ผู้เชี่ยวชาญด้านทะเล ทช. ได้รับคัดเลือกเป็นกรรมการบริหารสมุทรศาสตร์ระหว่างประเทศ

ศุกร์ ๑๗ กรกฎาคม ๒๐๐๙ ๑๕:๔๘
กรรมการบริหารสมุทรศาสตร์ระหว่างประเทศ (IOC) ได้คัดเลือก ดร.เจิดจินดา โชติยะปุตตะ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการจัดการทรัพยากรทางทะเล กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เป็นกรรมการบริหารองค์กร UNESCO/ IOC ในการประชุม UNESCO/ IOC Assembly ครั้งที่ 25 ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส พร้อมหนุนให้ประเทศสมาชิกมีระบบเครือข่ายด้านการเตือนภัย ที่ประสานกันเป็นหนึ่งเดียว เพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้ที่มีประสิทธิภาพ ในขณะที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเตรียมจัดประชุมวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล และการสำรวจสมุทรศาสตร์ทางฝั่งทะเลอันดามัน ร่วมเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปี IOC

ภายใต้ความร่วมมือระหว่างประเทศด้านสมุทรศาสตร์ ในฐานะที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เป็นผู้ประสานงานหลักในประเทศไทยของคณะกรรมการสมุทรศาสตร์ระหว่างรัฐบาล (Intergovernmental Oceanographic Commission : IOC) และดูแลสำนักเลขาธิการผู้ประสานงานภูมิภาคแปซิฟิกด้านตะวันตก (IOC Sub-Commission for the Western Pacific : IOC/WESTPAC) ดร.เจิดจินดา โชติยะปุตตะ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการจัดการทรัพยากรทางทะเล กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จึงได้เข้าร่วมการประชุม “The 42nd Session of the IOC Executive Council” และ “The 25th Session of the IOC Assembly” ในระหว่างวันที่ 15-25 มิถุนายน 2552 ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส

ดร.เจิดจินดา โชติยะปุตตะ เปิดเผยว่า คณะกรรมการสมุทรศาสตร์ระหว่างรัฐบาล (IOC) เป็นองค์กรที่อยู่ภายใต้การสนับสนุนของ UNESCO ตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนประเทศสมาชิกในกระบวนการความร่วมมือด้านการศึกษา วิจัย สังเกตการณ์และดำเนินการในเรื่องที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ทางทะเลและมหาสมุทร ซึ่งการประชุม Executive Council เป็นการประชุมคณะกรรมการขององค์กร UNESCO/ IOC จัดขึ้นทุกปี โดยคณะกรรมการบริหารดังกล่าวมีวาระ 2 ปี สำหรับการประชุม UNESCO/IOC Assembly เป็นการประชุมใหญ่ของประเทศสมาชิกทั้งหมด ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ เป็นครั้งที่ 25 ประเทศไทย โดยตนเป็นผู้แทนจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้รับคัดเลือกให้เป็นกรรมการบริหารดังกล่าว ทั้งนี้ ประเทศไทยได้รับเลือกเข้าเป็นคณะกรรมการบริหาร (Executive Council) ตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา

การประชุมสมัชชาครั้งนี้ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 25 โดยที่ประชุมได้เน้นถึงความสำคัญของมหาสมุทรและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดย IOC ได้ร่วมมือกับองค์กรอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization : WMO) ในการใช้โปรแกรมการดำเนินงานด้านระบบ เฝ้าสำรวจสมุทรศาสตร์ทั่วโลก เพื่อสร้างความเข้าใจถึงบทบาทของมหาสมุทรที่มีส่วนสัมพันธ์กับภูมิอากาศโลก อีกทั้งยังให้ความสำคัญเกี่ยวกับระบบเตือนภัย การลดผลกระทบจากภัยที่เกิดจากสึนามิ และการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล โดยสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกมีระบบเครือข่ายด้านการเตือนภัยที่ประสานกันเป็น หนึ่งเดียว เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนความรู้ รวมถึงการสนับสนุนความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านนโยบาย ซึ่งประเทศไทยได้มีการประสานความร่วมมือกับ Indian Ocean Tsunami Warning and Mitigation system (IOTWS) และ Pacific Tsunami Warning system (PTWS)

ในการประชุมยังมีการนำเสนอความก้าวหน้าและผลงานวิชาการด้านสมุทรศาสตร์ที่สำคัญ เพื่อใช้วางแผนการจัดการและการตัดสินใจในอนาคต รวมถึงมีการพิจารณารายงานผลการศึกษาของคณะทำงานด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับสถานะความรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อนำไปใช้ในการเผยแพร่ต่อไป

“ และในปี 2510 จะครบรอบ 50 ปีของการก่อตั้ง IOC ที่ประชุมจึงได้เห็นชอบให้ประเทศสมาชิกร่วมมือกันในการจัดกิจกรรม และทำของที่ระลึก เนื่องในวาระการฉลองครบปีที่ 50 ของ IOC เพื่อให้สาธารณชนได้เห็นถึงบทบาทของ IOC และความสำคัญเรื่องมหาสมุทรศาสตร์ สำหรับประเทศไทยนั้น กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จะจัดประชุมวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล และการสำรวจสมุทรศาสตร์ทางฝั่งทะเลอันดามัน รวมทั้งกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนองแนวคิดดังกล่าวเช่นกัน” ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการจัดการทรัพยากรทางทะเล กล่าว

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ

กลุ่มสื่อสารองค์กร กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

120 หมู่ 3 ชั้น 5 อาคารรวมหน่วยราชการ (อาคารบี) ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550

ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210

โทรศัพท์ 0-2141-1299 โทรสาร 0-2143-9249

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๓๓ COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๑๘:๓๖ GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๑๘:๔๔ PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๑๘:๓๙ LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๑๘:๑๒ ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๑๘:๕๗ ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๑๘:๓๖ LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๑๘:๔๖ SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๑๘:๔๙ STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๑๘:๓๕ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน