ก.พ.ค.เผยการทำงานรุดหน้า แนะผู้บริหารยึดหลักธรรมาภิบาล

จันทร์ ๐๔ พฤษภาคม ๒๐๐๙ ๑๗:๒๔
ก.พ.ค. เผยความคืบหน้าการปฏิบัติหน้าที่พิทักษ์ระบบคุณธรรมของข้าราชการพลเรือนสามัญ ล่าสุดได้วินิจฉัยเรื่องอุทธรณ์ ร้องทุกข์ เสร็จเรียบร้อยแล้วหลายเรื่อง พร้อมออกหลักเกณฑ์การขอเอกสารในการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ โดยมอบหมายกรรมการเจ้าของสำนวนเป็นผู้พิจารณาตัดสินใจ

นางจรวยพร ธรณินทร์ กรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) ในฐานะโฆษก ก.พ.ค. รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานของ ก.พ.ค. ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2551 จนถึง 30 เมษายน 2552 ว่า ขณะนี้ ก.พ.ค. ได้พิจารณาและออกคำสั่งคำวินิจฉัยข้ออุทธรณ์ไปเรียบร้อยแล้วจำนวน 3 ราย และได้วินิจฉัยข้อร้องทุกข์จำนวน 4 ราย รวมเป็น 7 ราย ซึ่งหลังจากได้คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ก.พ.ค. แล้ว หากผู้อุทธรณ์ยังไม่พอใจสามารถฟ้องต่อที่ศาลปกครองสูงสุด และในส่วนผู้ร้องทุกข์ที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยของ ก.พ.ค. ให้ฟ้องต่อ ศาลปกครองชั้นต้นได้ โดยทั้ง 2 กรณี ให้ฟ้องภายใน 90 วัน เมื่อได้รับคำวินิจฉัยจาก ก.พ.ค.

อย่างไรก็ตาม โฆษก ก.พ.ค. กล่าวว่า ในกรณีของการร้องทุกข์นั้น ส่วนใหญ่เกิดจาก ข้อคับข้องใจในการคัดเลือกบุคคลให้เข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น การย้ายไปในจังหวัดที่ตนเอง ไม่ประสงค์ การไม่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดำรงตำแหน่งรักษาการในตำแหน่งผู้บริหาร รวมทั้งการไม่ได้รับการพิจารณาความดีความชอบ ซึ่ง ก.พ.ค. มองว่าปัญหาเหล่านี้ หากหน่วยงาน ต้นสังกัดจัดกระบวนการเจ้าหน้าที่สัมพันธ์ เน้นการชี้แจงข้อมูล ตลอดจนเปิดโอกาสให้มีการสอบถามหรือซักซ้อมความเข้าใจให้ตรงกันทุกฝ่าย ก็จะช่วยลดข้อคับข้องใจได้มากขึ้น

นอกจากนี้ หลักการสำคัญคือ ผู้บริหารทุกระดับจะต้องใช้หลักธรรมาภิบาลใน การบริหารงาน โดยต้องเป็นไปอย่างเปิดเผย โปร่งใส และตรวจสอบได้ ซึ่งหากปฏิบัติได้ดังนี้ ก็เชื่อว่าจะทำให้การบริหารราชการมีความเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น

โฆษก ก.พ.ค. กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ ก.พ.ค. ได้ออกประกาศ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจดูการคัดสำเนา และการรับรองสำเนาเอกสารในการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ โดยเปิดโอกาสให้คู่กรณี พยานเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการให้ถ้อยคำของตน หรือบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียซึ่งประสงค์จะขอตรวจดู คัดสำเนาเอกสารในการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ สามารถยื่นคำขอเป็นหนังสือต่อ ก.พ.ค. โดยจะยื่นด้วยตนเอง หรือมอบอำนาจให้ผู้อื่นยื่นคำขอแทน หรือจะส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ได้ ซึ่งกรรมการเจ้าของสำนวนจะเป็นผู้พิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาต และจะมอบให้นิติกรผู้รับผิดชอบสำนวนเป็นผู้รับรองเอกสาร ซึ่งผู้ขอคัดสำเนาต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการคัดสำเนาทั้งหมด

ส่วนคำวินิจฉัยอุทธรณ์และร้องทุกข์ที่ผ่านกระบวนการพิจารณาเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้วนั้น ก.พ.ค. จะจัดห้องสมุดสำหรับจัดเก็บคำวินิจฉัยดังกล่าว เพื่อผู้สนใจจะขอศึกษาและขอคัดสำเนาคำวินิจฉัยได้ โดยให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติของพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร พ.ศ. 2540

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 1786 กลุ่มสื่อสารองค์กร สำนักงาน ก.พ.

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๔๕ EXIM BANK แต่งตั้งผู้อำนวยการฝ่ายกลุ่มอุตสาหกรรม 3
๑๒:๑๕ โรงพยาบาลรามาธิบดี บูรณาการความร่วมมือทางการแพทย์ เผยผลสำเร็จการปลูกถ่ายไตด้วยหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด ครั้งแรกในอาเซียน
๑๒:๔๐ มหกรรม IAAPA Expo Asia 2024 หวนคืนสู ประเทศไทย พร้อมปลดล็อคศักยภาพอุตสาหกรรมสถานที่ท่องเที่ยวและความบันเทิง
๑๒:๒๒ ที ไลฟ์ ประกันชีวิต ผสาน ไอบีเอสซี โบรคเกอร์ รุกขายผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต
๑๒:๔๔ รพ.ไทยนครินทร์ร่วมกับบริษัท ไทยฮอนด้า จำกัด จัดกิจกรรม วันงดสูบบุหรี่โลก
๑๒:๔๕ เอกา โกลบอล ตอกย้ำผู้นำตลาดแพ็กเกจจิ้งยืดอายุอาหาร ออกบูธโชว์นวัตกรรมภายในงาน THAIFEX - ANUGA ASIA 2024
๑๒:๑๕ การท่องเที่ยวไต้หวัน จับมือ เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับภาษาไทย และบ้านและสวน Explorers Club เสวนาเปิดประสบการณ์ท่องเที่ยวที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้คุณวางแผนเที่ยวไต้หวันในมุมมองใหม่
๑๒:๐๑ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ห่วงใยผู้ประสบภัยแล้ง ภาวะอากาศร้อน รวมถึงประสบพายุฤดูร้อนในถิ่นทุรกันดาร จัดทีมลงพื้นที่บรรเทาทุกข์ รวม 16 จังหวัด รวมมูลค่ากว่า 6.6
๑๒:๒๒ Duscholux ฉากกั้นอาบน้ำแบรด์สัญชาติเยอรมัน ยืนยันความสำเร็จในประเทศไทย พร้อมขยายสินค้าฉากกั้นอาบน้ำรุ่นใหม่เข้าสู่ Showroom
๑๒:๓๔ ปล่อยของ! DEK SE โชว์นวัตกรรมอาหาร JACKEN บนเวที THAIFEX - ANUGA ASIA 2024