บรรหาร และ ชุมพล เร่งงานสร้างศูนย์ประชุมนานาชาติ ให้เสร็จ เปิดทันปลายปี 54

ศุกร์ ๐๙ กรกฎาคม ๒๐๑๐ ๑๖:๒๓
นายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และนายชุมพล ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา(รมว.กก.) เป็นประธานในการตรวจเยี่ยมโครงการก่อสร้างศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมกับนายยุทธพล อังกินันท์ เลขานุการ รมว.กก. นายสมบัติ คุรุพันธ์ รักษารองปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา คณะกรรมการตรวจการจัดจ้าง และผู้บริหารของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ณ สถานที่ก่อสร้างศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเชียงใหม่ ถนนเลียบคลองชลประทาน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ในวันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม 2553

นายชุมพล ศิลปอาชา เปิดเผยว่า กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้ลงนามสัญญาจ้างกิจการร่วมค้า อีเอ็มซีและเพาเวอร์ไลน์ ทำการก่อสร้าง ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ จังหวัดเชียงใหม่ เริ่มสัญญาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2552 และสิ้นสุดสัญญาวันที่ 30 กันยายน 2554 กำหนดแล้วเสร็จ ภายใน 730 วัน โดยศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาตินี้ มีเนื้อที่ 326 ไร่ วงเงินการก่อสร้างรวมทั้งสิ้น 1,867,150,000 บาท โดยแบ่งเป็นงานภายนอกอาคาร วงเงิน 457,451,750 บาท งานอาคารศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ จังหวัดเชียงใหม่ วงเงิน 1,112,821,400 และงานสร้างศูนย์สิ่งเสริมการพัฒนาและกระจายสินค้าวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ วงเงิน 296,876,850 บาท

โดยมี บริษัท เอเชีย คอนสตรัคชั่น เป็นผู้ควบคุมงานก่อสร้าง ในวงเงินทั้งสิ้น 21,118,830.80 บาท มีค่าควบคุมงานในปี 2553 แบ่งจ่ายจำนวน 4 งวด จำนวนเงิน 4,768768.20 บาท(ยังไม่มีการเบิกจ่าย) และปีพ.ศ. 2554 ค่าคุมงานก่อสร้าง จำนวน 12 งวด เป็นเงิน 16,350,062.60 บาท สำหรับการเบิกจ่ายเงินค่าก่อสร้าง มีการเบิกจ่ายไปแล้ว 409,418,316.25 บาท และยังคงเหลือเงินที่ไม่ได้เบิกจ่ายเป็นเงิน 1,457,730,683.75 บาท โดยการก่อสร้างขณะนี้มีความคืบหน้าไปแล้ว ในภาพรวมประมาณ15-20% เนื่องจากในช่วงแรกของการก่อสร้างเป็นงานฐานรากต้องใช้เวลาค่อนมาก หลังจากนั้นการก่อสร้างจะเปลี่ยนโฉมอย่างรวดเร็วขึ้น โดยมีระยะเวลาดำเนินก่อสร้างตามสัญญาที่เหลืออีก ประมาณ 446 วัน( 1 ปี 2 เดือน 21 วัน) ก็จะถึงกำหนดส่งมอบงาน จากสัญญาที่กำหนดไว้ 730 วัน

ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นศูนย์ประชุมนานาชาติของรัฐบาล ในส่วนภูมิภาคแห่งแรกของไทย ที่ดำเนินการโดยรัฐบาลไทย โดยการก่อสร้างศูนย์ประชุมดังกล่าวจะสนับสนุนให้เชียงใหม่ เป็นเมืองศูนย์กลางการประชุมนานาชาติระดับภูมิภาค รองรับนักท่องเที่ยวคุณภาพ ก่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพิ่มมูลค่าและคุณค่าสินค้าการท่องเที่ยวของเชียงใหม่ สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมอุตสาหกรรมการจัดการประชุมในระดับนานาชาติ และเป็นกลไกในการเพิ่มศักยภาพให้ไทย ในการรองรับตลาดตลาดการประชุมและแสดงสินค้า(MICE - Meeting, Incentive, Convention, Exhibition) โดยศูนย์ประชุมดังกล่าวสามารถรองรับคนได้มากกว่า 10,000 คน ซึ่งจะมีห้องประชุมใหญ่ รองรับคนได้กว่า 3,000 คน ห้องประชุมเล็ก/ย่อยต่างๆ รองรับคนได้กว่า 3,000 คน ศูนย์/ห้องอาหาร รองรับคนได้กว่า 2,000 คน และพื้นที่จอดรถ รองรับได้กว่า 3,000 คัน และมีพื้นที่ใช้สอยต่างๆ ไม่ว่าสระน้ำ/อ่างเก็บน้ำ สำนักงาน ร้านค้า ของที่ระลึก นิทรรศการ ธนาคาร ไปรษณีย์ ขนส่ง บริษัททัวร์ หน่วยงานราชการลักษณะบริการแบบเบ็ดเสร็จ และอื่นๆ ในการรองรับธุรกิจตลาดการประชุมและแสดงสินค้าไมซ์(MICE) จำนวนทั้งสิ้นกว่า 326 ไร่ อีกทั้งมีบริเวณโดยรอบและใกล้เคียงที่จะสามารถสนับสนุนธุรกิจไมซ์ได้

นอกจากนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้กล่าวปิดท้ายว่า กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จะผลักดัน เร่งรัด ติดตามการก่อสร้างเป็นระยะ อย่างต่อเนื่อง เพื่อพี่น้องชาวเชียงใหม่ ภาคธุรกิจไมซ์ และอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ที่ต้องการการฟื้นฟู ความเชื่อมั่น การเติบโต และการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับนานาชาติ ตลอดจนจะพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องจากการก่อสร้างศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเชียงใหม่ และแผนการลงทุน หรือการตลาดของศูนย์ประชุมนานาชาติเชียงใหม่ โดยอาจจะให้มีการบริหารจัดการคล้ายกับศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิต์ หรือมีการควบคุมโดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และหรือหน่วยงานของรัฐร่วมกับเอกชนที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนี้ ซึ่งจะต้องสรุปผลอย่างชัดเจน ในแง่ความเป็นไป ผลได้ผลเสีย และประโยชน์ที่ได้รับอย่างรอบคอบ ทั้งจะต้องทำควบคู่กันไป หากการก่อสร้างดำเนินงานมาถึงประมาณ 50 % น่าจะสรุปผลที่ดี และคุ้มค่าได้ ทั้งทั้งนั้นเพื่อที่จะสามารถรองรับการดำเนินงานเต็มรูปแบบในอนาคตนี้ อันจะทำให้ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นไมซ์เพลส(MICE Place) เป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพ และบรรลุเป้าหมายของรัฐบาล ในการพัฒนาการท่องเที่ยวไทย ไปสู่ระดับนานาชาติ(World Class Destination) โดยปลายปี 2554 มั่นใจว่า ชาวเชียงใหม่ และนักท่องเที่ยว จะต้องได้ยลโฉม ชมความอลังการ และใช้บริการของศูนย์ประชุมฯ ควบคู่ ศูนย์เอสเอ็มอี(SMEs)แห่งนี้แน่นอน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๑ พ.ค. เฮลท์สเคป (Healthscape)' นำร่องส่ง 'MADE BY SILVER' ชวนสัมผัสผลิตภัณฑ์เพื่อไลฟ์สไตล์สำหรับกลุ่มซิลเวอร์เจน 20 พ.ค. - 2 มิ.ย. 67 ณ ศูนย์การค้า ดิ เอ็ม
๒๑ พ.ค. HENG เสนอขายหุ้นกู้ครั้งที่ 1/2567 จำนวน 2 ชุด อัตราดอกเบี้ยคงที่ 5.25% และ 5.50% เปิดจองซื้อ 23-24 และ 27 พ.ค. 67 เดินหน้าเสริมแกร่งธุรกิจ
๒๑ พ.ค. กลุ่มบริษัทศรีตรัง ลุยติดตั้ง EV Charger ในโรงงานทั่วประเทศ สนับสนุนพนักงานใช้พลังงานสะอาด ร่วมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตอกย้ำจุดยืน Green Rubber
๒๑ พ.ค. Bitkub Chain และ The Sandbox ร่วมยกระดับวงการ Metaverse ในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
๒๑ พ.ค. AJA โชว์แกร่ง!! งบโค้งแรกพลิกมีกำไรพุ่งเกือบ 452% ชูกลยุทธ์ปี 67 กระจายลงทุนในธุรกิจหลากหลาย-สร้างฐานการเติบโตยั่งยืน
๒๑ พ.ค. KJL โชว์นวัตกรรมในงาน SUBCON Thailand 2024 เพื่อตอบโจทย์อุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้า
๒๑ พ.ค. ITEL อวดกำไร Q1/67 โต 113% กำไรสุทธิ 123 ล้านบาท ล่าสุด ก.ล.ต. ไฟเขียวนับหนึ่งไฟลิ่ง บ.ย่อย BLUE เรียบร้อยแล้ว
๒๑ พ.ค. โอยิกะ ผู้นำด้านโซลูชั่นเทคโนโลยีแบตเตอรี่จากสิงคโปร์ ชูนวัตกรรมพลังงานสะอาด มุ่งขยายธุรกิจตู้สลับแบตเตอรี่สำหรับตลาดรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย
๒๑ พ.ค. ดื่มด่ำกับรสชาติของเนื้อโกเบจากโอซาก้า ที่ห้องอาหารฮากิ เซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว
๒๑ พ.ค. W9 เผยไทยเผชิญฝุ่นพิษล้อมเมืองติดอันดับโลก เปิด 5 กลุ่มเสี่ยงรับฝุ่นพิษ ภัยเงียบสะสม แนะวิธีรับมือเชิงเวลเนส