PTTAR สนับสนุนงานวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของหอกลั่น และเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์พลอยได้จากกระบวนการกลั่น

พุธ ๒๑ กรกฎาคม ๒๐๑๐ ๑๐:๓๔
นายชายน้อย เผื่อนโกสุม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน) (PTTAR) และ ศาสตราจารย์ นพ. ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมลงนามสัญญาความร่วมมือด้านการวิจัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของหอกลั่น และ เพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์พลอยได้จากกระบวนการกลั่น เมื่อวัน 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ณ ห้องรับรอง 2 อาคาร จามจุรี 4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โครงการความร่วมมือด้านการวิจัยระหว่าง PTTAR และ วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกอบด้วยโครงการวิจัย 3 เรื่อง คือ โครงการวิจัยเรื่อง Retrofit of Crude Preheating Train for Crude Distillation Unit เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของหอกลั่น ระยะเวลาดำเนินการ 6 เดือน ส่วนโครงการที่ 2 และ 3 เป็นการเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์พลอยได้จากกระบวนการกลั่น ประกอบด้วยโครงการ Production of Aromatics from Pentane-containing Naphtha และ โครงการ Methylation of Benzene and Toluene to Mixed Xylenes โดยทั้ง 2 โครงการนี้ มีระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี พร้อมมีการผลิตนิสิตปริญญาโทและเอก จาก 2 โครงการนี้ด้วย

นายชายน้อย เผื่อนโกสุม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ PTTAR กล่าวว่า PTTAR ดำเนินธุรกิจโดยมุ่งหวังให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดด้านการผลิต มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ประหยัดพลังงาน เป็นมิตรกับชุมชนและสิ่งแวดล้อม พร้อมกับมีการพัฒนา เทคนิคและนวัตกรรมใหม่ ๆ ตลอดเวลา โดยเฉพาะเพื่อการลดมลภาวะให้เหลือน้อยที่สุด การที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้เกียรติร่วมงานวิจัยกับ PTTAR ในครั้งนี้ จึงนับเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ PTTAR บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้อย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และเมื่อการวิจัยทั้ง 2 โครงการ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์พลอยได้จากกระบวนการกลั่น แล้วเสร็จ จะทำให้ประเทศไทยมีนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ถือเป็นลิขสิทธิ์ของประเทศเกิดขึ้น ดังนั้น โรงงานของ PTTAR จึงเปรียบเสมือนเป็นห้องทดลองวิทยาศาสตร์ห้องใหญ่ให้กับนักวิจัย

ศาสตราจารย์ นพ. ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ด้วยวิสัยทัศน์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการเป็นเสาหลักของแผ่นดิน (Pillar of the Kingdom) จึงเป็นที่คาดหวังของสังคมในการเป็นที่พึ่ง หรือเพื่อนคู่คิดในเหตุการณ์ต่างๆ จากอดีตที่มีการพูดว่างานวิจัยในมหาวิทยาลัยเป็น

งานที่ไม่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้ หรืองานวิจัยขึ้นหิ้ง แต่ในระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยได้มีการปรับยุทธศาสตร์ต่างๆ เพื่อให้งานวิจัยในมหาวิทยาลัยเข้าสู่ภาคปฏิบัติมากขึ้น หนึ่งในยุทธศาสตร์ดังกล่าว คือ การสนับสนุนให้หน่วยงานในมหาวิทยาลัยได้มีโอกาสทำงานใกล้ชิดกับภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น

พิธีลงนามสัญญาความร่วมมือระหว่าง PTTAR และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในครั้งนี้ เกิดขึ้นจากวิสัยทัศน์ของ PTTAR ที่เล็งเห็นความสำคัญของงานวิจัยต่อการพัฒนาบุคลากรในสาขาอุตสาหกรรมปิโตรเลียมและปิโตรเคมีของประเทศ สอดคล้องกับนโยบายของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มุ่งสนับสนุนให้หน่วยงานในมหาวิทยาลัยดำเนินการวิจัยร่วมกับภาคอุตสาหกรรม เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางวิชาการควบคู่ไปกับการปฏิบัติจริงของภาคอุตสาหกรรม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๓๓ COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๑๘:๓๖ GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๑๘:๔๔ PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๑๘:๓๙ LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๑๘:๑๒ ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๑๘:๕๗ ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๑๘:๓๖ LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๑๘:๔๖ SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๑๘:๔๙ STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๑๘:๓๕ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน