สมาคมผู้เพาะเลี้ยงปลาไทยจับมือ สสส. และ CPF เดินหน้ารณรงค์คนไทยกินปลาเพื่อสุขภาพ ตั้งเป้าเพิ่มการบริโภค 20-30%

อังคาร ๑๙ ตุลาคม ๒๐๑๐ ๑๑:๔๔
นายศักดิ์ สรรพานิช นายกสมาคมผู้เพาะเลี้ยงปลาไทย (Mr.Sak Sunpanich, President of Thai Fish Culture Farmers Association) เปิดเผยว่า สมาคมผู้เพาะเลี้ยงปลาไทยได้ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ จัดทำแผนส่งเสริมการบริโภคปลา ภายใต้ชื่อโครงการ “ปลาคุณภาพ...เพื่อสุขภาพคนไทยที่แข็งแรง” เป็นการสนับสนุนนโยบายสุขอนามัย และความปลอดภัยในอาหาร (Food Safety) ของภาครัฐ รวมถึงช่วยสร้างความมั่นคงยั่งยืนในอาชีพให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาน้ำจืดของไทยโดยตั้งเป้าเพิ่มปริมาณการบริโภคปลา โดยเฉพาะปลาน้ำจืดให้เพิ่มขึ้นอีก 20-30%

“ปลาเป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพสูง ย่อยง่าย มีโอเมก้า3 หรือ กรดไขมันจำเป็น (Essential Fatty acid) ที่ร่างกายต้องการเนื่องจากมีประโยชน์ต่อร่างกาย หัวใจ และสมอง แต่ปัจจุบันคนไทยยังบริโภคปลา 30 กิโลกรัมต่อคนต่อปีเท่านั้น ในจำนวนนี้แบ่งเป็นปลาทะเล 20 กิโลกรัม และปลาน้ำจืด 10 กิโลกรัม ขณะที่ญี่ปุ่นบริโภคถึง 69 กิโลกรัมต่อคนต่อปี กลุ่มสแกนดิเนเวีย บริโภคถึง 45 กิโลกรัมต่อคนต่อปี” นายศักดิ์กล่าวและว่า

สาเหตุที่คนไทยบริโภคปลาน้ำจืดน้อย เป็นเพราะคนส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่าโอเมก้า 3 มีเฉพาะในปลาทะเล และคิดว่าปลาน้ำจืดของไทยที่เพาะเลี้ยงกันภายในประเทศอาจปนเปื้อนสารตกค้าง แต่ในความเป็นจริงจากการทำวิจัยในประเทศไทย พบว่าปลาน้ำจืดก็มีโอเมก้า 3 สูง บางประเภทสูงกว่าปลาทะเล เช่น ปลาสวายเนื้อขาว มีโอเมก้า 3 สูงถึง 2,570 มิลลิกรัมต่อน้ำหนัก 100 กรัม ปลาช่อนมีโอเมก้า 3 ถึง 870 มิลลิกรัมต่อน้ำหนัก 100 กรัม รวมทั้งปลาทับทิมก็มีโอเมก้า 3 อยู่เช่นกัน ขณะที่ปลาแซลมอลมีโอเมก้า 3 ประมาณ 1000-1,700 มิลลิกรัมต่อน้ำหนัก 100 กรัม ขณะที่ ด้านการเพาะเลี้ยงนั้น ทางกรมประมงได้มีการพัฒนาโครงการรับรองมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดมาตั้งแต่ปี 2546 โดยรับรองมาตรฐานขั้นปลอดภัย (safety level) และมาตรฐานการปฏิบัติทางประมงที่ดี (GAP) ซึ่งมั่นใจได้ว่าปลาน้ำจืดไทยมีคุณภาพและปลอดภัยต่อการบริโภค

นายศักดิ์ กล่าวด้วยว่า ปลาน้ำจืดส่วนใหญ่ยังมีราคาต่ำกว่าปลาทะเล ในภาวะที่น้ำมันมีราคาแพง สินค้าราคาสูง จึงได้ร่วมกันรณรงค์ให้คนไทยบริโภคปลา โดยเฉพาะปลาน้ำจืดภายในประเทศ เพื่อลดการบริโภคปลานำเข้า

ทั้งนี้ สำหรับแผนการรณรงค์ในโครงการดังกล่าว จะมีการจัดกิจกรรมโรดโชว์ให้ความรู้ทางวิชาการตามโรงพยาบาลและสถานศึกษา กิจกรรมสัมมนาวิชาการร่วมกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และกิจกรรมอบรมหลักสูตรระยะสั้นร่วมกับสถาบันอาหารชั้นนำ ได้แก่ โรงเรียนการอาหารนานาชาติสวนดุสิต จัดอบรม และ Work Shop เมนูปลาสุขภาพ เป็นต้น

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ

สมาคมผู้เพาะเลี้ยงปลาไทย

โทร. 02-6618962, 02-6731115

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๒ คณะ กิจกรรม วิศวฯ ม.เกษตรศาสตร์ จับมือ อัลเตอร์วิม ร่วมวิจัย-พัฒนาขีดความสามารถเชิงธุรกิจ ด้านพลังงานหมุนเวียนและระบบกักเก็บพลังงาน
๑๖:๐๖ กรุงศรีออกมาตรการช่วยเหลือ ลดดอกเบี้ยเงินกู้ 0.25% ให้ลูกค้ากลุ่มเปราะบาง เป็นเวลา 6 เดือนตอบรับแนวทางการช่วยเหลือของสมาคมธนาคารไทย
๑๖:๒๙ Lexar Professional CFexpress 4.0 Type B Card DIAMOND คว้ารางวัล BEST STORAGE MEDIA ในงาน TIPA WORLD AWARDS
๑๖:๔๔ ฟอร์ติเน็ต ร่วมมือ สกมช. คัดเลือก-ฝึกอบรมเสริมทักษะบุคลากรคลาวด์ เล็งเพิ่มทรัพยากรบุคคล เสริมความมั่นคงปลอดภัยบนคลาวด์ทุกรูปแบบ
๑๖:๒๙ ไอ-เทล รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสแรก แข็งแกร่งด้วย รายได้กว่า 4 พันล้าน กำไรเพิ่ม 93 เปอร์เซ็นต์ มุ่งการเติบโตต่อเนื่องตลอดปี
๑๖:๒๒ หมอแม็ค แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกผมของไทย
๑๖:๐๗ ทรูเวฟ (ประเทศไทย) เปิดตัว GreenFarm.AI ผู้ช่วยคนใหม่ที่จะทำให้สวนเติบโตสวยและยั่งยืนได้ดั่งใจ
๑๖:๕๐ ไบเทคบุรี เมกะโปรเจกต์ของภิรัชบุรี กรุ๊ป พลิกโฉม ไบเทค บางนา ก้าวข้ามอุตสาหกรรม MICE สู่สถานที่แห่งไลฟ์สไตล์ครบวงจร
๑๖:๕๒ ดีมันนี่ ตอกย้ำความสำเร็จในงาน Money 20/20 Asia ในฐานะผู้บุกเบิกโซลูชัน โอนเงินไปต่างประเทศชั้นนำในวงการฟินเทคไทย
๑๖:๕๔ สบยช. ยืนยัน ชาเม่ คอลลาเจน ไม่มีสารเสพติด