กรรมการ กทช.กล่าวต่อไปว่านอกเหนือจากประโยชน์โดยตรงที่เด็กและเยาวชนในต่างจังหวัดจะได้รับในกรณีดังกล่าวแล้ว ผลในทางอ้อมที่ตามมาก็คือ เด็กเหล่านี้จะนำความรู้และวิธีการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ต่างๆไปถ่ายทอดให้กับผู้ปกครองได้ด้วย นอกจากนั้นจะมีการประสานความร่วมมือกับหลายหน่วยงาน เช่น กระทรวงศึกษาธิการเพื่อร่วมกันจัดทำเนื้อหาความรู้ที่เหมาะสม กระทรวงวัฒนธรรมก็จะเข้ามาดูแลเนื้อหาที่ไม่เป็นพิษเป็นภัยแต่เป็นประโยชน์ ต่อเด็กและเยาวชนเพราะเราเชื่อว่าหากเด็กและเยาวชนได้เข้าถึงบริการดังกล่าวแล้วจะทำให้เด็กที่ไปใช้บริการจากร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ ร้านเกมส์ต่างๆจะกลับเข้าสู่โรงเรียนอีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ตาม กทช.ก็ยังคงจะเดินหน้าในเรื่องบริการโทรคมนาคมทั่วถึง(USO)นี้ต่อไปโดยได้จัดทำแผนระยะ 5 ปีที่จะเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นไปครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายเด็กเยาวชน กลุ่มผู้ด้อยโอกาส คนพิการ เกษตรกรและบริการทางด้านสาธารณะสุขต่อไป