ตั้งเป้าปี 55 ใช้น้ำที่ผ่านการบำบัดเพิ่มเป็น 5% ของน้ำเสียที่บำบัดได้

จันทร์ ๒๖ เมษายน ๒๐๑๐ ๑๖:๓๐
กทม. เตรียมขอจัดสรรงบ 4.5 ล้าน ของปี 54 ศึกษาความเหมาะสมของการนำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดมาใช้ประโยชน์และปรับปรุงคุณภาพน้ำให้ใช้ประโยชน์ได้เพิ่มขึ้น ตั้งเป้าปี 55 เพิ่มปริมาณการใช้น้ำที่ผ่านการบำบัดเป็น 5% ของน้ำเสียที่บำบัดได้

นายถนอม อ่อนเกตุพล ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และโฆษกกรุงเทพมหานคร เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 10/2553 โดยมี ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผุ้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นประธานการประชุม ณ ห้องสุทัศน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) ว่ากรุงเทพมหานครมีนโยบายในการนำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้ว มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งปัจจุบันกรุงเทพมหานครมีโรงบำบัดน้ำเสียทั้งหมด 7 แห่ง ประกอบด้วย โรงควบคุมคุณภาพน้ำรัตนโกสินทร์ หนองแขม ทุ่งครุ จตุจักร ดินแดง สี่พระยา และช่องนนทรี สามารถบำบัดน้ำเสียได้วันละประมาณ 6 — 9.5 แสน ลบ.ม. จากปริมาณน้ำเสียที่มีสูงถึง 3 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน ค่า BOD อยู่ที่ 6 — 8 ไม่สามารถนำไปดื่ม ซักล้างหรือทำความสะอาดในครัวเรือนได้ซึ่งที่ผ่านมาส่วนใหญ่จะนำน้ำที่ผ่านการบำบัดไปใช้ไนโรงงาน และแจกจ่ายพื้นที่ใกล้เคียงใช้รดน้ำต้นไม้ ล้างทำความสะอาดถนนพื้นที่ต่างๆ

สำหรับปี 2552 กรุงเทพมหานคร นำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดไปใช้ประโยชน์คิดเป็นร้อยละ 4 ของปริมาณน้ำที่บำบัดได้ทั้งหมด โดยน้ำจากโรงควบคุมคุณภาพน้ำช่องนนทรีจ่ายลงสระน้ำที่สวนลุมพินี จากโรงควบคุมคุณภาพน้ำจตุจักรบริเวณถนนวิภาวดีรังสิตนำมาใช้ในสวนสาธารณะ รดเกาะกลางถนนวิภาวดีรังสิต และจุดจ่ายน้ำริมถนน จากโรงควบคุมคุณภาพน้ำดินแดงใช้ในระบบชักโครกอาคารใหม่ของ กทม.2

ทั้งนี้ ปี 2554 จะมีการขอจัดสรรงบประมาณ 4.5 ล้านบาท ในการศึกษาความเหมาะสมของการนำน้ำที่ผ่านการบำบัดกลับมาใช้ประโยชน์ โดยศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีในการปรับปรุงคุณภาพน้ำ ความคุ้มทุนทางเศรษฐศาสตร์และการประเมินความเสี่ยง การยอมรับของหน่วยงานและประชาชนผู้ใช้น้ำ เพื่อที่จะนำน้ำที่ผ่านการบำบัดมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด และตั้งเป้าเพิ่มการนำน้ำที่ผ่านการบำบัดมาใช้เป็นร้อยละ 5 ในปี 2555 ด้วยการเพิ่มจุดจ่ายน้ำและขยายการวางท่อส่งน้ำไปตามแหล่งน้ำที่ต้องการน้ำที่ผ่านการบำบัด และปรับปรุงคุณภาพน้ำให้ดีขึ้น ลดความเสี่ยงต่อผู้ใช้ นำไปใช้ในแหล่งอุตสาหกรรม พาณิชยกรรมอื่นๆ เพิ่มขึ้น

นอกจากนี้กรุงเทพมหานครได้ประสานไปยังการประปาเพื่อหาแนวทางลดภาระค่าใช้จ่ายในการบำบัดน้ำเสีย ในขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป ในอนาคตคาดว่าจะมีการจัดเก็บค่าบำบัดน้ำเสียจากประชาชน โดยจะมีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ และมีส่วนร่วมในการชำระค่าบำบัดน้ำเสียที่เกิดขึ้นจากครัวเรือน แต่จะไม่เป็นการผลักภาระให้ประชาชนทั้งหมดอย่างแน่นอน ซึ่งจะต้องมีการหารือแนวทางที่เหมาะสมต่อไป เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของกรุงเทพมหานครและประชาชนได้รับผลกระทบน้อยที่สุด

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๓๓ COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๑๘:๓๖ GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๑๘:๔๔ PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๑๘:๓๙ LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๑๘:๑๒ ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๑๘:๕๗ ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๑๘:๓๖ LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๑๘:๔๖ SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๑๘:๔๙ STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๑๘:๓๕ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน