ไอบีเอ็มยกระดับมาตรฐานนักวิจัยสู่สากลด้วย Smart HPC สร้างมิติใหม่ส่ง IBM Cluster in The Box

ศุกร์ ๑๑ มีนาคม ๒๐๑๑ ๑๐:๑๘
ไอบีเอ็มยกระดับมาตรฐานนักวิจัยสู่สากลด้วย Smart HPCสร้างมิติใหม่ส่ง IBM Cluster in The Boxเปิดตลาดใหม่ต่อยอดงานวิจัยเข้าสู่ทุกอุตสาหกรรม

ไอบีเอ็มเปิดตัว IBM Cluster in The Box แพคเกจไฮเพอร์ฟอร์แมนซ์คอมพิวติ้ง (High Performance Computing ) หรือ HPC ที่รวมเอา ฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ และ บริการโซลูชั่น ที่สมบูรณ์แบบเหมาะสำหรับ นักวิจัยเริ่มต้น องค์กรขนาดเล็ก ในทุกอุตสาหกรรม ที่ต้องประมวลผลข้อมูลปริมาณมากได้อย่างรวดเร็ว ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ที่ต้องการคอมพิวเตอร์ Smart HPC เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ฉลาดขึ้น ในราคาที่สมเหตุผล

นายธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจคอมพิวเตอร์ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “ ไอบีเอ็มได้วิจัยและพัฒนา High Performanc Computing มาอย่างยาวนาน จนเป็นที่ยอมรับและไว้วางใจจากลูกค้าทั่วโลก โดย HPC เป็นคอมพิวเตอร์ ที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในงานวิจัย การคำนวณ การสร้างโมเดลในการทำงาน จากคำสั่งจำนวนมากๆ เพื่อหาผลลัพธ์ให้ได้อย่างรวดเร็ว จึงเหมาะกับ การใช้งานวิจัยและพัฒนาขนาดใหญ่ ในกลุ่มอุตสาหกรรมการศึกษา การทำแอนิเมชั่น นอกจากนี้ไอบีเอ็มยังได้ก้าวล้ำหน้าไปอีกขั้นในการพัฒนา Watson HPC ที่มีความสามารถประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก มาเล่นเกมตอบคำถาม Jopardyโดย Watson สามารถประมวลผลโต้ตอบและเข้าใจภาษามนุษย์ได้อย่างรวดเร็ว ปัจจุบันมีลูกค้าที่เลือกใช้ HPC เช่น มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ทั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริษัทกันตนาแอนิเมชั่น และ กรมอุตุนิยมวิทยา จะเห็นได้ว่าการใช้ HPC จะจำกัดอยู่ในองค์กรใหญ่ๆที่มีความจำเป็นในงานวิจัยเท่านั้น แต่ปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว มีองค์กรธุรกิจทั้งภาครัฐและเอกชน ขนาดเล็กที่ต้องการ HPC มาใช้ในการทำงานวิจัยและพัฒนาในระดับเริ่มต้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้คอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง ซึ่ง HPC แบบเดิม องค์กรต่างๆจะต้องมีใช้งบประมาณจำนวนมาก ในการจัดซื้อระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่

ดังนั้นเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตลาดลูกค้าองค์กรระดับเล็ก ไอบีเอ็มจึงได้แนะนำแพคเกจ “ IBM Cluster in The Box” HPC ขนาดเล็ก ที่เหมาะกับการใช้งานเริ่มต้น ซึ่งรวมเอา ฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ และโซลูชั่น พร้อมด้วย พันธมิตรทางธุรกิจ เช่น ไมโครซอฟท์ อินเทล ที่จะนำเอาเทคโนโลยีและแอพพลิเคชั่นอีกมากมาย มาผสมผสานให้เป็นแพคเกจที่ครบสมบูรณ์แบบ มาพร้อมความง่ายในการใช้งาน สำหรับคนที่ไม่มีพื้นฐานทางด้านไอที พร้อมการติดตั้งใช้งานได้ทันที ซึ่งแพคเกจดังกล่าวได้ถูกออกแบบขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อช่วยให้การทำงานฉลาดขึ้น เพิ่มทั้งประสิทธิภาพการทำงาน ลดค่าใช้จ่าย เพื่อแนะนำให้กับกลุ่มนักวิจัยเริ่มต้น กลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์ กลุ่มบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็คโทรนิค

ทางด้าน ผศ.ดร.ภุชงค์ อุทโยภาศ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า “ งานวิจัยขั้นสูงในปัจจุบัน ต้องพึ่งพากำลังคอมพิวเตอร์ค่อนข้างมาก สิ่งหนึ่งที่นักวิจัยมีความต้องการ ก็คือว่าทำอย่างไรจะทำงานวิจัย ให้สามารถประมวลผลให้ทำงานได้รวดเร็วและได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องแม่นยำ ซึ่งพบว่าการวิจัยหลายอย่างมีการออกแบบวิเคราะห์ อย่างเช่น ทางวิศวกรรมเครื่องกล ทางวิศวกรรมอากาศยาน ทางวิศวกรรมเคมี มีความต้องการในการคำนวณที่ซับซ้อน คอมพิวเตอร์ธรรมดาไม่สามารถวิเคราะห์ได้ เราต้องพึ่งพาคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง หรือ HPC มาใช้ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อช่วยกระตุ้นในการสร้างบุคคลากร ให้มีความรู้ความเข้าใจและนำเอาไปใช้ทำงานได้อย่างถูกต้อง และยังสามารถนำปัญหาจากอุตสาหกรรม นำมาช่วยยกระดับขีดความสามารถในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีความมั่นใจในการใช้ IBM HPC เพราะ ไอบีเอ็มเป็นผู้นำตลาดที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูง และเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการไว้วางใจทั่วโลก ”

นางอัจฉรา กิจกัญจนาสน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท กันตนา แอนิเมชั่น สตูดิโอ จำกัด กล่าวถึงการนำเทคโนโลยี HPC มาช่วยเพิ่มศักยภาพในการผลิตงานแอนิเมชั่น ว่า” ภาพหนึ่งภาพในงานแอนิเมชั่นมีองค์ประกอบมากมายและซับซ้อน ทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฏในภาพแอนิเมชั่นจะต้องสร้างขึ้นมาทั้งสิ้น คุณภาพของงานแอนิเมชั่นนอกจากเนื้อเรื่องและองค์ประกอบอื่นๆที่ต้องมีแล้ว ภาพแต่ละภาพในงานแอนิเมชั่นก็ยังเป็นส่วนสำคัญที่ทำหน้าที่ร้อยเรียงเรื่องราวออกมาให้ผู้ชมคล้อยตามและสนุกสนานไปกับเรื่องราวนั้นๆ ในการผลิตภาพยนตร์นั้น ใน 1 วินาทีจะประกอบด้วยภาพทั้งสิ้น 24 ภาพ ดังนั้นการผลิตภาพยนตร์แอนิเมชั่น 1 เรื่องที่สมบูรณ์แบบ จะต้องใช้ภาพทั้งสิ้นไม่ต่ำกว่า 150,000 ภาพ ซึ่งแต่ละภาพอาจจะต้องใช้เวลาในการคำนวนถึง 1-2 ชั่วโมง เทคโนโลยี HPC จึงมีส่วนสำคัญมากในการผลิตงานด้านนี้ หากสามารถประมวลผลได้รวดเร็วเท่าไรก็ยิ่งทำให้เราสามารถเห็นผลลัพธ์ได้เร็วขึ้นเท่านั้น อีกทั้งในกรณีที่มีการแก้ไขก็สามารถทำได้รวดเร็วขึ้น ผลที่ตามมาก็คือการผลิตงานที่มีคุณภาพดีขึ้นเรื่อยๆ และยังช่วยศิลปินในการสร้างสรรค์ และพัฒนาผลงานได้อย่างไม่สิ้นสุด”

นายธนพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “IBM HPC นอกจากจะช่วยในการทำงานวิจัยและพัฒนาทางด้าน การศึกษาและแอนิเมชั่นแล้ว ยังสามารถเป็นสะพานเชื่อมต่อยอดงานวิจัย ไปสู่งานในทุกภาคอุตสาหกรรมที่มีความต้องการงานวิจัยและพัฒนา (Research & Development) ซึ่งการแนะนำ IBM Cluster in The Box สู่ตลาดครั้งนี้ ผมมั่นใจว่า แพคเกจนี้จะช่วยสนองตอบความต้องการ ในการใช้งานของลูกค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆได้อย่างแพร่หลาย ช่วยยกระดับให้อุตสาหกรรมนำงานวิจัยมาช่วยพัฒนาให้สามารถสนองตอบความต้องการในตลาดการค้าได้ และคาดว่าจะได้รับการตอบรับจากกลุ่มลูกค้าในองค์กรระดับเล็กได้อย่างแท้จริง ไอบีเอ็มยังคงมุ่งมั่นในการวิจัย และพัฒนา HPC อย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้การทำงานและโลกเราฉลาดขึ้น และในโอกาสที่ปีนี้ไอบีเอ็มครบรอบ 100 ปีซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาไอบีเอ็ม ได้นำเสนอนวัตกรรมทางเทคโนโลยี เป็นผู้บุกเบิกคอมพิวเตอร์ นำไอทีเข้ามาเปลี่ยนแปลงโลกของเราให้ดีขึ้น พร้อมทั้งสร้างมาตรฐานขององค์กรที่ทันสมัย ภารกิจของไอบีเอ็มในการฉลองครบรอบ 100 ปี ก็คือ ความมุ่งมั่น ที่จะนำเทคโนโลยีชั้นนำและความเชี่ยวชาญของบุคคลากรไอบีเอ็มเข้าไปช่วยพัฒนาทุกภาคส่วน เพื่อให้ลูกค้า พันธมิตรทางการค้า ประชาชน และสังคมไทย เติบโตก้าวหน้าไปด้วยกัน

ฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด จินรี ตัณมณี โทร. 02 273 4676

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง
๐๓ พ.ค. มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท เดินหน้า โครงการบ้านชื่นสุขสร้างสุขผู้สูงอายุ ตอกย้ำ ความกตัญญู
๐๓ พ.ค. รีเล็กซ์ โซลูชันส์ เผยกลุ่มค้าปลีกและผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคยังไม่ใช้ศักยภาพของ AI มากนัก
๐๓ พ.ค. กทม. บูรณาการหน่วยงานเร่งแก้ปัญหาเด็กเช็ดกระจก-ขายของริมถนน ใช้สหวิชาชีพแก้ปัญหารายครอบครัว