การแข่งขันสร้างรถอัจฉริยะชิงแชมป์ประเทศไทย 2552 Thailand Intelligent Vehicle Challenge 2009

ศุกร์ ๓๑ กรกฎาคม ๒๐๐๙ ๑๔:๕๙
29 กรกฏาคม 2552

สมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย ร่วมกับ ภาควิชาเมคาโทรนิคส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (เอไอที) โดยการสนับสนุนจากบริษัทซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด จัดการแข่งขันสร้างรถอัจฉริยะชิงแชมป์ประเทศไทย 2552 (Thailand Intelligent Vehicle Challenge 2008) ซึ่งเป็นการแข่งขันพัฒนารถไร้คนขับ ให้วิ่งไปบนเส้นทาง ที่กำหนด ให้ได้ระยะทางไกลที่สุดเร็วที่สุด โดยการจัดนี้นับเป็นการแข่งขันปีที่ 3 การแข่งขันรอบคัดเลือก จัดขึ้นในวันที่ 29 พฤษภาคม ศกนี้ ณ สนามบางกอก เรซซิ่ง เซอร์กิต ด้านหลังซีคอนสแควร์

กติกา

รถที่ใช้แข่งขัน

ผู้เข้าแข่งขันสามารถใช้รถที่ประดิษฐ์ขึ้นมาเองหรือรถที่มีขายตามท้องตลาดก็ได้มาพัฒนาดัดแปลงต่อให้เป็นรถอัจฉริยะ ไม่มีข้อจำกัดในประเภทของเครื่องยนต์หรือแหล่งกำเนิดพลังงาน ผู้เข้าแข่งขันสามารถใช้รถที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในประเภทต่าง ๆ เช่น เบนซิน ดีเซล แก๊สโซฮอล แก๊สธรรมชาติ แก๊สปิโตรเลียมเหลว อัลกอฮอล์ หรือสามารถใช้รถที่ใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานประเภทอื่น เช่น รถไฟฟ้า รถไฮบริดจ์ รถพลังงานเคมี หรือรถที่ใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานหลายประเภทพร้อมกันเป็นต้น

คุณสมบัติของรถ

รถจะต้องสามารถบรรจุผู้โดยสารได้อย่างต่ำ 1 คนและแล่นไปได้ด้วยกำลังของรถเอง (คณะกรรมการจะตรวจสอบคุณสมบัติข้อนี้โดย การตรวจสอบจากการวางได้อย่างเสถียรของผู้โดยสารจำลองที่เป็นวัตถุขนาด 30 เซนติเมตร x 30 เซนติเมตร x 30 เซนติเมตร หนัก 60 กิโลกรัม) รถจะต้องบรรจุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นในการขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเองไว้บนรถ ไม่อนุญาติให้ติดตั้งอุปกรณ์ ใด ๆ ที่ใช้ในการแข่งขันนอกตัวรถ เช่นที่บริเวณสนามแข่งขัน ขนาดของรถอย่างต่ำคือกว้าง 1 เมตรและยาว 2 เมตร รถจะต้องสามารถทำงานได้ในสภาวะการขับรถจริง เช่น มีแสงแดด มีร่มเงา มีฝนตก

ความเป็นอัจฉริยะ

รถจะต้องสามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเองโดยปราศจากคนขับทั้งโดยตรง หรือแบบบังคับทางไกล รถจะต้องสามารถเคลื่อนที่ไปบนเส้นทางที่กำหนดให้โดยใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะต่าง ๆ ที่ทำให้สามารถแบ่งแยกถนนออกจากสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ และบังคับรถให้วิ่งอยู่บนถนนได้ สามารถรู้ถึงสิ่งกีดขวางที่อยู่กับที่พร้อมทั้งหลบหลีกสิ่งกีดขวางได้ สามารถรู้ถึงสัญญานจราจรเช่น สัญญานไฟเขียว ไฟแดง หรือสัญญานบังคับทิศทาง พร้อมทั้งปฏิบัติตามกฏอย่างเคร่งครัด

เซนเซอร์ที่ใช้

ไม่มีข้อจำกัดของประเภทและจำนวนของเซนเซอร์ที่ใช้ ผู้เข้าแข่งขันสามารถใช้ กล้อง เลเซอร์ เรดาร์ โซนาร์ จีพีเอสและแผนที่อิเล็กทรอนิกส์ เอนโคดเดอร์ หรือเซนเซอร์ประเภทอื่น ๆ ได้โดยอิสระ

อุปกรณ์ควบคุมที่ใช้

ไม่มีข้อจำกัดของประเภทและจำนวนของอุปกรณ์ควบคุมที่ใช้ ผู้เข้าแข่งขันสามารถใช้คอมพิวเตอร์ประเภทใดก็ได้ เช่น เดสก์ทอป แลปทอป พีซี104 พีดีเอ คอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม คอมพิวเตอร์ประเภทฝังตัว ไมโครโปรเซสเซอร์ ไมโครคอนโทรเลอร์ ดีเอสพี พีแอลซี หรืออุปกรณ์ควบคุมอื่น ๆ ได้โดยอิสระ

ความเร็วของรถ

ความเร็วสูงสุดของรถในการแข่งขันถูกจำกัดไว้ที่ 45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

อุปกรณ์ที่ต้องติดตั้ง

รถยนต์ของทุกทีมต้องติดตั้งฮาร์ดดิสก์ซีเกท รุ่น EE 25.2 ความจุ 60 กิกะไบต์ เพื่อเก็บข้อมูลที่วัดได้จากเซนเซอร์ เช่น ตำแหน่งของรถ หรือ ภาพที่ได้รับจากกล้อง หรือ ข้อมูลอื่น ๆ ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดการแข่งขัน จำนวนความถี่ของข้อมูลอย่างต่ำหนึ่งชุดข้อมูลทุก ๆ ระยะทาง 20 เมตร เพื่อเป็นรายงานประกอบการแข่งขัน

การหยุดฉุกเฉิน

ผู้เข้าแข่งขันจะต้องพัฒนาระบบหยุดรถแบบฉุกเฉิน ทั้งแบบปุ่มกด และแบบทางไกลระยะอย่างต่ำ 20 เมตร และสาธิตให้คณะกรรมการพิจาณาว่าสามารถหยุดรถได้จริงในกรณีฉุกเฉินก่อนการแข่งขันทุกครั้ง

เวลาในการแข่งขัน

เวลาที่ใช้ในการแข่งขันสูงสุดของแต่ละทีมคือ 20 นาที ผู้เข้าแข่งขันสามารถขอยุติการแข่งขันก่อนเวลาการแข่งขันสูงสุดได้ โดยมีข้อกำหนดขณะเริ่มการแข่งขันว่าจะต้องเคลื่อนที่ออกจากจุดสตาร์ทให้ได้ภายใน 5 นาที ในช่วง 5 นาทีนี้ผู้เข้าแข่งขันสามารถรีไทร์ได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ผลของการแข่งขันจะพิจารณาจากการวิ่งครั้งไกลที่สุด รถถูกพิจารณาว่าออกนอกเส้นทางเมื่อทุกล้อออกนอกถนน

การพิจารณาผลการแข่งขัน

การแข่งขันในรอบแข่งคัดเลือก ผู้เข้าแข่งขันจะต้องพัฒนารถไร้คนขับให้วิ่งไปบนเส้นทางที่กำหนดให้ที่มีสิ่งกีดขวางติดตั้งอยู่บนเส้นทางอย่างสุ่ม ทีมที่วิ่งได้ระยะทางไกลที่สุดเร็วที่สุด 8 ทีมแรกจะได้รับเงินสนับสนุนทีมละ 50,000 บาท

ในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ รถอัจฉริยะจำนวน 2 คันจะแข่งขันในสนามเดียวกัน โดยจุดที่ปล่อยรถจะห่างกัน 100 เมตร การตัดสินทีมที่ชนะจะพิจารณาจากทีมที่วิ่งได้ระยะทางรวมไกลที่สุด ระยะทางรวมเป็นระยะทางที่รถวิ่งจริงรวมกับระยะทางโบนัสอันเนื่องมาจากการหลบหลีกสิ่งกีดขวาง คะแนนจากการแข่งขันในรอบคัดเลือกและรอบชิงชนะเลิศจะถูกนำมาใช้ในการคัดเลือกทีมชนะเลิศ

คุณสมบัติของทีมที่เข้าร่วมแข่งขัน

สมาชิกในทีมต้องเป็นนักศึกษาระดับอาชีวะศึกษา ระดับอุดมศึกษา หรือ สูงกว่า ในสถาบันการศึกษาในประเทศไทย มีสมาชิกในทีมไม่เกิน 10 คน และมีอาจารย์ที่ปรึกษาไม่เกิน 3 คน สมาชิกทุกคนในทีมและอาจารย์ที่ปรึกษาต้องเป็นสมาชิกสมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย

รางวัล

รางวัลชนะเลิศ 300,000 บาทและโล่ห์เกียรติยศ

รางวัลรองชนะเลิศ 200,000 บาทและโล่ห์เกียรติยศ

รางวัลเทคนิคยอดเยี่ยม 50,000 บาทและโล่ห์เกียรติยศ

รางวัลความคิดสร้างสรรค์ 50,000 บาทและโล่ห์เกียรติยศ

รางวัลออกแบบประหยัดพลังงานยอดเยี่ยม 50,000 บาทและโล่ห์เกียรติยศ

8 ทีมที่ทำคะแนนสูงสุดที่ผ่านเข้ารอบแข่งชิงชนะเลิศ ทีมละ 50,000 บาท

กรณีข้อพิพาทของกฏกติกา

ในกรณีที่เกิดข้อพิพาทที่ไม่ได้กำหนดไว้ในกฏให้ถือดุลยพินิจของคณะกรรมการตัดสินเป็นเกณฑ์ ความเห็นของคณะกรรมการตัดสินถือเป็นที่สิ้นสุด

หน่วยงาน

ผู้จัดการแข่งขัน สมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย

ภาควิชาเมคาโทรนิคส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (เอไอที)

ผู้สนับสนุนหลักการแข่งขัน บริษัทซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด

บรรยายภาพ รถอัจฉริยะไร้คนขับทั้งหมดที่เข้าร่วมการแข่งขันสร้างรถอัจฉริยะชิงแชมป์ประเทศไทย 2552

รอบชิงชนะเลิศ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง