เลขา วช. หวังสร้างบัณฑิตพัฒนางานวิจัยอย่างยั่งยืน

อังคาร ๒๘ ธันวาคม ๒๐๑๐ ๑๗:๕๖
เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เข้าร่วมอภิปราย เรื่อง “บัณฑิตศึกษากับงานวิจัยแก้วิกฤติชาติ”ในการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๙ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ที่ผ่านมา

ศ.นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ เลขา วช. กล่าวว่าในการจัดสรรทุนวิจัยจะเน้นให้นักวิจัยมีแนวคิดที่ตรงตามยุทธศาสตร์การวิจัยโดยเกิดจากการกลั่นกรอง จากผู้ทรงคุณวุฒิ ตามเป้าหมาย และยุทธศาสตร์การวิจัยเป็นหลัก ซึ่งงานวิจัยจะสามารถช่วยตอบโจทย์ และแก้ปัญหาของประเทศได้ จึงได้กำหนดแผนและนโยบายยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ ๑๓ หัวข้อ ได้แก่ ๑.เศรษฐกิจพอเพียง ๒.ความมั่นคงของรัฐและการเสริมสร้างธรรมมาภิบาล ๓.การปฏิรูปการศึกษาและสร้างสังคมการเรียนรู้ ๔.การบริหารจัดการน้ำ ๕.ภาวะโรคร้อน และพลังงานทางเลือก

๖.การเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออก และลดการนำเข้า ๗.การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาและการฟื้นฟูสุขภาพ ๘.การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม และพัฒนาคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพ ๙.เทคโนโลยีใหม่ และเทคโนโลยีที่สำคัญเพื่ออุตสาหกรรม ๑๐.การบริหารจัดการการท่องเที่ยว ๑๑.สังคมผู้สูงอายุ ๑๒.ระบบโลจิสติกส์๑๓.การปฏิรูประบบวิจัยของประเทศ และผลงานวิจัยต้องเป็นพลังในการขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาชาติต่อไป

โดย วช. เป็นเสมือนแผนที่นำทางให้กับนักวิจัย รวมทั้งจัดสรรให้ทุนวิจัย แต่การให้ทุนจะมีการพิจารณามากขึ้นโดยคำนึงถึงผลงานวิจัยจะต้องเป็นแบบเชิงบูรณาการเลขา วช. ยังกล่าวต่ออีกว่า “องค์ประกอบที่สำคัญในการพัฒนางานวิจัยประกอบด้วย ๓ ส่วน คือ

๑) นิสิต นักศึกษา ๒) อาจารย์ ๓) สถาบัน แนวโน้มอีก ๕ — ๑๐ ปีข้างหน้า ในการสร้างบัณฑิตศึกษาพบว่าปริมาณนิสิต นักศึกษา จำนวนน้อยกว่าที่ต้องการ แต่สายสังคมศาสตร์เยอะมากจึงเกิดปัญหา จบมานิสิตไม่มีงานทำ มหาวิทยาลัยเองมองว่าในการกำหนดหลักสูตร ในการสร้างต้องมองว่าสร้างแล้วมีคุณภาพจบมาต้องมีงานรองรับ”

ทำให้ผลงานวิจัยที่ทำขึ้น ๑๐๐% แบ่งออกได้เป็น ๗๐% เกิดจากการทำเพื่อให้จบหลักสูตร และอีก ๓๐% เกิดขึ้นจากความตั้งใจที่จะพัฒนาเพื่อให้เกิดผลงานที่มีคุณค่าสามารถนำไปใช้ได้จริงไม่ขึ้นหิ้งเหมือนผลงานส่วนใหญ่ที่ทำขึ้นผิดวัตถุประสงค์ ในการงานวิจัยต้องรู้จักคิด วิเคราะห์ อาจารย์มีหน้าที่ให้คำปรึกษาและร่วมสอนให้นักศึกษารู้จักการคิด วิเคราะห์ เพื่อให้ผลลัพธ์เป็นผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ งานวิจัยที่ได้ได้ประโยชน์และสามารถนำไปใช้ได้จริง แต่งานวิจัยยังถูกจำกัดด้วยต้นทุน ทำให้นักศึกษาเลือกที่จะทำงานวิจัยที่ใช้ทุนน้อย ซึ่งการหาทุนอาจารย์จะต้องเป็นที่ปรึกษาให้นักศึกษาสามารถดำเนินงานให้เกิดผลสำเร็จต่อไป นอกจากนี้ท่านยังได้ทิ้งท้ายไว้ว่า “อยากที่จะเห็นงานวิจัยที่เกิดจากมันสมองของนิสิตเองจะมีคุณค่ามากที่สุด กว่างานที่เกิดจากความรู้สึกที่ทำเพื่อให้ได้จบการศึกษา”

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 025799775 prnrct

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง