สภาที่ปรึกษาฯ เร่งศึกษาเพื่อเสนอแนะแนวทาง การป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในระยะกลาง และระยะยาว

อังคาร ๐๙ พฤศจิกายน ๒๐๑๐ ๑๖:๐๗
สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จัดการสัมมนาเรื่อง “มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในระยะกลางและระยะยาว” และได้มีการแถลงข่าวสรุปผลการประชุมดังกล่าว โดยมีนายโอกาส เตพละกุล ประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นางภรณี ลีนุตพงษ์ รองประธานสภาที่ปรึกษาฯ นายชั่งทอง โอภาสศิริวิทย์ เลขาธิการสภาที่ปรึกษาฯ ร่วมกันแถลงข่าว โดยประเด็นที่ได้จากการประชุมมีดังนี้

ในช่วงเดือนตุลาคม — พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ประเทศไทยประสบปัญหาน้ำท่วมอันเกิดจากฝนตกหนักน้ำป่าไหลหลากและวาตภัยอย่างรุนแรง ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตประชาชนนับร้อยคนและสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนจำนวนหลายล้านคน มีทรัพย์สินเสียหายคิดเป็นจำนวนหลายหมื่นล้านบาท ทำให้เกิดความวิตกกังวลในหมู่ประชาชนจำนวนมากว่าสภาพปัญหาดังกล่าวรัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐยังไม่มีมาตรการชัดเจน สภาพปัญหาดังกล่าวอาจจะเกิดขึ้นต่อไป และจะทวีความรุนแรงมากขึ้น

สภาที่ปรึกษาฯ ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว และจะเร่งทำการศึกษาอย่างจริงจัง เพื่อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในระยะกลาง และระยะยาว เพื่อให้คณะรัฐมนตรีหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องนำไปดำเนินการ โดยมีประเด็นสำคัญที่จะพิจารณาศึกษาดังนี้

1.ศึกษาระบบการบริหารจัดการน้ำของเขื่อนและอ่างเก็บน้ำในปัจจุบันว่ามีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด การบูรณาการของหน่วยงานต่างๆ มีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดแล้วหรือไม่ และควรมีการปรับปรุงหรือเพิ่มเติมระบบการบริหารจัดการน้ำในประเด็นใดบ้าง นอกจากระบบที่มีอยู่แล้ว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน้ำของเขื่อนและอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้ง

2.ศึกษาแผนงาน/โครงการของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาด้านอุทกภัยและภัยแล้งในระยะกลางและระยะยาว ว่ามีอยู่อย่างไร มีปัญหาอุปสรรคหรือข้อจำกัดในการดำเนินการในดำเนินการ และจะสามารถบูรณาการแผนงาน/โครงการดังกล่าวให้นำไปสู่การปฏิบัติและสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและปัญหาภัยแล้ง ได้อย่างแท้จริงได้อย่างไร

3. พิจารณาจัดลำดับความสำคัญของแผนงาน/โครงการเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้ง ในแต่ละลุ่มน้ำ แต่ละภาค หากแผนงาน/โครงการใดมีความสำคัญพิเศษเร่งด่วน ก็ควรพิจารณาเร่งดำเนินการเพื่อให้สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในระยะกลางและระยะยาวได้สอดคล้องกับสภาพปัญหาในปัจจุบัน ซึ่งจะได้ดำเนินการในทุกภูมิภาคในเชิงกว้าง โดยจะมีการพิจารณาเชิงลึกในบางพื้นที่

4. พิจารณามาตรการด้านผังเมืองและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วม ดินโคลนถล่มและภัยแล้งในอนาคต ในมิติต่างๆ เช่น การรักษาป่า การรักษาแหล่งกั้นน้ำ ฯลฯ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๓๙ สมาคมธนาคารไทย ออกแนวทางช่วยเหลือเพิ่มเติม เพื่อลดภาระดอกเบี้ยให้กลุ่มเปราะบางทั้งลูกค้าบุคคลและSME
๑๔:๐๒ ผู้ลงทุนเชื่อมั่น โลตัส (Lotus's) จองซื้อหุ้นกู้เต็มจำนวน 9 พันล้านบาท
๑๔:๑๕ สมัครบัตรกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ วีซ่า รูดช้อปรับคุ้ม! รับเครดิตเงินคืนสูงสุด 5%
๑๔:๔๘ MASTER ประชุมผู้ถือหุ้นปี 67 ผ่านฉลุย ไฟเขียวจ่ายปันผล เดินหน้าสร้างโอกาสโตตามกลยุทธ์ MP
๑๔:๔๓ ธนาคารกรุงเทพ จับมือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลงนาม MOU ส่งเสริมการผลิตบุคลากร-พัฒนาศักยภาพ-ถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีดิจิทัล
๑๔:๒๐ ITEL จัดประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผถห. เห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผลอัตรา 0.0696 บ./หุ้น
๑๔:๒๙ ไทยพาณิชย์ ตอกย้ำกลยุทธ์ Digital Bank with Human Touch เปิดตัว โปรจีน อาฒยา นักกอล์ฟหญิงระดับโลก เป็น Brand
๑๔:๓๐ KCG จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2567 พร้อมอนุมัติจ่ายปันผล 0.30 บาทต่อหุ้น
๑๔:๔๙ บาฟส์ ประกาศความสำเร็จ ลุยขยายโครงข่ายขนส่งน้ำมันทางท่อ เชื่อมต่อเครือข่ายพลังงานทั่วไทย
๑๔:๓๙ บีโอไอจับมือพันธมิตร จัดงาน SUBCON Thailand 2024