ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม พฤศจิกายน ยังทรงตัว เชื่อคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าพุ่งสูง เหตุปัจจัยหลายด้านหนุน

พฤหัส ๒๔ ธันวาคม ๒๐๐๙ ๑๑:๑๒
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทย (Thai Industries Sentiment Index: TISI) ในเดือนพฤศจิกายน 2552 ที่ได้จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,202 ตัวอย่าง ครอบคลุม 39 กลุ่มอุตสาหกรรมของสภาอุตสาหกรรมฯ ว่า ค่าดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 104.7 ปรับตัวขึ้นเล็กน้อยจากเดือนตุลาคม ที่ระดับ 104.3 โดยเป็นผลมาจากองค์ประกอบดัชนีด้านยอดคำสั่งซื้อ และต้นทุนประกอบการปรับตัวสูงขึ้น ความเชื่อมั่นที่ปรับตัวขึ้นเล็กน้อยหรืออาจกล่าวได้ว่าอยู่ในระดับทรงตัวจากเดือนก่อน มีปัจจัยที่สำคัญจากคำสั่งซื้อรวมที่ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งพบว่าองค์ประกอบด้านยอดคำสั่งซื้อฟื้นตัวต่อเนื่องนับแต่กันยายนที่ผ่านมา เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่ทำให้มีความต้องการซื้อสินค้ามากขึ้น และหากพิจารณาจากองค์ประกอบดัชนีด้านยอดขายรวมในเดือนพฤศจิกายนแล้วพบว่า ยอดขายรวมลดต่ำลง แต่มาจากยอดขายในประเทศเป็นสำคัญ ในขณะที่ยอดขายในต่างประเทศยังคงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ราคาน้ำมันขายปลีกทุกประเภทที่ทรงตัว ก็ทำให้ผู้ประกอบการสามารถบริหารต้นทุนได้ดีขึ้น ประกอบกับสถานการณ์ทางการเมืองปราศจากความรุนแรง ปัจจัยดังกล่าวเป็นปัจจัยที่มีผลต่อดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมในเดือนพฤศจิกายน 2552

สำหรับดัชนีคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 107.8 ในเดือนตุลาคม อยู่ที่ระดับ 118.3 ในเดือนพฤศจิกายน 2552 เนื่องจากผู้ประกอบการอุตสาหกรรมคาดการณ์ว่า ยอดขายรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการจะสูงขึ้น องค์ประกอบดังกล่าวทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวสูงขึ้น

ทั้งนี้ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมจำแนกตามขนาดของกิจการ พบว่าอุตสาหกรรมขนาดย่อม ปรับตัวลดลงเนื่องจากองค์ประกอบด้านยอดคำสั่งซื้อรวม ยอดขายรวมต่างปรับตัวลดลง การผลิตของอุตสาหกรรมขนาดย่อมส่วนใหญ่เพื่อจำหน่ายในประเทศ ซึ่งผู้บริโภคในประเทศยังมีความกังวลและระมัดระวังในการใช้จ่าย อุตสาหกรรมขนาดย่อมที่ค่าดัชนีปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมแกรนิตและหินอ่อน ,หลังคาและอุปกรณ์ และอุตสาหกรรมเคมี ส่วนอุตสาหกรรมขนาดกลางและอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ดัชนีองค์ประกอบด้านยอดคำสั่งซื้อรวมและยอดขายในต่างประเทศปรับตัวสูงขึ้น ทั้งที่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่มีการผลิตเพื่อส่งออก การที่ค่าดัชนีปรับตัวสูงขึ้นแสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจโลกในทิศทางที่ดีขึ้น อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมน้ำตาล, พลาสติก และปิโตรเคมี

ด้านดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมรายภูมิภาค พบว่า พบว่าดัชนีความเชื่อมั่นในภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคใต้ ปรับเพิ่มขึ้น โดยอุตสาหกรรมในภาคกลางที่ค่าดัชนีปรับเพิ่มขึ้นได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม, หนังและผลิตภัณฑ์หนัง, เซรามิก, เฟอร์นิเจอร์, เครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น ภาคเหนือค่าดัชนีปรับเพิ่มขึ้นได้แก่ อุตสาหกรรมก๊าซ, เยื่อและกระดาษ, หัตถอุตสาหกรรม, สมุนไพร และภาคใต้ที่ค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นได้แก่ อุตสาหกรรมไม้อัดไม้บางและวัสดุแผ่น , ก๊าซ และอาหาร ส่วนภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปรับตัวลดลง โดยภาคตะวันออก ค่าดัชนีปรับตัวลดลงได้แก่ อุตสาหกรรมเหล็ก, อุตสาหกรรมเครื่องประดับ, อุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ค่าดัชนีปรับลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ,หลังคาและอุปกรณ์ และยานยนต์

ด้านดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการจำแนกตามตลาดส่งออก (กลุ่มที่เน้นตลาดในประเทศ กับกลุ่มที่เน้นตลาดต่างประเทศ) พบว่า พบว่ากลุ่มที่เน้นตลาดในประเทศปรับเพิ่มขึ้นจาก103.2 อยู่ที่ระดับ 104.1 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นฯกลุ่มที่เน้นตลาดต่างประเทศปรับตัวลดลงโดยดัชนีความเชื่อมั่นปรับลดลงจาก 108.9 มาอยู่ที่ระดับ 107.3 ในเดือนนี้ โดยทั้งสองกลุ่มมีองค์ประกอบดัชนีด้านยอดขายในต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้น แต่ยอดขายในประเทศปรับตัวลดลง ส่วนดัชนีคาดการณ์กลุ่มอุตสาหกรรมที่เน้นตลาดในประเทศและเน้นต่างประเทศอยู่ที่ระดับ 116.9 และ 124.6 ตามลำดับ

สำหรับด?านสภาวะแวดล?อมในการดําเนินกิจการ พบว่า ผู้ประกอบการมีความกังวลในประเด็น สถานการณ์ทางการเมือง ผลกระทบจากราคาน้ำมัน และสภาวะเศรษฐกิจโลกลดลงจากเดือนตุลาคม แต่มีความกังวลในประเด็นของอัตราแลกเปลี่ยน และอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น โดยสถานการณ์ทางการเมืองเป็นปัจจัยที่ผู้ประกอบการกังวลมากที่สุดในเดือนนี้ เพราะยังคงมีแรงกดดันต่อสถานการณ์ทางการเมืองจากความขัดแย้งภายในและต่างประเทศซึ่งทำให้สถานการณ์ทางการเมืองไม่อยู่ในสภาวะปกติ ผู้ประกอบการจึงมีความกังวลในประเด็นดังกล่าวมาก

และข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการ ต่อภาครัฐในเดือนนี้ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีความเห็นสอดคล้องกันคือ ให้ภาครัฐช่วยสนับสนุนโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาฝีมือแรงงาน แก้ไขปัญหาทางการเมืองให้มีเสถียรภาพ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศ รวมถึงพิจารณาเรื่องการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล ดูแลข้อตกลง FTA ต่างๆ ให้อยู่ในสภาวะที่สามารถแข่งขันได้ และเร่งลงทุนตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่สองเพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัวต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๙ ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๑๗:๕๑ GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๑๗:๒๗ กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๑๗:๑๔ กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๑๗:๒๕ First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๑๗:๐๒ CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๑๗:๑๑ บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง
๑๗:๕๒ มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท เดินหน้า โครงการบ้านชื่นสุขสร้างสุขผู้สูงอายุ ตอกย้ำ ความกตัญญู
๑๗:๐๑ รีเล็กซ์ โซลูชันส์ เผยกลุ่มค้าปลีกและผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคยังไม่ใช้ศักยภาพของ AI มากนัก
๑๗:๔๓ กทม. บูรณาการหน่วยงานเร่งแก้ปัญหาเด็กเช็ดกระจก-ขายของริมถนน ใช้สหวิชาชีพแก้ปัญหารายครอบครัว