แนวโน้มการพัฒนาการวิจัยวิทย์ฯ ในระดับอุดมศึกษาของรัฐ

ศุกร์ ๐๙ กันยายน ๒๐๐๕ ๑๖:๐๖
กรุงเทพฯ--9 ก.ย.--สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยฯ
ทีมวิจัย เพื่อคาดการณ์สถานภาพการวิจัย ด้านวิทยาศาสตร์กายภาพและชีวภาพในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
รศ.ดร. สุพจน์ หารหนองบัว อุปนายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยฯ หัวหน้าโครงการ “การวิจัยเพื่อคาดการณ์สถานภาพการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์กายภาพและชีวภาพในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ” กล่าวว่างานวิจัยที่ทำนี้เกิดขึ้นจากความร่วมมือของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)และมูลนิธิบัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (บวท.) ได้จัดให้มีโครงการวิจัยนี้ขึ้น โดยจะมีการศึกษาสภาพความเป็นจริงในการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยของรัฐแต่ละแห่ง พร้อมทั้งได้ลงพื้นที่ไปศึกษาข้อมูลเข้าพบและสัมภาษณ์คณะผู้บริหารของมหาวิทยาลัยและนักวิจัยของแต่ละสถาบัน และได้แวะเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการการวิจัยและศูนย์เครื่องมือต่างๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์ศักยภาพของแต่ละมหาวิทยาลัย ว่ามีความโดดเด่นในเรื่องใดบ้าง มีนโยบายและแนวโน้มทิศทางการวิจัยเป็นอย่างไร อีกทั้งยังทำให้รับทราบปัญหาและสถานภาพการบริหารจัดการและความพร้อมด้านบุคลากรต่าง ๆ ที่สามารถนำมาเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาและกำหนดแนวทางที่เหมาะสมต่อไป
ทีมงานวิจัยได้รับเกียรติจากอาจารย์มหาวิทยาลัยของรัฐหลากหลายสถาบัน แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มวิทยาศาสตร์กายภาพ ได้แก่ รศ.ดร.สุพจน์ หารหนองบัว,รศ. ดร.เกตุ กรุดพันธุ์ , ดร.วันชัย ดีเอกนามกูล , ดร.วัชรพงษ์ อนันต์ชื่น , ผศ.ดร.ธีรเกียรติ เกิดเจริญ กลุ่มสาขาชีววิทยา ได้แก่ ดร.ประนอม จันทรโณทัย , ดร.สมโภชน์ ศรีโกสามาตร ,ดร.สมศักดิ์ ปัญหา กลุ่มชีวการแพทย์ ได้แก่ ผศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล , ดร.นพ.อภิวัฒน์ มุทิรางกูร , ดร.วัชระ กสิณฤกษ์ กลุ่มชีวเคมี ได้แก่ ดร.อรัญ อินเจริญศักดิ์ , ดร.จิระพันธ์ กรึงไกร, ดร.สุมาลี ตั้งประดับกุลกลุ่มชีวเกษตร ได้แก่ ดร.ประสาทพร สมิตะมาน,ดร.พงษ์เทพ อัครธนกุล ,ดร.ปิยะดา ธีระกุลพิศุทธิ์
นอกจากนี้ ยังมีผู้ช่วยนักวิจัยอีก 7 ท่าน คือ นางรุ่งนภา ทัดท่าทราย , น.ส.อัจฉรา วิจิตรโกสุม ,นายธีรสิทธิ์ เติมสายทอง ,นายธงชัย กูบโคกกรวด,นายวีรพงษ์ ประสงค์จีน, นายจีรศักดิ์ สุจริตและ
น.ส.ผ่องพรรณ ประสารกก จากการที่คณะวิจัยของโครงการฯ ได้ออกตระเวนไปเยี่ยมเยียนและเก็บข้อมูล ณ มหาวิทยาลัย 7 แห่งแรก ซึ่งได้แก่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาเชียงใหม่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (หาดใหญ่) นั้นพบว่ามหาวิทยาลัยแต่ละแห่งต่างมีพลวัตและความเปลี่ยนแปลงไปพอควรเมื่อเปรียบเทียบกับที่ โครงการวิจัยนำร่องการคาดการณ์สถานภาพการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์กายภาพของคณะวิทยาศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยของรัฐ 8 แห่ง ที่ สกว. และ บวท. เคยทำไว้ก่อนหน้านี้ 2 ปี สำหรับโครงการวิจัยฯ ครั้งนี้ คณะวิจัยต้องพบกับความประทับใจในความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหลายๆด้าน
หากมองกันอย่างพินิจพิเคราะห์พบว่ามหาวิทยาลัย หลายแห่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีพลวัตสูงสุด แต่ก็มีอีกหลายองค์ประกอบในบางแห่งที่จะต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น และมีความเหมาะสมกับสภาวการณ์ที่เป็นอยู่ ซึ่งอาจจะทำให้ได้โมเดลต้นแบบของมหาวิทยาลัยที่มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพในการสร้าง และพัฒนาคนให้มีปณิธานสูงในการปรับตัวไปอยู่ในตำแหน่งที่แข่งขันได้ในอนาคต อันจะนำไปสู่ก้าวใหม่ในการพัฒนามหาวิทยาลัยของรัฐจะทำให้ “การเข้าใจตัวเอง”(Self Awareness) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างชัดแจ้งในองค์กรตั้งแต่ระดับบริหารถึงคณาจารย์มหาวิทยาลัย ที่ตั้งใจจะไปสู่มหาวิทยาลัยวิจัย แต่รู้ว่าภาระงานการสอนยังเป็นอุปสรรค จึงพยายามหาทางแก้ไขจุดอ่อนเหล่านั้น อาทิ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีแนวทางหนึ่งที่ถือเป็นนวัตกรรม คือ การจัดระบบ track ให้บุคลากรจำนวน 4 เส้นทาง ได้แก่ (1) เส้นทางวิจัย (2) เส้นทางการสอน (3) เส้นทางบริการ เช่น แพทย์คลินิก (4) เส้นทางบริหาร โดยบุคลากรสามารถเลือก “เอาดี” ในเส้นทางที่ตนเองถนัด ทำให้น้ำหนักเน้นในภาระงานสามารถที่จะปรับได้ตามความสามารถสูงสุด
อีกทั้ง ยังก่อให้เกิด“พันธสัญญาแห่งตนเอง” (Self Commitment) อันเป็นสัญญาณที่ทำให้ทีมวิจัยเชื่อมั่นว่ามหาวิทยาลัยของรัฐจะดำรงปณิธานในการไปสู่มหาวิทยาลัยวิจัยได้จริง เสมือนเป็นคำสัญญาของมหาวิทยาลัยและประชาคมว่าจะต้องไปสู่มหาวิทยาลัยวิจัยให้ได้ และมีแนวทางการลงทุนวิจัยให้กับโครงการที่ได้คัดสรรแล้ว แทนที่จะกระจายให้กับทุกโครงการที่ขอมาดังเช่นในอดีตที่ผ่านมา
กลยุทธ์สำคัญอันหนึ่งที่จะทำให้การดำเนินงานของมหาวิทยาลัยบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายคือ
“การสื่อสารในองค์กร” (Self Communication) ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญเมื่อมหาวิทยาลัยกำหนดนโยบายในการเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแล้วก็ได้พยายามสื่อสารหรือส่ง message มายังผู้ปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
เป็นที่น่าประทับใจว่าบุคลากรของมหาวิทยาลัยของรัฐหลายแห่ง มีทัศนคติที่มีรูปแบบของนักปีนเขา คือรู้ว่าตนเองอยู่อันดับใด และพยายามมองไปข้างหน้าเพื่อการพัฒนาให้ตนเองดีขึ้น สิ่งที่คณะวิจัยสังเกตเห็นก็คือ เมื่อฝ่ายบริหารกำหนดนโยบายเชิงรุกแล้ว ก็จะมีกระบวนการสื่อสารลงมาที่ฝ่ายปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง สิ่งนี้มักไม่ค่อยเกิดขึ้นในองค์กรของไทยเท่าใดนัก เพราะหากการโยนหินถามทางเกิดขึ้นไปในทิศทางที่ประชาคมต่อต้านแล้ว ผู้โยนหินมักจะไม่ค่อยกล้าเดินต่อไปในทิศทางที่ตั้งใจเท่าใดนัก แต่จะโยนหินไปเรื่อยๆ จนกระทั่ง เส้นทางที่จะก้าวเดินต่อไปนั้นค่อย ๆ ราบรื่นขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้การ “โยนหินบอกทาง” มาแทนที่วัฒนธรรมเดิมแบบ“โยนหินถามทาง”ของไทยเรา มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งพยายาม “มุ่งเน้น” (Focus) ในเรื่องที่เป็นจุดเด่นของตนเอง อาทิ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้วางตำแหน่งตนเอง เพื่อจะเป็นตักศิลาแห่งภาคอีสาน ปัญหาวิจัยเฉพาะหน้าคือ การแก้ปัญหาให้ชาวอีสาน โดยมหาวิทยาลัยได้ทำการคัดสรรปัญหาวิจัยที่เป็นเอกลักษณ์ของภูมิภาคแล้วส่งเสริมอย่างจริงจัง ทั้งนี้ได้จัดตั้งศูนย์แห่งความเป็นเลิศขึ้นแล้ว 15 แห่ง มีเงินลงให้ปีละ 4 ล้าน ต่อเนื่อง 5 ปี
อันที่จริงมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ไม่ได้มองเพียงการมุ่งเน้นในจุดเด่นของตน และทุ่มกับงานประยุกต์ท้องถิ่นเท่านั้น แต่ยังตระหนักในกระบวนทัศน์ใหม่ที่กำลังเกิดขึ้น นั่นคือการบรรจบกันของศาสตร์ต่าง ๆ
(Converging Sciences) อันนำไปสู่พรมแดนใหม่ เช่น นาโนเทคโนโลยี ทั้งนี้เป็นที่รู้กันว่ามหาวิทยาลัยแห่งนี้ได้พยายามอย่างหนักและต่อเนื่องเพื่อจะหลอมรวมการทำงานของอาจารย์จากหลาย ๆ คณะ อย่างเช่น คณะวิทยาศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อจัดตั้งศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มองเห็นว่ากำแพงวิชาการที่เคยกั้นไม่ให้คณาจารย์ที่อยู่คนละคณะ คนละภาควิชา ของที่นี่กำลังจะพังทลายลง ซึ่งขณะนี้มหาวิทยาลัยกำลังจัดสถานที่ใหม่ สภาพแวดล้อมใหม่ เพื่อฟูมฟักให้กลุ่มวิจัยจากหลายคณะเข้ามาทำงานด้วยกัน เมื่อปัจจัยหลายอย่างมาบรรจบกันได้อย่างลงตัว ก็หวังว่าอนาคตของมหาวิทยาลัยไทยจะโชติช่วงได้ในระดับสากล
เป้าหมายอันยาวไกล ที่เร้นลึกอยู่ในใจของบุคลากรระดับบริหารของมหาวิทยาลัย ก็คือ ทำอย่างไรให้มหาวิทยาลัยของไทยก้าวไปเป็น “มหาวิทยาลัยระดับโลก” (World-Class Universities) ซึ่งถือว่าเป็นกระแสที่มาแรงจริงๆในช่วงปฏิรูปอุดมศึกษาซึ่งถูกผลักดันโดยรัฐบาลนี้ ทำให้ดูออกจะขัดๆกับเป้าหมาย อย่างเช่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น เน้นเอกลักษณ์และจุดเด่นในการเป็นมหาวิทยาลัยของคนอีสาน เมื่อพิจารณาจากศูนย์แห่งความเป็นเลิศทั้ง 15 ศูนย์ที่จัดตั้งขึ้น พอจะเห็นความชัดเจนได้ว่า มหาวิทยาลัยได้เลือกสรรและเค้นเอาจุดเด่นของตนออกมาได้อย่างน่าชื่นชม เพราะโจทย์วิจัยที่เลือกก็เพื่อแก้ปัญหาให้ชาวอีสานอย่างแท้จริง แต่การจะไปสู่มหาวิทยาลัยอันดับโลกนั้นต้องคำนึงถึงความเป็นสากลเป็นสำคัญ นั่นคือจะต้องมีผลงานตีพิมพ์ระดับสากลออกมาให้ได้มากๆ หากพิจารณาจากชื่อศูนย์แห่งความเป็นเลิศจำนวน 15 แห่งที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ก็มีความเป็นไปได้น้อยที่ศูนย์เหล่านั้น จะสามารถผลักดันทั้งผลงานในแง่ของการประยุกต์สู่ชุมชนไปพร้อมๆกับการตีพิมพ์ในระดับสากลได้อย่างดีเลิศพร้อมๆ กันโดยง่าย
ดังนั้นในการสัมภาษณ์นักวิจัยในศูนย์แห่งความเป็นเลิศแห่งหนึ่ง ท่านได้ออกปากว่าเหนื่อยเหลือเกิน เพราะต้องทำงานทั้งการบริการความต้องการของจังหวัด ของชุมชน ในขณะเดียวกันก็ต้องผลิตผลงานตีพิมพ์ให้ผ่านการประเมินของมหาวิทยาลัยด้วย เส้นกราฟของมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาไปสู่มหาวิทยาลัยวิจัยอย่างแท้จริง จึงต้องการ “แรงบิด” ในด้านการบริหารค่อนข้างสูง เพื่อแก้ปมปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัฒนธรรมองค์กรแบบไทยๆที่หมักหมมมายาวนาน อันจะเป็นประเด็นสำคัญที่ฝ่ายบริหารทุกระดับจะต้องนำไปขบคิดกันต่อไป
สามารถคลิกดูภาพได้ที่ www.thaipr.net--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๑๗ MONEY EXPO 2024 BANGKOK โปรแรง กู้บ้าน 0% 3 เดือน สินเชื่อสีเขียว 1.11% เงินฝากดอกเบี้ยสูง 2.88%
๑๖:๒๒ InnovestX บุกตลาดกองทุน คัดกองแกร่ง Core Portfolio เพื่อผลตอบแทนระยะยาว ท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจโลก
๑๖:๔๗ กรมวิชาการเกษตรจัดงาน Thailand Best Coffee Beans ประกวดหาสุดยอดกาแฟไทย พร้อมยกระดับกาแฟไทยสู่เวทีโลก
๑๖:๑๑ บลจ.ไทยพาณิชย์ เปิดตัวกองทุน Senior Loan กองทุนแรกของไทย โอกาสลงทุนเสริมพอร์ตให้เติบโตกับ Private Credit ที่ซื้อ-ขายได้ทุกวัน(*) พร้อม IPO วันที่ 9 - 16 พ.ค.
๑๖:๕๑ ผู้บริหารเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ร่วมแสดงความยินดีเปิดตัว SPYxFAMILY POP UP STORE THAILAND ครั้งแรกในไทยกับป๊อปอัพ สโตร์แนวใหม่ ฟินกับครอบครัวสายลับสุดป่วน เข้าชมฟรี!! วันนี้-30
๑๖:๑๓ เฟสติวัลใหม่แกะกล่อง bondbond Music Mania เปิดไลน์อัปรวมศิลปินทั้ง International และ T-POP ไว้ในงานเดียว!
๑๖:๔๗ กลุ่มเซ็นทรัล ขับเคลื่อนโลกศิลปะ ส่งเสริมศิลปินในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชวนดื่มด่ำงานศิลป์หลากแขนงจากทั่วโลกในงาน เวนิส เบียนนาเล่ 2024
๑๕:๑๖ DIPROMพร้อมพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมเป้าหมาย กิจกรรมพัฒนาผลิตภาพสำหรับธุรกิจเกษตรแปรรูปเป้าหมาย (พืชเศรษฐกิจและผลไม้) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
๑๕:๒๐ SPU จับมือ สมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย MOU มุ่งพัฒนาทักษะนักศึกษาสู่ เจ้าของธุรกิจออนไลน์
๑๕:๒๓ เคทีซีแกร่งรับมาตรฐานสากลด้านความปลอดภัยของข้อมูลบัตรเครดิต (PCI DSS) เป็นสถาบันการเงินรายแรกในเอเชีย แปซิฟิก จากสถาบันมาตรฐานอังกฤษ