หลักสี่ใช้กระบวนการ CBM หวังลดปริมาณขยะอย่างยั่งยืน

พุธ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๐๑๐ ๑๐:๓๘
สำนักงานเขตหลักสี่ขานรับนโยบายการลดมูลฝอยของกรุงเทพมหานคร ตั้งเป้าลดปริมาณมูลฝอยในพื้นที่ ด้วยแนวคิดการจัดการมูลฝอยโดยชุมชน (CBM) จัดกิจกรรมขยะแลกไข่กระตุ้นให้ชาวชุมชนเห็นคุณค่าขยะรีไซค์เคิล มุ่งลดปริมาณขยะอย่างยั่งยืน

นางสาวระเบียบ กูบกระบี่ ผู้อำนวยการเขตหลักสี่ กทม. แจ้งว่า สำนักงานเขตหลักสี่ตั้งเป้าลดปริมาณมูลฝอยในพื้นที่ด้วยแนวคิดการจัดการมูลฝอยโดยชุมชน (Community Basedd Solid Waste Management : CBM) ซึ่งเป็นแนวคิดที่เน้นการจัดการมูลฝอยที่แหล่งกำเนิด ด้วยการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชุมของตนเอง จัดระบบการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมในชุมชนเพื่อมุ่งเป็นต้นแบบชุมชนน่าอยู่ โดยเขตฯ ได้เสริมสร้างวินัยประชาชนตั้งแต่ระดับครัวเรือนในการคัดแยกขยะมูลฝอยและนำไปใช้ประโยชน์ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในสังคมให้คำนึงถึงประโยชน์ของมูลฝอยบางประเภทที่สามารถกลับมาผลิตใหม่ อันเป็นการลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่นับวันจะหมดไป ทั้งนี้เขตฯ ได้ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ผู้ประกอบการรับซื้อวัสดุรีไซเคิล ผู้ประกอบการรับซื้อเศษอาหาร เข้ามามีส่วนร่วมจัดกิจกรรมส่งเสริมการลดปริมาณมูลฝอย เช่น การให้ความรู้แก่ประชาชน จัดกิจกรรมขยะแลกไข่ เป็นต้น สำหรับชุมชนที่เขตฯ ได้กระตุ้นและส่งเสริมการจัดการขยะมูลฝอยด้วยกระบวนการ CBM ประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่งแล้วมีจำนวน 3 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนพงษ์เพชร แจ้งวัฒนะ 14 ชุมชนกฟภ.- นิเวศน์ 2 และชุมชนพัชราภา-เทพไพเราะ นอกจากนี้เขตฯ กำลังขยายการดำเนินงานอีก จำนวน 4 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนชวนชื่นบางเขน ชุมชนราชพฤกษ์ ชุมชนพงษ์เพชรพัฒนา และชุมชนแจ้งวัฒนะผาสุก และจะขยายไปยังชุมชนต่างๆ ทั่วพื้นที่เขตฯ ในอนาคต

นางสาวระเบียบ กล่าวด้วยว่า การดำเนินงานดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาในหลายด้าน เช่น ด้านกายภาพชุมชนจะมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยสะอาด สวยงาม ด้านเศรษฐกิจจะได้รับประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าก่อนทิ้งเป็นขยะมูลฝอย ด้านสังคมเกิดความสมานสามัคคี ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมดำเนินงานและการแก้ไขปัญหาของชุมชนทั้งในส่วนการจัดการขยะและการพัฒนาชุมชน ด้านคุณภาพชีวิต ประชาชนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีเพราะมีระบบจัดการขยะที่ดีสามารถลดแหล่งสะสมเชื้อโรคและพาหะนำโรค ลดปัญหากลิ่นเหม็นจากขยะ นอกจากนี้ยังเป็นกระบวนการเสริมสร้างวินัยประชาชนในการทิ้งขยะตั้งแต่ในระดับครัวเรือนด้วย อย่างไรก็ดีเพื่อให้การดำเนินงานดังกล่าวเกิดผลเป็นรูปธรรมและยั่งยืน เขตฯ กำหนดติดตามผลการดำเนินงานและประสานแก้ไขปัญหาให้กับชุมชนอย่างสม่ำเสมอ ทุก 3 เดือน 6 เดือน และ 12 เดือน ทั้งนี้เพื่อเก็บข้อมูลปริมาณขยะ ข้อมูลองค์ประกอบขยะ การคัดแยกขยะ การใช้ประโยชน์จากขยะเพื่อพัฒนาการดำเนินงานต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๔๗ พรหมศาสตร์นารายณ์สังสรรค์
๑๔:๔๒ Paessler ก้าวไปอีกขั้น กับการได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 9001 มาตรฐานระบบการจัดการคุณภาพ
๑๔:๐๓ กทม. เตรียมวางแผนเข้มมาตรการรักษาความปลอดภัยงานไพรด์ มิ.ย. นี้
๑๔:๔๕ ซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล มอบประกาศนียบัตรนักศึกษาผ่านปฏิบัติงานวิชาชีพ
๑๔:๐๑ 'โด คยองซู' พบแฟนไทยครั้งแรกในรอบ 6 ปี กับงาน 2024 DOH KYUNG SOO ASIA FAN CONCERT TOUR in BANGKOK กดบัตรพร้อมกัน 29 มิ.ย.
๑๔:๐๖ MUT จับมือ GalaxySpace จัดตั้งสถานีดาวเทียมภาคพื้นความถี่สูงในมหาวิทยาลัยเป็นครั้งแรกในประเทศไทย
๑๔:๕๓ กทม. เตรียมพร้อมป้องกันแก้ไขปัญหาน้ำท่วมช่วงฤดูฝน ปี 67
๑๔:๐๓ เครือเฮอริเทจ ชูแนวคิด Healthy Food, Happy Life เข้าร่วมงานออกร้านคณะภริยาทูต ครั้งที่ 57
๑๔:๓๓ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ผนึกกำลังผู้ทรงคุณวุฒินานาชาติ จัดงานประชุมวิชาการยกระดับองค์ความรู้ต่อเนื่อง ครั้งที่ 2 ในประเทศไทย และขอเชิญชวนผู้สนใจส่งผลงานวิชาการเข้าร่วมในหัวข้อ Strengthening Groundwater
๑๔:๓๔ กรมอนามัย ชวนโรงเรียน ผู้ปกครองสร้างเด็กไทยยิ้มสวย ไปด้วยกัน