เตือนผู้ประกอบการจดแจ้งสารเคมีตามระเบียบการจัดการสารเคมีญี่ปุ่น

อังคาร ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๑ ๑๖:๕๒
นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการ กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม และกระทรวงสิ่งแวดล้อมของญี่ปุ่น ได้ทบทวนปรับปรุงกฎหมายการจัดการสารเคมีของญี่ปุ่น (Chemical Substance Control Law : CSCL) เพื่อยกระดับให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยได้กำหนดการบังคับใช้ออกเป็น ๒ ระยะ คือ ระยะแรกเป็นข้อกำหนดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดการสารโพลีเมอร์ การถ่ายทอดข้อมูลในห่วงโซ่อุปทาน และข้อกำหนดสำหรับสารเคมีที่ต้องได้รับอนุญาตหรือมีการควบคุมการผลิต นำเข้า หรือใช้ในห่วงโซ่อุปทาน มีผลบังคับใช้ไปแล้วเมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ และระยะที่ ๒ กำหนดให้ผู้ผลิตและผู้นำเข้าสารเคมี (ทั้งสารใหม่และสารเดิม) ต้องจดแจ้ง (มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ) สารเคมีรายปี กรณีที่ผลิตหรือนำเข้าสารเคมีที่ใช้ในทางอุตสาหกรรมในปริมาณมากกว่า ๑ ตันต่อปี / บริษัท / สารเคมี ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป โดยที่ ผู้ผลิต / ส่งออกในประเทศที่สามรวมทั้งไทยสามารถจดแจ้งสารเคมีใหม่ได้โดยตรงกับหน่วยงานที่รับผิดชอบข้างต้น

ระเบียบ CSCL นี้ไม่บังคับใช้กับสารเคมีที่อยู่ภายใต้กฎระเบียบอื่น ๆ อยู่แล้ว ได้แก่ อาหารและสารเจือปนอาหาร อาหารสัตว์และสารเจือปนในอาหารสัตว์ ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ ของเล่น ผงซักฟอก สารเคมีที่ใช้เพื่อการเกษตร ปุ๋ย ยา เครื่องสำอาง อุปกรณ์ทางการแพทย์ สารที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ยาบำรุงและวัตถุดิบ สารกัมมันตรังสี สารพิษ ของเสียและขยะ นอกจากนี้ ยังไม่รวมถึงสารเคมีที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการผลิต และสารที่ผลิตหรือนำเข้าเพื่อใช้ในการทดสอบและวิจัย

นายสุรศักดิ์ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการประเมินความเสี่ยงของสารเคมี ระเบียบ CSCL จะประเมินความเป็นอันตรายและโอกาสที่จะก่อให้เกิดอันตรายของสารเคมีเดิมที่มีการผลิตหรือจำหน่ายในญี่ปุ่นมาแล้วก่อนปีพ.ศ. ๒๕๑๖ ซึ่งมีอยู่ประมาณ ๒๐,๖๐๐ สาร และสารเคมีใหม่ที่มีการผลิตหรือจำหน่ายในญี่ปุ่นตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๕๑๖ เพื่อจัดจำแนกสารเคมีออกเป็น ๓ ประเภทใหญ่ ๆ คือ (๑) สารเคมี Class I หมายถึง สารเคมีที่สามารถสะสมในสิ่งมีชีวิตอย่างคงทน และเป็นพิษระยะยาวต่อมนุษย์หรือสัตว์กินเนื้อ ซึ่งการผลิต จำหน่าย หรือใช้จะต้องได้รับอนุญาตตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้เท่านั้น และ (๒) สารเคมี Class II หมายถึง สารเคมีที่เป็นพิษระยะยาวต่อมนุษย์ หรือต่อพืชและสัตว์ที่อาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมนั้นด้วย โดยมีข้อกำหนดในการผลิตจำหน่ายหรือใช้ และ (๓) สารเคมีทั่วไป หมายถึง สารเคมีที่มีข้อมูลการประเมินความเป็นอันตรายเพียงพอว่ามีความเสี่ยงต่ำ

ทั้งนี้ หากผู้ผลิต / นำเข้า ไม่ปฏิบัติตามระเบียบ CSCL อาจถูกลงโทษจำคุก หรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยที่ส่งออกสารเคมีไปญี่ปุ่นควรทำความเข้าใจกับผู้นำเข้าญี่ปุ่นถึงข้อกำหนดดังกล่าว เพื่อหลีกเลี่ยงบทลงโทษข้างต้นที่จะส่งผลกระทบถึงการส่งออกได้ นอกจากนี้ ผู้ประกอบการที่สนใจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยสามารถศึกษารายละเอียดของระเบียบดังกล่าวเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ http://www.meti.go.jp/policy/chemical_management/english/index.html

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง