ญี่ปุ่นยังมั่นใจประเทศไทยต่อสัญญาTCELSวิจัยพันธุกรรม

อังคาร ๐๔ พฤษภาคม ๒๐๑๐ ๑๓:๓๐
ยุ่นยังมั่นใจไทย มหาวิทยาลัยโตเกียวต่อสัญญา TCELS วิเคราะห์ยีนแพ้ยาของโรคทางกายและทางจิต ราชานุกูลเดินหน้าผลิตชุดทดสอบการใช้ยาต้านเศร้า หวังสกัดภาวการณ์ฆ่าตัวตายจากการใช้ยาไม่ได้ผล หลังพบคนไทยมีความเครียดสูงขึ้นจากสภาพปัญหาบ้านเมือง เผยหากสำเร็จแนะให้ตรวจยีนทั้งครอบครัวเพราะภาวะเครียดถ่ายทอดทางพันธุกรรม

นายกำจร พลางกูร ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย (TCELS) พร้อมด้วย น.พ.วีรยุทธ์ ประพันธ์พจน์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพันธุศาสตร์ สถาบันราชนุกูลภายใต้การสนับสนุนของ TCELS ได้เดินทางเข้าพบ ดร.นาโยกิ คามาตานิ ผู้อำนวยการศูนย์พันธุกรรมมนุษย์ Riken มหาวิทยาลัยโตเกียว เพื่อหารือถึงข้อตกลงความร่วมมือภายใต้โครงการเภสัชพันธุศาสตร์ ซึ่งได้มีความร่วมมือในการวิเคราะห์ยีนที่สัมพันธ์ต่อการเกิดโรคและยีนแพ้ยา อาทิ การวิเคราะห์ยีนของผู้ป่วยโรคเครียดรุนแรงหลังเกิดเหตุการณ์สะเทือนขวัญ (Postraumatic Stress Disorder หรือ PTSD ) การวิเคราะห์ยีนของผู้ป่วยแพ้ยาต้านไวรัสเอชไอวี ซึ่งได้ทำการค้นพบเป็นครั้งแรกของโลกถึงสองชนิดคือ เนวิราปิน กับสตาร์วูดีน

ภายหลังการหารือ นายกำจร กล่าวว่า การเจรจาเป็นไปด้วยดี โดยทาง Riken ยินดีต่อสัญญาโครงการเภสัชพันธ์ศาสตร์ต่อไปเพื่อทำการวิเคราะห์ยีนร่วมกัน นอกจากนี้ยังขยายผลไปถึงโครงการของสถาบันราชานุกูลที่จะทำการวิเคราะห์ยีนกับความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคเครียด เพื่อนำไปสู่การผลิตชุดทดสอบการใช้ยาต้านเศร้าต่อไป ทั้งนี้ทางสถาบันราชานุกูลได้มีผลการวิจัยไว้แล้ว และพบว่าคนไทยมีภาวะเครียดสูงขึ้นจากสภาพปัญหาทางการเมือง สังคมและเศรษฐกิจ ในปัจจุบัน และรุนแรงในรายที่มีความเครียดสูง และที่น่ากังวลคือถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งหากผลิตเป็นชุดทดสอบสามารถตรวจได้ว่า ใครที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง และยาที่ให้กับผู้ป่วยนั้นตรงกับยีนของเขาหรือไม่ เพราะถ้าไม่ตรงกับยีนก็จะทำให้การใช้ยาไม่มีผลในทางการรักษา ในรายของผู้ป่วยที่มีความเครียดสูง อาจถึงขั้นฆ่าตัวตายได้

นายกำจร กล่าวว่า นายนาโยกิ เองยอมรับว่าปัญหาการเมืองภายในประเทศมีผลต่อการตัดสินใจในหลายด้านในประเทศญี่ปุ่น แต่สำหรับสถาบันเองยังมั่นใจในศักยภาพของประเทศไทยและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในโครงการเภสัชพันธุศาสตร์ ที่มีความร่วมมือกันมาอย่างต่อเนื่อง และมีผลสำเร็จอย่างมากมายโดยเฉพาะการค้นพบยีนแพ้ยาต้านไวรัชเอชไอวีเป็นครั้งแรกของโลก และในส่วนของโครงการที่สถาบันราชานุกูล ได้ทำการหารือกันในครั้งนี้นั้น ถือเป็นโอกาสอันดีที่จะมีการวิเคราะห์ยีนร่วมกันอีก เนื่องจากในประเทศญี่ปุ่นเองประสบปัญหาเรื่องข้อกฎหมายต่าง ๆ มากมายเกี่ยวกับการหากลุ่มตัวอย่างในการทดสอบ โดยประเทศไทยมีความพร้อมในด้านนี้และทางสถาบันราชนุกูลเองก็มีศักยภาพในการดำเนินการ ซึ่งเขาก็ยินดีที่จะร่วมงานและจะลงนามความร่วมมือในโอกาสต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๓๓ COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๑๘:๓๖ GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๑๘:๔๔ PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๑๘:๓๙ LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๑๘:๑๒ ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๑๘:๕๗ ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๑๘:๓๖ LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๑๘:๔๖ SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๑๘:๔๙ STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๑๘:๓๕ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน