นที่ประเทศเวียดนามในปี 2010

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙ พ.ค. MONEY EXPO 2024 BANGKOK โปรแรง กู้บ้าน 0% 3 เดือน สินเชื่อสีเขียว 1.11% เงินฝากดอกเบี้ยสูง 2.88%
๐๙ พ.ค. InnovestX บุกตลาดกองทุน คัดกองแกร่ง Core Portfolio เพื่อผลตอบแทนระยะยาว ท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจโลก
๐๙ พ.ค. กรมวิชาการเกษตรจัดงาน Thailand Best Coffee Beans ประกวดหาสุดยอดกาแฟไทย พร้อมยกระดับกาแฟไทยสู่เวทีโลก
๐๙ พ.ค. บลจ.ไทยพาณิชย์ เปิดตัวกองทุน Senior Loan กองทุนแรกของไทย โอกาสลงทุนเสริมพอร์ตให้เติบโตกับ Private Credit ที่ซื้อ-ขายได้ทุกวัน(*) พร้อม IPO วันที่ 9 - 16 พ.ค.
๐๙ พ.ค. ผู้บริหารเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ร่วมแสดงความยินดีเปิดตัว SPYxFAMILY POP UP STORE THAILAND ครั้งแรกในไทยกับป๊อปอัพ สโตร์แนวใหม่ ฟินกับครอบครัวสายลับสุดป่วน เข้าชมฟรี!! วันนี้-30
๐๙ พ.ค. เฟสติวัลใหม่แกะกล่อง bondbond Music Mania เปิดไลน์อัปรวมศิลปินทั้ง International และ T-POP ไว้ในงานเดียว!
๐๙ พ.ค. กลุ่มเซ็นทรัล ขับเคลื่อนโลกศิลปะ ส่งเสริมศิลปินในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชวนดื่มด่ำงานศิลป์หลากแขนงจากทั่วโลกในงาน เวนิส เบียนนาเล่ 2024
๐๙ พ.ค. DIPROMพร้อมพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมเป้าหมาย กิจกรรมพัฒนาผลิตภาพสำหรับธุรกิจเกษตรแปรรูปเป้าหมาย (พืชเศรษฐกิจและผลไม้) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
๐๙ พ.ค. SPU จับมือ สมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย MOU มุ่งพัฒนาทักษะนักศึกษาสู่ เจ้าของธุรกิจออนไลน์
๐๙ พ.ค. เคทีซีแกร่งรับมาตรฐานสากลด้านความปลอดภัยของข้อมูลบัตรเครดิต (PCI DSS) เป็นสถาบันการเงินรายแรกในเอเชีย แปซิฟิก จากสถาบันมาตรฐานอังกฤษ