มรภ.สงขลา วิจัยกล้วยไม้ป่าหายาก

อังคาร ๓๑ พฤษภาคม ๒๐๑๑ ๑๔:๑๕
นับวันพันธุ์กล้วยไม้ป่าจะหาได้ยากเต็มที ทีมนักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา นำโดย ดร.สุวรรณี พรหมศิริ และคณะ จึงร่วมกันสำรวจและรวบรวมพันธุกรรมกล้วยไม้ป่าหายากใกล้สูญพันธุ์ ในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งเปี่ยมคุณค่าทางเศรษฐกิจ นำมาเก็บรักษาสายพันธุ์และส่งเสริมการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ดร.สุวรรณี พรหมศิริ กล่าวว่า งานวิจัยนี้มีเป้าหมายในการศึกษาชนิดกล้วยไม้ป่าหายากและใกล้สูญพันธุ์ในภาคใต้ นำมาปลูก ดูแลรักษา และอนุรักษ์สายพันธุ์ไว้ในโรงเรือนของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้พันธุ์กล้วยไม้ป่าหายาก และรวบรวมภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์จากกล้วยไม้ป่า ส่งเสริมการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ตลอดจนสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์กล้วยไม้ป่า ให้เกิดขึ้นกับเยาวชนและประชาชนทั่วไป

ในการดำเนินการ ทีมวิจัยได้สำรวจและรวบรวมในพื้นที่ป่าภาคใต้ พบกล้วยไม้ป่าจำนวน 97 ชนิด 42 สกุล ในจำนวนนี้สกุลหวาย (Dendrobium) พบมากที่สุด จำนวน 23 ชนิด สกุลที่พบรองลงมา คือ สกุลสิงโต (Bulbophyllum) จำนวน 20 ชนิด สกุลที่พบเพียง 1 ชนิด มี 31 สกุล บางชนิดเป็นกล้วยไม้ป่าหายาก หลงเหลือในธรรมชาติน้อยมาก เช่น รองเท้านารีม่วงสงขลา (Paphiopedilum barbatum (Lindl.) Pfitzer) กะเรกะร่อน ชนิด A pale-flower form of Cymbidium finlaysonianum L. และ An albinistic-form of C. finlaysonianum L. ซิมบิเดียมคลอแรนทัม (C. chloranthum L.) เอื้องปากนกแก้ว (Dendrobium cruentum Rchb.f.) และอีกหลายชนิด

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีการบรรยายลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ถิ่นที่อยู่อาศัย และการกระจายพันธุ์ กล้วยไม้ป่า โดยปลูกรักษาสายพันธุ์ไว้ในเรือนอนุรักษ์ และขยายพันธุ์กล้วยไม้ป่าหายากใกล้สูญพันธุ์ ซึ่งจากการสัมภาษณ์ผู้หากล้วยไม้ป่า เพื่อให้ทราบถึงภูมิปัญญาในการใช้ประโยชน์จากกล้วยไม้ป่า พบว่า ผู้ที่หากล้วยไม้ป่าเป็นงานอดิเรกหรืออาชีพเสริม จะไม่เข้าใจการเก็บกล้วยไม้ป่าเพื่อใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน แต่ผู้ที่หากล้วยไม้ป่าขายเป็นอาชีพหลักจะรู้วิธีเก็บที่ถูกต้องคือจะเลือกเก็บเฉพาะต้นที่สมบูรณ์ ต้นเล็กจะปล่อยให้เจริญเติบโตต่อไป และไม่เก็บต้นที่มีฝักเพื่อให้แตกขยายพันธุ์ตามธรรมชาติ กิจกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน นอกจากนั้น หลังจากที่ทำวิจัยเสร็จแล้ว ยังได้มีการจัดอบรมการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อให้กับผู้ที่สนใจ รวมไปจนถึงพ่อค้ากล้วยไม้ป่า และนำกล้วยไม้ป่าที่ได้จากการขยายพันธุ์กลับคืนสู่ป่า

การทำวิจัยในเรื่องนี้ ให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์สายพันธุ์ การจัดกิจกรรมและโครงการปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์กล้วยไม้ป่า ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนมีความตระหนักในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๓๓ COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๑๘:๓๖ GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๑๘:๔๔ PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๑๘:๓๙ LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๑๘:๑๒ ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๑๘:๕๗ ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๑๘:๓๖ LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๑๘:๔๖ SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๑๘:๔๙ STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๑๘:๓๕ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน