แกรนท์ ธอร์นตัน พร้อมรับมาตรฐานทางบัญชีสากล รูปแบบใหม่สำหรับธุรกิจเอกชน

พฤหัส ๒๓ กรกฎาคม ๒๐๐๙ ๑๐:๑๒
แกรนท์ ธอร์นตัน เผยว่ามาตรฐานทางบัญชีสากลฉบับใหม่สำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (International Financial Reporting Standard for Small and Medium-sized Entities) หรือ IFRS for SMEs จะช่วยให้ธุรกิจเอกชนทั่วโลกสามารถจัดทำรายงานทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ มาตรฐานดังกล่าวได้รับการจัดทำโดยคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ (International Accounting Standards Board: IASB) โดยเชื่อว่าจะนำเสนอโอกาสในการสร้างสรรค์กรอบการบัญชีที่ได้มาตรฐานสำหรับธุรกิจเอกชนทั่วโลก ซึ่งแกรนท์ ธอร์นตันมีความยินดีและพร้อมเป็นอย่างยิ่งเมื่อถึงเวลานำมาตรฐานใหม่ดังกล่าวมาใช้

IFRS for SMEs นำเสนอหลักการทางการบัญชีสำหรับธุรกิจเอกชนที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติและได้รับการปรับปรุงให้เรียบง่ายขึ้นอย่างมาก เมื่อเปรียบเทียบกับ IFRS ฉบับเดิมที่พัฒนาขึ้นเพื่อบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แล้ว มาตรฐานทางบัญชีฉบับใหม่นี้จะเป็นประโยชน์สำหรับธุรกิจที่ดำเนินการในระดับนานาชาติโดยเฉพาะ ประเทศต่างๆ จะมีการพิจารณานำมาตรฐานใหม่มาใช้ โดยหารือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในประเทศเพื่อตัดสินใจว่าจะใช้หรือไม่และจะเริ่มต้นเมื่อใด และประเทศต่างๆ ยังจะมีความระมัดระวังเกี่ยวกับประเภทของธุรกิจเอกชนที่จะใช้มาตรฐานใหม่ ยกตัวอย่างเช่น บริษัทลูกที่ไม่ได้รับการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของบริษัทข้ามชาติที่ได้รับการจดทะเบียนฯ จะสามารถใช้มาตรฐานใหม่นี้ได้

ประเทศไทยมีบริษัทขนาดใหญ่ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ราว 50 บริษัทที่ต้องดำเนินการตามมาตรฐาน IFRS ให้ได้อย่างครบถ้วนภายในปี 2554 และบริษัทอื่นๆ ภายในปี 2559 ซึ่งในขณะนี้ สภาวิชาชีพบัญชีได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อศึกษามาตรฐานทางบัญชีสำหรับธุรกิจเอกชนขนาดกลางและขนาดย่อม ทั้งนี้ ประเทศไทยมีการปรับเปลี่ยนมาตรฐานทางบัญชีหลายครั้งภายในระยะเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา ดังนั้น ผู้บริหารและนักบัญชีจะต้องมีความระมัดระวังในการดำเนินมาตรฐานใหม่อย่างถูกต้อง

สุมาลี โชคดีอนันต์ กรรมการส่วนงานตรวจสอบบัญชีของ แกรนท์ ธอร์นตันในประเทศไทย เสริมว่าธุรกิจเอกชนส่วนมากบริหารงานอย่างใกล้ชิดโดยเจ้าของกิจการ การจัดทำรายงานทางการเงินก็เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฏหมายเป็นหลัก ดังนั้น IFRS for SME จะช่วยให้ธุรกิจเอกชนมีมาตรฐานทางบัญชีในขั้นพื้นฐานได้โดยมีค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม

สุมาลีอธิบายว่า “ธุรกิจทั่วโลกที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่ขณะนี้ยังต้องดำเนินการตามมาตรฐาน IFRS ฉบับเต็มจะมีความยินดีที่คู่มือฉบับใหม่มีความยาวเพียงหนึ่งในสิบของคู่มือฉบับเต็ม และสิ่งที่จะต้องรายงานมีเพียง 300 รายการโดยประมาณ แทนที่จะเป็น 3,000 รายการในปัจจุบัน”

อเล็กซ์ แมคบีธ ผู้บริหารระดับสูงส่วนงานบริการธุรกิจเอกชนของ แกรนท์ ธอร์นตัน อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวเสริมว่า “เราเชื่อว่าประเทศต่างๆ ที่ใช้ IFRS ฉบับเต็มสำหรับธุรกิจทั้งที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และไม่ได้จดทะเบียนฯ ในปัจจุบัน (ประมาณ 30 ประเทศทั่วโลก) จะมีความยินดีที่จะนำ IFRS for SMEs มาใช้ เพราะแรงกดดันที่จะลดภาระการบริหารงานของเอสเอ็มอีจะชักนำให้รัฐบาลรับเอามาตรฐานใหม่อย่างใดอย่างหนึ่งมาใช้ในที่สุดอย่างแน่นอน ยกตัวอย่างเช่น แอฟริกาใต้ได้บรรจุการใช้มาตรฐานใหม่ในร่างกฏหมาย จึงได้มีการดำเนินการใช้มาตรฐานใหม่แล้วอย่างมีประสิทธิภาพ”

ทั้งนี้ แกรนท์ ธอร์นตัน เชื่อว่าการนำ IFRS for SMEs ไปใช้ในประเทศที่ธุรกิจเอกชนยังคงใช้มาตรฐานการบัญชีท้องถิ่น (SME GAAPs) จะต้องมีการพิจารณาในรายละเอียดต่อไป ยกตัวอย่างเช่น สหภาพยุโรป ที่มีมาตรฐานการบัญชีท้องถิ่นประมาณ 55 รูปแบบที่แตกต่างกัน

ในการนี้ การปรับเปลี่ยนมาใช้มาตรฐานทางบัญชีรูปแบบใหม่นั้นต้องมีต้นทุนทางการเงินและทางทรัพยากรในระดับหนึ่ง โดยบริษัทที่ดำเนินธุรกิจและผู้ให้คำปรึกษาทางธุรกิจจะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ใหม่และเทคนิคทางการบัญชีใหม่เพื่อเปลี่ยนแปลงระบบซอฟท์แวร์ของตนเอง นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงจากมาตรฐานทางบัญชีท้องถิ่นในบางประเทศแม้เพียงเล็กน้อยก็เกี่ยวพันกับการออกกฏหมายทางการภาษีและกฏหมายเกี่ยวกับบริษัท อย่างไรก็ตาม แกรนท์ ธอร์นตันมั่นใจว่าความไม่ราบรื่นเพียงชั่วคราวจะนำมาสู่อรรถประโยชน์ในระยะยาวสำหรับธุรกิจเอกชนทั่วโลก

อเล็กซ์ แมคบีธ อธิบายว่า “มาตรฐานใหม่นี้คือการที่เรามุ่งหน้าเข้าสู่สถานการณ์ที่นายทุนและนักลงทุนสามารถประเมินการดำเนินงานของบริษัทโดยพิจารณาจากงบการเงินที่ใช้วิธีการทางบัญชีที่เปรียบเทียบได้โดยตรง มีหลักการ และได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติได้โดยไม่คำนึงถึงแหล่งที่ตั้งของประเทศและที่มาบริษัท ซึ่งจะช่วยพัฒนาไปสู่การเข้าถึงเงินลงทุนและการตัดสินใจในการลงทุนระหว่างประเทศ ทั้งยังช่วยลดภาระทางการบริหารให้แก่ธุรกิจเอกชนเป็นอย่างมาก"

เกี่ยวกับ แกรนท์ ธอร์นตัน ในประเทศไทย:

แกรนท์ ธอร์นตัน ในประเทศไทย เป็นที่รู้จักกันดีในแวดวงธุรกิจในฐานะบริษัทที่ปรึกษาและให้บริการอย่างมืออาชีพระดับแนวหน้าของประเทศไทย ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2534 มีประสบการณ์ในการให้คำปรึกษาแก่บริษัทต่างๆ ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจเอเชียปี พ.ศ. 2540 โดยใช้วิธีการปรับโครงสร้างหนี้ การลดค่าใช้จ่าย และการปรับปรุงแผนธุรกิจ กลุ่มงานให้บริการของแกรนท์ ธอร์นตัน ได้แก่

- การให้คำปรึกษาด้านธุรกิจ

- การตรวจสอบบัญชี

- การให้คำปรึกษาทางภาษี

- การให้บริการปรึกษาเฉพาะทาง

- การจัดหาบุคลากรระดับผู้บริหาร

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ แกรนท์ ธอร์นตัน ในประเทศไทย กรุณาเข้าชมเว็บไซต์ www.grantthornton.co.th

ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่:

สุมาลี โชคดีอนันต์

กรรมการ

แกรนท์ ธอร์นตัน ในประเทศไทย

โทร: 02 205 8160

อีเมล์: [email protected]

ลักษณ์พิไล วรทรัพย์

ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายการตลาดและการสื่อสาร

แกรนท์ ธอร์นตัน ในประเทศไทย

โทร: 02 205 8142

อีเมล์: [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๙ ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๑๗:๕๑ GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๑๗:๒๗ กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๑๗:๑๔ กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๑๗:๒๕ First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๑๗:๐๒ CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๑๗:๑๑ บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง
๑๗:๕๒ มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท เดินหน้า โครงการบ้านชื่นสุขสร้างสุขผู้สูงอายุ ตอกย้ำ ความกตัญญู
๑๗:๐๑ รีเล็กซ์ โซลูชันส์ เผยกลุ่มค้าปลีกและผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคยังไม่ใช้ศักยภาพของ AI มากนัก
๑๗:๔๓ กทม. บูรณาการหน่วยงานเร่งแก้ปัญหาเด็กเช็ดกระจก-ขายของริมถนน ใช้สหวิชาชีพแก้ปัญหารายครอบครัว