แผนการพัฒนาฝูงบินของการบินไทย

ศุกร์ ๑๒ มีนาคม ๒๐๑๐ ๑๑:๔๑
วันนี้ (วันที่ 11 มีนาคม 2553 ) นายโชคชัย ปัญญายงค์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่สายกลยุทธ์และพัฒนาธุรกิจ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) บรรยายสรุปเรื่องแผนการพัฒนาฝูงบิน เพื่อสร้างความเข้าใจแก่สื่อมวลชน โดยมีนายปิยะสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมตอบข้อซักถามแก่ สื่อมวลชน

นายโชคชัย ปัญญายงค์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่สายกลยุทธ์และพัฒนาธุรกิจ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า แนวโน้มธุรกิจสายการบินจะเผชิญกับสภาวะการแข่งขันที่รุนแรงใน 5 ปีข้างหน้า ทุกสายการบินมุ่งเน้นพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อสนองความต้องการของลูกค้า นอกจากนี้การเปิดเสรีทางการบินภายในอาเซียนและในภูมิภาคต่างๆ จะส่งผลให้สภาวะการแข่งขันของธุรกิจการบินในภูมิภาครุนแรงขึ้น บริษัทฯ จึงได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์เพื่อกำหนดตำแหน่งทางกลยุทธ์ให้เหมาะสม จัดทำแผนการพัฒนา ฝูงบิน เพื่อปรับปรุงผลิตภัณฑ์บนเครื่องบินให้ทันสมัย รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพของฝูงบินให้สามารถแข่งขันได้

แผนพัฒนาเครือข่ายเส้นทางบิน เพื่อพัฒนาให้กรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางการบิน โดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในเส้นทางบินที่เหมาะสม รวมทั้งขยายเส้นทางบินสายรองภายในประเทศ ส่วนกลยุทธ์การพัฒนาฝูงบิน มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงและลดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อร่วมรักษาสิ่งแวดล้อม จัดสรรจำนวนเครื่องบินและกำลังการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการตลาด ควบคุมจำนวนแบบเครื่องบินให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และวางแผนการลดจำนวนแบบของเครื่องบินในระยะยาว

แผนพัฒนาฝูงบิน

บริษัทฯ ได้จัดทำแผนพัฒนาฝูงบินในระยะเวลา 10-15 ปี เพื่อให้ครอบคลุมการจัดหาเครื่องบินรุ่นใหม่ระหว่างปี 2553-2567 แบ่งออกเป็น 3 ช่วง

ช่วงปี 2553-2557 บริษัทฯ มีแผนปลดระวางเครื่องบินเก่าจำนวน 25 ลำ รับมอบเครื่องบินที่ได้รับการอนุมัติแล้ว 9 ลำ จัดหาเครื่องบินรุ่นที่จำหน่ายและใช้งานอยู่ในปัจจุบันเพื่อใช้งาน จำนวน 15 ลำ

ช่วงปี 2558-2562 บริษัทฯ มีแผนปลดระวางเครื่องบินเก่าจำนวน 32 ลำ และจัดหาเครื่องบินรุ่นใหม่เพื่อทดแทนการปลดระวางและรองรับการเจริญเติบโต ไม่น้อยกว่า 38 ลำ

ช่วงปี 2563-2567 บริษัทฯ มีแผนปลดระวางเครื่องบินเก่าจำนวน 20 ลำ และจัดหาเครื่องบินรุ่นใหม่เพื่อทดแทนการปลดระวางและรองรับการเจริญเติบโต ไม่น้อยกว่า 28 ลำ

โครงการจัดหาเครื่องบินปี 2553-2557

ประกอบด้วยการปลดระวางเครื่องบินที่มีอายุการใช้งาน ได้แก่ เครื่องบินโบอิ้ง 747-400 จำนวน 6 ลำ แอร์บัส เอ 300-600 จำนวน 10 ลำ แอร์บัส เอ 340-500 จำนวน 4 ลำ โบอิ้ง 737-400 จำนวน 3 ลำ และเอทีอาร์ 72 จำนวน 2 ลำ

แผนการรับมอบเครื่องบินที่ได้รับการอนุมัติแล้ว จำนวน 9 ลำ ประกอบด้วย เครื่องบิน แอร์บัส เอ 330-300 จำนวน 3 ลำ และเครื่องบิน แอร์บัส เอ 380-800 จำนวน 6 ลำ สำหรับการจัดหาเครื่องบินใหม่ ประกอบด้วย เครื่องบินภูมิภาค ความจุประมาณ 300 ที่นั่ง จำนวน 7 ลำ และเครื่องบินระหว่างทวีป ความจุประมาณ 350 ที่นั่ง จำนวน 8 ลำ รวม ทั้งสิ้น 15 ลำ

ฝูงบินที่จะรับมอบใหม่นี้ เครื่องบินระหว่างทวีปจะทำการบินไปยังโคเปนเฮเกน สตอกโฮล์ม ลอสแองเจลิส และออสโล ส่วนเครื่องบินภูมิภาคจะทำการบินไปยังเพิร์ท ดูไบ เซี่ยงไฮ้ ไทเป มุมไบ กัลกัตตา และบังกาลอร์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๔๒ เฮลท์สเคป (Healthscape)' นำร่องส่ง 'MADE BY SILVER' ชวนสัมผัสผลิตภัณฑ์เพื่อไลฟ์สไตล์สำหรับกลุ่มซิลเวอร์เจน 20 พ.ค. - 2 มิ.ย. 67 ณ ศูนย์การค้า ดิ เอ็ม
๑๔:๐๗ HENG เสนอขายหุ้นกู้ครั้งที่ 1/2567 จำนวน 2 ชุด อัตราดอกเบี้ยคงที่ 5.25% และ 5.50% เปิดจองซื้อ 23-24 และ 27 พ.ค. 67 เดินหน้าเสริมแกร่งธุรกิจ
๑๓:๑๕ กลุ่มบริษัทศรีตรัง ลุยติดตั้ง EV Charger ในโรงงานทั่วประเทศ สนับสนุนพนักงานใช้พลังงานสะอาด ร่วมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตอกย้ำจุดยืน Green Rubber
๑๓:๒๔ Bitkub Chain และ The Sandbox ร่วมยกระดับวงการ Metaverse ในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
๑๓:๔๗ AJA โชว์แกร่ง!! งบโค้งแรกพลิกมีกำไรพุ่งเกือบ 452% ชูกลยุทธ์ปี 67 กระจายลงทุนในธุรกิจหลากหลาย-สร้างฐานการเติบโตยั่งยืน
๑๓:๕๙ KJL โชว์นวัตกรรมในงาน SUBCON Thailand 2024 เพื่อตอบโจทย์อุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้า
๑๓:๐๑ ITEL อวดกำไร Q1/67 โต 113% กำไรสุทธิ 123 ล้านบาท ล่าสุด ก.ล.ต. ไฟเขียวนับหนึ่งไฟลิ่ง บ.ย่อย BLUE เรียบร้อยแล้ว
๑๓:๒๓ โอยิกะ ผู้นำด้านโซลูชั่นเทคโนโลยีแบตเตอรี่จากสิงคโปร์ ชูนวัตกรรมพลังงานสะอาด มุ่งขยายธุรกิจตู้สลับแบตเตอรี่สำหรับตลาดรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย
๑๓:๔๗ ดื่มด่ำกับรสชาติของเนื้อโกเบจากโอซาก้า ที่ห้องอาหารฮากิ เซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว
๑๓:๕๒ W9 เผยไทยเผชิญฝุ่นพิษล้อมเมืองติดอันดับโลก เปิด 5 กลุ่มเสี่ยงรับฝุ่นพิษ ภัยเงียบสะสม แนะวิธีรับมือเชิงเวลเนส