ครูสุดจิตต์ ดุริยประณีต ศิลปินแห่งชาติ เชิญชวนเยาวชนและประชาชนทั่วไป ร่วมประกวดร้อง-รำ-ทำเพลง เพื่อช่วยอนุรักษ์ดนตรีไทยให้ยืนยาวต่อไป

จันทร์ ๐๕ กรกฎาคม ๒๐๑๐ ๑๓:๕๒
เมื่อเร็วๆ นี้ มูลนิธิเกศอัมรินทร์และมูลนิธิดุริยประณีต ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) เปิดตัวโครงการประกวดร้อง-รำ-ทำเพลง "ตามหาเงาแม่สุดจิตต์ ดุริยประณีต (ศิลปินแห่งชาติ)" เพื่อส่งเสริมความสามารถของคนรุ่นใหม่ และสร้างความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมไทย โดยแรงบันดาลใจจากแม่สุดจิตต์ ดุริยประณีต ศิลปินแห่งชาติ บรมครูสายดนตรีไทย

นายพรหมฤทธิรงค์ มหัพพล กรรมการผู้จัดการ บจ.อาร์ตแอนด์คัลเจอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวถึงที่มาของโครงการประกวดศิลปะการแสดงและดนตรีไทย (ร้อง-รำ-ทำเพลง) "ตามหาเงาแม่สุดจิตต์ ดุริยประณีต ศิลปินแห่งชาติ" ว่า “แม่สุดจิตต์ ดุริยประณีต เป็นปูชนียบุคคลของแวดวงดนตรีไทย ท่านมีความสามารถขับร้องเพลงไทยได้ทุกเพลง เล่นเครื่องดนตรีไทยได้ทุกชิ้น จนได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติด้านคีตศิลป์และนาฏศิลป์ไทย ประเทศไทยจึงควรจะส่งเสริมบุคคลที่มากความสามารถดังเช่นแม่สุดจิตต์ เพื่อส่งเสริมการสืบทอดศิลปะการแสดงและดนตรีไทยให้คงอยู่กับสังคมวัฒนธรรมไทย จึงเป็นที่มาของโครงการนี้ เพื่อค้นหาผู้ที่มีความเพียบพร้อมทั้งดนตรี คีตศิลป์ และนาฏศิลป์ ขณะเดียวกันก็มีคุณธรรมจริยธรรมดังเช่นแม่สุดจิตต์ ดุริยประณีต ซึ่งเป็นที่เคารพรักของคนทุกเพศทุกวัย”

ครูสุดจิตต์ ดุริยประณีต ศิลปินแห่งชาติวัยเกือบ 83 ปี เปิดเผยความรู้สึกว่า “ ดีใจมากและชื่นใจที่ได้ทำในสิ่งที่รัก และมีหลายหน่วยงานให้ความสำคัญกับการส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรมไทย โดยการจัดโครงการประกวดศิลปะการแสดงและดนตรีไทย เพื่อช่วยขยายพื้นที่การแสดงออกให้บุคลากรในวงการนี้

ชีวิตครูอยู่กับวงการศิลปะการแสดงมาตั้งแต่เกิด มองเห็นการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อความยั่งยืนของศิลปะการแสดงไทย คนรุ่นใหม่สนใจศิลปะหลากหลาย ทำให้พื้นที่ดนตรีไทยลดน้อยลงโดยปริยาย”

"ชีวิตครูจึงพยายามรักษาและส่งเสริมการขยายดนตรีไทยสู่คนรุ่นใหม่เท่าที่จะทำได้ แต่ศักยภาพของครูมีจำกัด บ้านดุริยประณีตพื้นที่จำกัดไม่กว้างขวาง รองรับได้บางส่วน ปัจจุบันเปิดสอนวันละ 3 รอบ คือรอบเช้าสำหรับเด็กเล็ก รอบบ่ายโตขึ้นมาหน่อยเป็นเด็กประถม ส่วนรอบเย็นเหมาะกับนักศึกษาที่เล่นได้เก่งแล้ว การที่หหลายหน่วยงานมาช่วยกันทำให้คนรู้จักศิลปวัฒนธรรมไทยมากขึ้นซึ่งเป็นเรื่องที่ดี" ครูสุดจิตต์กล่าวเพิ่มเติม

สำหรับโครงการประกวดครั้งนี้ จะช่วยเพิ่มพื้นที่ในการแสดงความสามารถสำหรับคนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถด้านการร้อง-รำ-ทำเพลง แต่ก็ยากเหมือนกันที่คนคนหนึ่งจะทำได้ทั้ง 3 อย่าง ถ้าผู้เข้าประกวดมีความสามารถจริงจะเจริญรอยตามแม่ได้ และจะถือเป็นการค้นหาเพชรเม็ดงามในวงการศิลปะอีกด้วย

คุณสมบัติของผู้เข้าประกวด เล่นดนตรีเก่ง รำสวย ร้องเพลงเสียงไพเราะ ไม่ผิดเพี้ยน ต้องโดดเด่นทั้ง 3 อย่างถึงจะได้รับรางวัล การประกวดครั้งนี้จะช่วยพัฒนาวงการ เพราะตามสถาบันมีการเรียนการสอนดนตรีไทย คนรุ่นใหม่ที่เก่งจริงๆ จะสามารถก้าวเข้ามาเป็นดาวเด่นในวงการ และอาจจะเติบโตไปเป็นศิลปินแห่งชาติอย่างที่แม่ได้รับการยกย่องก็ได้ แต่จะเก่งดนตรีไทยได้อยู่ที่ขยันฝึกซ้อมนะ" ศิลปินแห่งชาติกล่าว พร้อมเชิญชวนเยาวชนคนรุ่นใหม่และประชาชนที่มีความสามารถด้านดนตรีไทยเข้าร่วมประกวด ไม่ใช่เพื่อเงินรางวัล แต่เพื่อช่วยอนุรักษ์ดนตรีไทยให้ยืนยาวต่อไปในโลกใบนี้

สำหรับหลักเกณฑ์การประกวด ผู้เข้าประกวดต้องมีความสามารถครบถ้วนทั้ง 3 ประเภท ได้แก่ การขับร้องเพลงไทย (คีตศิลป์) จะต้องเลือกเพลงจากตัวอย่างเพลงที่กำหนด (เพลงพระราชนิพนธ์ 1 เพลง และเพลงจากชุดเพลงหวานตำนานรัก 1 เพลง) ซึ่งควรเลือกเพลงที่มีระดับเสียงที่เหมาะสมกับผู้ประกวดเอง

การแสดงรำไทย (นาฏศิลป์) ผู้เข้าประกวดสามารถเลือกการแสดงรำไทยตามความเหมาะสม โดยมีความยาวไม่เกิน 5 นาที และการแสดงดนตรีไทย (ดุริยางคศิลป์) จะเลือกบรรเลงโดยใช้เครื่องดนตรีไทยชนิดใดก็ได้ แต่ต้องเลือกบรรเลงเพลง 1 เพลงจากเพลงบังคับ ดังต่อไปนี้ ประเภทประชาชน เพลงสุรินทราหู นกขมิ้น สารถี ลาวแพน สุดสงวน พญาโศก กราวใน ประเภทเยาวชน เพลงเขมรโพธิสัตย์ 3 ชั้น แสนเสนาะ 3 ชั้น แสนสุดสวาท 3 ชั้น เทพนิมิตร 3 ชั้น และปลาทอง 3 ชั้น การประกวดแบ่งเป็นระดับเยาวชน อายุ 15-25 ปีและระดับประชาชนอายุ 25 ปีขึ้นไป

ผู้ประกวดต้องบันทึกภาพและเสียงผลงานการแสดงที่จะส่งเข้าประกวดทั้งหมดลงในวีซีดีหรือดีวีดี แล้วส่งผลงานประกวดมาที่บ้านดุริยประณีต 83 ถนนลำพู (สามเสน 1) แขวงสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 หมดเขตส่งผลงานภายในวันที่ 15 กรกฎาคม 2553 กรณีส่งทางไปรษณีย์จะยึดตราประทับเป็นสำคัญ การประกวดมีค่าธรรมเนียมการสมัคร 300 บาท จะได้รับใบสมัครพร้อมซีดีรวม 2 แผ่น(ตัวอย่างเพลงพระราชนิพนธ์ และเพลงหวานตำนานรัก) โดยจะประกาศผลผู้ผ่านรอบแรกในวันที่ 20 กรกฎาคมศกนี้ และประกวดรอบสองที่สวนสันติไชยปราการ ในวันที่ 24-25 กรกฎาคมนี้

รางวัลการประกวดมีดังนี้ ระดับประชาชน รางวัลชนะเลิศเป็นเงินสด 100,000 บาท รองอันดับ 2 เงินสด 30,000 บาท รางวัลชมเชยรวม 3 รางวัล รางวัลละ 10,000 บาท ระดับเยาวชน รางวัลชนะเลิศเป็นเงินสด 50,000 บาท รองอันดับ 1 เงินสด 30,000 บาท รองอันดับ 2 เงินสด 10,000 บาท รางวัลชมเชยรวม 3 รางวัล รางวัลละ 5,000 บาท โดยรอบชิงชนะเลิศผู้เข้าประกวดที่ผ่านคัดเลือกแต่ละประเภท จะแสดงความสามารถต่อหน้าคณะกรรมการและผู้ชมระหว่างวันที่ 4-7 สิงหาคม 2553 ในงานมหกรรมศิลปะการแสดงและดนตรีไทยนานาชาติ ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 0-2282-1006 หรือดาวน์โหลดใบสมัคร ที่ www.artandcultureinter.com

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๐ เม.ย. COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๓๐ เม.ย. GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๓๐ เม.ย. PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๓๐ เม.ย. LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๓๐ เม.ย. ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๓๐ เม.ย. ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๓๐ เม.ย. LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๓๐ เม.ย. SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๓๐ เม.ย. STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๓๐ เม.ย. กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน