รศ.ดร.ชัยวิทย์ ศิลาวัชนาไนย ประกาศนำ สซ. เข้าสู่สากล พร้อมพัฒนางานวิจัยเคียงคู่สังคมทั้งภาครัฐ และเอกชน ในทุกภาคอุตสาหกรรม

จันทร์ ๐๘ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๐ ๑๔:๒๒
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ภายใต้การบริหารงานโดย รศ. ดร.ชัยวิทย์ ศิลาวัชนาไนย ประกาศก้าวสู่ความเป็นสากล ดึงนักวิจัยจากต่างประเทศเข้าร่วมงานวิจัยกับสถาบันฯ พร้อมพัฒนางานวิจัยเคียงคู่หน่วยงานจากภาคธุรกิจ ทั้งภาครัฐ และเอกชน ในทุกภาคอุตสาหกรรมไทย ตลอดจนเตรียมความพร้อมเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดประชุมวิชาการเทคโนโลยีซินโครตรอนระดับนานาชาติในปี 2554

รศ.ดร.ชัยวิทย์ ศิลาวัชนาไนย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดแถลงวิสัยทัศน์ในโอกาสเข้ารับตำแหน่งบริหาร สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ว่า ตามที่ตนได้รับความไว้วางใจให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบัน ตามมติคณะกรรมการบริหารสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน มีผลนับแต่วันที่ 11 มกราคม 2553 ที่ผ่านมานั้น การดำเนินงานของห้องปฏิบัติการแสงสยาม สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ได้ดำเนินตามพันธกิจ ที่มุ่งผลสัมฤทธิ์สู่ความเป็น “สถาบันวิจัยแห่งชาติ ที่มีศักยภาพในการดำเนินการ และส่งเสริมการวิจัย เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน” ภายใต้การกำกับนโยบายของคณะกรรมการบริหารสถาบันฯ ทุกชุดทั้งในอดีตถึงปัจจุบัน ต่างได้วางรากฐานที่เข้มแข็งในด้านวิชาการและบริหาร พร้อมทั้งการพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการเป็นห้องปฏิบัติการวิจัยให้เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ และพร้อมที่จะก้าวสู่ความเป็นมาตรฐานสากลได้อย่างสมภาคภูมิในประชาคมวิจัยโลก

พุทธศักราช 2553 การดำเนินนโยบายบริหารจากนี้ไป จะมุ่งพัฒนาและขับเคลื่อนสถาบันในฐานะองค์การมหาชน ที่มุ่งสู่ผลลัพธ์ของงาน สอดประสานในทุกภารกิจ ทั้งการวิจัยและพัฒนา การใช้ประโยชน์จากแสงซินโครตรอน การให้บริการแสงซินโครตรอน การส่งเสริมการถ่ายทอด การสร้างความตระหนักรู้ในเทคโนโลยีแสงซินโครตรอน ด้วยการประสานภารกิจ ร่วมคิด ร่วมทำ ของบุคลากรทุกระดับ โดยจะยึดมั่นในมาตรฐานจริยธรรมอันเป็นค่านิยมหลักของสถาบัน มุ่งผลลัพธ์ของงานที่ตอบสนองผู้มีส่วนได้เสียตั้งแต่ระดับท้องถิ่นถึงระดับประเทศ โดยจะร่วมกันการพัฒนา เสริมสร้างระบบบริหารงานให้ดียิ่งขึ้นตามหลักธรรมาภิบาล และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

รศ.ดร.ชัยวิทย์ กล่าวว่า “จากศักยภาพของเครื่องกำเนิดแสงสยามและกำลังบุคลากร ที่สามารถผลิตแสงซินโครตรอนให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง การพัฒนาและติดตั้งระบบลำเลียงแสงที่ตรงกับความต้องการของประชาคมวิจัยไทย เพิ่มขึ้นอีก 3 ระบบคือ ระบบลำเลียง Small Angle X-rays Scattering:SAXS เพื่อศึกษาโครงสร้างวัสดุในระดับนาโนเมตร เช่น โพลิเมอร์ หรือโปรตีน ระบบลำเลียง Photoelectron Emission Microscopy: PEEM เพื่อใช้ในการศึกษาพื้นผิวของวัสดุจากอิเล็กตรอนที่หลุดออกมาเมื่อแสงซินโครตรอนตกกระทบ

และระบบลำเลียงแสง X-ray Absorption spectroscopy/ ProteinCrystallo graphy เพื่อการศึกษาโครงสร้างของผลึกโปรตีน เป็นต้น การร่วมทุนสร้าง SUT-NANO-SLRI Beamline สำหรับงานวิจัยด้านนาโน รวมถึงความพร้อมถ่ายทอดวิศวกรรมย้อนรอยสู่ภาคเอกชน สถาบันฯ จะแสวงหาพันธมิตรทั้งภาควิชาการและอุตสาหกรรมให้มากยิ่งขึ้น พร้อมกับจะต้องแสดงบทบาทความเป็นเลิศในเวทีสากล โดยเพิ่มผลงานตีพิมพ์นานาชาติ และการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดประชุมวิชาการเทคโนโลยีซินโครตรอนระดับนานาชาติในปี 2554 ที่จะถึงนี้”

งานประชาสัมพันธ์ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน

โทรศัพท์ 0-4421-7040 ต่อ 252 โทรสาร 0-4421-7404 อีเมล : [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๐ เม.ย. COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๓๐ เม.ย. GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๓๐ เม.ย. PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๓๐ เม.ย. LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๓๐ เม.ย. ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๓๐ เม.ย. ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๓๐ เม.ย. LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๓๐ เม.ย. SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๓๐ เม.ย. STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๓๐ เม.ย. กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน