นิทรรศการข้ามพรมแดน Border Crossing

พฤหัส ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๐ ๑๑:๑๓
ภัณฑารักษ์: Wendy Grace Allen (นามสกุลเดิม Dawson)

ภัณฑารักษ์ร่วมในประเทศไทย: ดร.อภิชาติ พลประเสริฐ

ศิลปิน: Wendy Grace Allen (นามสกุลเดิม Dawson), ดร. อภิชาติ พลประเสริฐ และ Helen Stacey

ณ หอศิลปวิทยนิทรรศน์ ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ - 6 มีนาคม 2553

ข้อมูลโครงการโดยสังเขป

โครงการศิลปะ Border Crossing เป็นการศึกษาทดลองทางศิลปะเพื่อค้นหาแนวทางการทำงานร่วมกันของศิลปิน โดยที่แต่ละคนได้ทดลองทำงานร่วมกันด้วยกระบวนการคิดและการสร้างสรรค์ที่มีการทับซ้อนกันหลายชั้นบนผลงานที่พิมพ์ซ้ำจากผลงานของศิลปินคนอื่นภายในกลุ่ม ซึ่งเป็นการก้าวข้ามเขตแดนทางด้านภูมิศาสตร์และวัฒนธรรม ภายใต้แนวทางการทำงานเดียวกันนี้ ศิลปินสะท้อนประเด็นต่าง ๆ ในปัจจุบันที่เกี่ยวเนื่องกับการถือครองที่ดิน และ/หรือ การถวิลหาทัศนีภาพของชนบทที่สูญหายไป โดยแต่ละคนก็อ้างถึงบริบททางวัฒนธรรมที่ตนเองอาศัยอยู่ โครงการนี้มีผลสรุปรวบยอดเป็นนิทรรศการและการอบรมเชิงปฏิบัติการที่จะจัดขึ้นในหลาย ๆ ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก นิทรรศการปฐมฤกษ์จะจัดขึ้นที่หอศิลปวิทยนิทรรศน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สรุปแนวคิดและวิธีการทำงาน

- การทำงานศิลปะร่วมกันเชิงทดลองระหว่างศิลปินที่มาจากบริบททางวัฒนธรรมที่ต่างกัน

- การใช้วิธีการทำซ้ำทางศิลปะเป็นเครื่องมือของการทำงานร่วมกัน

- ประเด็นต่าง ๆ ที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศร่วมสมัยในการสื่อสารที่ก้าวข้ามช่องว่างทางภูมิศาสตร์และวัฒนธรรม

- การประสานงานทางความคิดเกี่ยวกับหัวข้องานโดยมีภูมิทัศน์วัฒนธรรมของศิลปินแต่ละคนเป็นกรอบ

- ความคิดเรื่องความเป็นต้นแบบ (Originality) การครอบครองกรรมสิทธิ์ ลิขสิทธิ์ และลักษณะของแท้ (Authenticity) ? การหาทางออกให้กับความขัดแย้งระหว่างอิสรภาพในการสร้างสรรค์ของศิลปินและการเคารพผลงานศิลปินคนอื่น

เป้าหมาย/วัตถุประสงค์

เป้าหมายของ The Border Crossing Art Project คือการทำงานทดลองระหว่างศิลปินซึ่งต่างคนต่างก็มาจากบริบททางวัฒนธรรมที่แตกต่างกันภายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยใช้เทคโนโลยีด้านดิจิตอลและการสื่อสารในปัจจุบันเพื่อขยายขอบเขตความเป็นไปได้ในเรื่องการทำงานเชิงสร้างสรรค์ จนนำมาซึ่งนิทรรศการและการสัมมนาเชิงปฏิบัติการที่จะจัดขึ้นในหลาย ๆ ประเทศ

ส่วนสำคัญของขั้นตอนการทำงานคือวิธีการที่ศิลปินสื่อสารข้ามความแตกต่างทางภูมิศาสตร์และวัฒนธรรม Border Crossing ตั้งคำถามว่า ประเด็นเรื่องการเผยแพร่ข้อมูล การทำภาพซ้ำ การครอบครองกรรมสิทธิ์ และกฎหมายลิขสิทธิ์ ถูกกำหนดขึ้นและนำไปปฏิบัติอย่างไร การนำงานศิลปะที่ทำถูกซ้ำขึ้นมาใช้ เป็นการท้าทายความคิดเรื่องความเป็นของแท้และความเป็นต้นแบบของงานศิลปะ โดยตั้งคำถามว่าใครที่เป็นเจ้าของที่แท้จริงและจะได้รับค่าตอบแทนจากผลงานที่สร้างขึ้นโดยศิลปินหลายคนที่ทำงานร่วมกัน ใช่ศิลปินคนแรกที่ลงมือผลิตงานหรือไม่ หรือจะเป็นศิลปินที่จ่ายค่าทำงานซ้ำ หรือคนที่ทำงานเป็นคนสุดท้าย

ต่างกับความสัมพันธ์ฉันอาจารย์และลูกศิษย์ ศิลปินทั้งสามคนได้รับความสำคัญเท่าเทียมกันในการสร้างงาน แม้ว่าศิลปินที่ทำงานเป็นคนสุดท้ายจะมีความรับผิดชอบและอิสรภาพในการทำให้งานสำเร็จออกมาทางใดทางหนึ่งมากที่สุด สิ่งสำคัญในขั้นตอนคือความเคารพและตระหนักถึงสไตล์การเขียนภาพที่แตกต่างของศิลปินคนอื่นและความจำเป็นในการปรับตัวให้เข้ากับงาน ศิลปินแต่ละคนมีอภิสิทธิ์ที่จะเลือกว่าองค์ประกอบใดของงานที่ตนจะเก็บไว้ และส่วนใดที่จะลบทิ้งหรือปรับเปลี่ยน หรือแม้แต่จะวาดภาพทับงานทั้งชิ้นเลยก็เป็นได้ ขั้นตอนนี้ท้าทายแนวคิดของ Modernism ที่อ้างว่าศิลปินเป็น “ฮีโร่ หรือ อัจฉริยะ” โดยที่ศิลปินไม่ได้เป็นผู้สร้างหรือเจ้าของผลงานแต่เพียงผู้เดียว ยิ่งกว่านั้น ด้วยความสามารถของเทคโนโลยีร่วมสมัยในการทำงานศิลปะซ้ำ ผลงานได้ถูกผลิตเพิ่มและสร้างสรรค์ต่อเติมโดยศิลปินคนต่อไป โดยยังสามารถตรวจสอบวิวัฒนาการของงานได้ คล้าย ๆ กับเป็นแผนภูมิลำดับญาติ

นอกเหนือจากแนวคิดที่เกี่ยวเนื่องกับขั้นตอนการสร้างงาน ศิลปินยังสะท้อนประเด็นต่าง ๆ ในปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับการถือครองที่ดิน และ/หรือการหวนคำถึงถึงทัศนียภาพชนบทที่หายไป โดยอ้างถึงบริบททางวัฒนธรรมเฉพาะถิ่นของศิลปิน

ผลลัพท์ที่ตั้งใจไว้ของนิทรรศการและการสัมมนาเชิงปฏิบัติการคือการนำเสนอผลงานที่ให้ผู้ชมเข้ามามีส่วนร่วมในบทสนทนาที่กินพื้นที่หลายประเทศ กระตุ้นการถกเถียงเรื่องความคิดและประเด็นต่าง ๆ ที่ได้นำเสนอในผลงาน ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างศิลปินที่มาจากพื้นฐานทางวัฒนธรรมที่ต่างกัน โดยผู้ชมสามารถแสดงความเห็นผ่าน http://thebordercrossingartproject.blogspot.com และใน Facebook เพื่อให้มีการโต้ตอบได้โดยตรงและร่วมพูดคุยอย่างต่อเนื่อง

แนวคิดและประวัติของศิลปินโดยย่อ

Wendy Grace Allen (นามสกุลเกิด Dawson)

เกิดที่ Palmerston North ประเทศนิวซีแลนด์ ปัจจุบันใช้ชีวิตและทำงานที่นิวซีแลนด์และที่จังหวัดปีนัง ประเทศมาเลย์เซีย

ใน The Border Crossing Art Project นี้ Wendy พูดถึงเรื่องการล่าอาณานิคม และการเป็นเจ้าของที่ดินในบริบทของประเทศนิวซีแลนด์ โดยพูดถึงความสัมพันธ์อย่างเหนียวแน่นของเธอที่มีต่อบ้านเกิด การโต้ตอบของ Wendy ต่อเรื่อง “ดินแดนและสถานที่” เกิดจากประสบการณ์การใช้ชีวิตในภูมิประเทศที่สวยงาม น่าตื่นตาตื่นใจ และคงความเป็นธรรมชาติของนิวซีแลนด์ และทัศนคติของชาวคริสต์ที่มีต่อพระเจ้าในฐานะผู้สร้างและความรับผิดชอบของมนุษย์ในฐานะผู้รักษาสิ่งที่พระเจ้าสร้างขึ้นมา

Wendy ได้พบกับนักเรียนปริญญาโทด้านทัศนศิลป์ร่วมชั้นในตอนนั้น Helen Stacey และ อภิชาติ พลประเสริฐ ที่ University of South Australia หลังจากเรียนจบ Wendy ได้อาศัยอยู่ในหลาย ๆ แห่งในประเทศนิวซีแลนด์และออสเตรเลีย สิงคโปร์ และประเทศไทย เธอเพิ่งเสร็จจากการเข้าร่วมโครงการศิลปินในพำนักที่ศูนย์ศิลป์ชนบทบ้านเป้า ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยที่ อภิชาติ พลประเสริฐ เป็นผู้จัดตั้งขึ้น และตอนนี้อาศัยและทำงานอยู่ในประเทศนิวซีแลนด์และที่ปีนัง ประเทศมาเลย์เซีย

อภิชาติ พลประเสริฐ

เกิดที่จังหวัดชัยภูมิ ปัจจุบันเป็นศิลปินและอาจารย์ ที่สาขาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ใน Border Crossing ผลงานของอภิชาติเป็นการผสมผสานความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมชนบทและวัฒนธรรมเมือง ประสบการณ์ที่ขัดแย้งกันจากการที่เกิดในครอบครัวเกษตรกรรมที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การย้ายมาอยู่กรุงเทพ และจากนั้นก็ย้ายไปที่ Adelaide ประเทศออสเตรเลีย และที่ Newcastle ประเทศอังกฤษ เพื่อที่จะเรียนต่อนั้น ทำให้เขาพัฒนาปรัชญาการทำงานศิลปะ ปรัชญาที่ว่านี้มีขึ้นและตอบสนองต่อความเกี่ยวเนื่องกันระหว่างสองสิ่งที่ตรงกันข้ามกัน (Binary) เช่น ความเป็นชนบทกับความเป็นเมือง เทคโนโลยีขั้นต่ำกับเทคโนโลยีขั้นสูง และความเป็นพื้นถิ่นกับความเป็นสากล

Helen Stacey

เกิดที่ Strathalbyn ทางใต้ของออสเตรเลีย เป็นอาจารย์สอนศิลปะระดับมัธยมศึกษาและผู้ประสานงานระหว่างปี 2527-2530 Master of Visual Arts 2540, Master of Visual Arts (Research) 2547 และเป็นศิลปินมา 22 ปี

ในความร่วมมือกันทำงานนิทรรศการครั้งนี้ Helen Stacey ทำงานเกี่ยวกับหัวข้อที่เธอใช้ในงานศิลปะมาตลอด ซึ่งก็คือ “ดินแดน” ในฐานะที่เป็นพื้นที่ที่ถูกเข้ายึดครอง แต่ก็ยังเป็นสถานที่ที่สวยงาม เต็มไปด้วยการเปรียบเปรยทางด้านจิตวิญญาณ และเป็นฉากสำหรับการมีส่วนร่วมต่างวัฒนธรรม ในการทำงานเธอพยายามที่จะพัฒนาความร่วมมือทางด้านทัศนศิลป์ในระดับชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างศิลปินและคนทั่วไปที่เป็นคนอะบอริจินและที่ไม่ใช่คนอะบอริจิน และในบริบทที่ใหญ่กว่านั้น เธอก็ตระหนักว่าศิลปะเป็นหนทางในการสร้างสัมพันธภาพที่ไม่เป็นไปในลักษณะคุกคาม

หอศิลปวิทยนิทรรศน์

ชั้น 7 สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพ 10330

โทรศัพท์: 0-2218-2965 โทรสาร: 0-2218-2907

อีเมล์: [email protected]

www.car.chula.ac.th/art

เปิดทำการ จันทร์-ศุกร์: 9.00-19.00 น. เสาร์: 9.00-16.00 น.

ปิดวันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๘:๕๗ ซีพีเอฟ-คอนเน็กซ์ อีดี ร่วมมอบโอกาสให้น้องๆ รร.บ้านพิชิตคเชนทร์ หนุนผลสัมฤทธิ์การเรียน
๐๘:๑๐ สดช. และ ทริส ขอเชิญชวนประชาชน ร่วมตอบแบบสำรวจการศึกษา
๐๘:๑๘ เขตเฉาหยางในกรุงปักกิ่งเป็นเจ้าภาพจัดเทศกาลวัฒนธรรมชานานาชาติ
๐๘:๒๓ เนคเทค สวทช. จัดรวมพลคน KidBright ครั้งที่ 5 ภายใต้แนวคิด Edge AI หนุน 'นักนวัตกร' เรียนรู้ตลอดชีวิต ขับเคลื่อนประเทศสู่ความยั่งยืน
๐๘:๔๔ วางศิลาฤกษ์สร้างโรงงานใหม่ บัลเดอร์ เทคโนโลยี
๐๘:๑๗ LINE ผนึก สสว. เดินหน้ากระจายความรู้ดิจิทัลทั่วไทย จัดสัมมนาโรดโชว์ครั้งยิ่งใหญ่ 'UPSKILL SME - ยอดขายโตทั่วไทยด้วยโซลูชั่นจาก
๒๐ พ.ค. บมจ. เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) คว้ารางวัล Top Growth Distributor FY23 Commercial
๒๐ พ.ค. นิเทศศาสตร์ SPU จัด UP SKILL FRESHY'67 อัดแน่นความรู้ ฝึกฝนทักษะ เตรียมพร้อมสู่อนาคตสื่อสาร
๒๐ พ.ค. โรงแรมม็อกซี่ แบงคอก ราชประสงค์ ต้อนรับเดือน Pride Month ขนทัพโปรโมชัน สนุกกับความอร่อยไม่ซ้ำใคร ตลอดเดือนมิถุนายนนี้
๒๐ พ.ค. มิน,อแมนด้า,เกรท,เชียร์ ร่วมฉลอง 20 ปี สุรีย์พร คลินิก ในงาน Volformer x Sureephorn clinic