ทช.รุกสะกัดปัญหาลักลอบชำแหละฉลามวาฬ

พฤหัส ๐๔ มีนาคม ๒๐๑๐ ๐๙:๓๙
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) พบการลักลอบชำแหละฉลามวาฬในพื้นที่บริเวณชุมชนปากคลองแกลง จ.ระยอง เร่งประสานกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นสืบหาผู้กระทำผิดและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด

นายภุชงค์ สฤษฎีชัยกุล ผู้อำนวยการศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1 (จ.ระยอง) สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เปิดเผยว่า เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ ได้รับแจ้งจากกลุ่มเครือข่ายอาสาสมัครรักษาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมชายฝั่งทะเลอ่าวไทย ในพื้นที่ชุมชนปากคลองแกลง ตำบลแกลง-กะเฉด อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ว่ามีการลักลอบชำแหละฉลามวาฬ จึงได้มอบหมายให้ชุดปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดระยองเข้าตรวจสอบการลักลอบชำแหละ ซึ่งจากการเข้าตรวจสอบพบว่า มีการชำแหละเนื้อฉลามวาฬจริงจำนวน 1 ตัว ความยาวประมาณ 3 — 4 เมตร จึงได้ประสานความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก จ.ระยอง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เพื่อนำซากของฉลามวาฬไปเก็บและตรวจสอบ

นายภุชงค์ กล่าวว่า พื้นที่ทางทะเลของจังหวัดระยอง โดยเฉพาะบริเวณอ่าวหาดแม่รำพึง อ่าวเพ และอ่าวหาดแหลมแม่พิมพ์ช่วงเดือนพฤศจิกายน — เดือนเมษายนของทุกปี จะพบฉลามวาฬขึ้นมาว่ายน้ำในบริเวณใกล้ฝั่งอยู่อย่างต่อเนื่อง และระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคมของทุกปีจะมีการปิดทะเลฝั่งอ่าวไทยเพื่อปล่อยให้สัตว์น้ำวางไข่ ซึ่งสัตว์ใหญ่ประเภทฉลามวาฬ วาฬ โลมา พะยูน เต่าทะเล จะเข้ามาอาศัยหากินจำนวนมาก เป็นเหตุให้เกิดการลักลอบล่าสัตว์เหล่านี้เพื่อการค้า เนื่องจากได้ราคาสูง

สำหรับกรณีการลักลอบจับฉลามวาฬมาชำแหละในครั้งนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าเพื่อนำไปจำหน่ายหรือเพื่อวัตถุประสงค์ใด เพราะลักษณะของชิ้นส่วนการชำแหละเป็นการเตรียมการเพื่อขนย้ายจากจุดที่พบ ซึ่งขณะนี้ ทช.ได้ประสานกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น โดยอยู่ระหว่างการดำเนินการสืบสวนหาข้อเท็จจริง หากพบว่ามีความผิดจะดำเนินการตามกฎหมาย คือจำคุก 4 ปี และปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อย่างไรก็ตาม ทช. ได้ประชาสัมพันธ์ให้กับกลุ่มเครือข่ายอนุรักษ์ในพื้นที่เป้าหมายช่วยกันเฝ้าระวังสอดส่อง คุ้มครอง ดูแล แจ้งเบาะแสการลักลอบนำฉลามวาฬมาชำแหละ รวมทั้งจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังบริเวณต่าง ๆ ที่เป็นจุดเสี่ยงในการลักลอบอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้กลุ่มเครือข่ายและอาสาสมัคร ฯ ยังให้ความรู้ คำแนะนำเบื้องต้นที่ถูกต้องเกี่ยวกับฉลามวาฬแก่นักท่องเที่ยวอีกด้วย

ฉลามวาฬถือเป็นสัตว์ทะเลหายาก ถูกจัดอยู่ในรายชื่อของสิ่งมีชีวิตที่ใกล้สูญพันธุ์ของโลกโดย IUCN (International Union for Conservation and Natural Resources) และอยู่ในบัญชีรายชื่อของสิ่งมีชีวิตที่ได้รับการคุ้มครองภายใต้อนุสัญญา CITES นับตั้งแต่ 15 พฤศจิกายน 2546 ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศภาคีที่ร่วมลงนามตามอนุสัญญา และในน่านน้ำทะเลไทย ฉลามวาฬถูกจัดให้เป็นสัตว์คุ้มครองตามประกาศของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงวันที่ 28 มีนาคม 2543 และเป็นสัตว์คุ้มครองตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า 2535 ซึ่งในประเทศไทยสามารถพบฉลามวาฬได้ทั้งทะเลฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน เช ่น บริเวณเกาะร้านเป็ด เกาะร้านไก่ กองหินโลซิน สิมิลัน เกาะบอน ริชลิว เป็นต้น

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กลุ่มสื่อสารองค์กร กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

120 หมู่ 3 ชั้น 5 อาคารรวมหน่วยราชการ (อาคารบี) ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550

ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210

โทรศัพท์ 0-2141-1299 โทรสาร 0-2143-9249

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๓๓ COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๑๘:๓๖ GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๑๘:๔๔ PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๑๘:๓๙ LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๑๘:๑๒ ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๑๘:๕๗ ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๑๘:๓๖ LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๑๘:๔๖ SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๑๘:๔๙ STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๑๘:๓๕ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน