ปตท.— กระทรวงการคลัง ทำบันทึกความเข้าใจร่วมการลงทุนใน TPI

อังคาร ๑๘ มกราคม ๒๐๐๕ ๑๔:๓๐
กรุงเทพฯ--18 ม.ค.--ปตท.
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) และนายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง ผู้แทนของกระทรวงการคลัง ในฐานะผู้มีสิทธิในการจัดหาผู้ร่วมทุน และจัดสรรการขายหุ้นของบริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) (TPI) ได้ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ในการเข้าร่วมลงทุนในบริษัท TPI ซึ่งในเบื้องต้นคาดว่าจะจัดสรรหุ้น TPI ให้ ปตท. ร้อยละ 30 ของหุ้นทั้งหมด
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ เปิดเผยว่า MOU ฉบับนี้ จัดทำขึ้นเพื่อบันทึกความเข้าใจเบื้องต้นของหลักการและเงื่อนไขในการเข้าร่วมลงทุนใน TPI เพื่อที่จะให้ ปตท. สามารถเข้าตรวจสอบสถานะและประเมินมูลค่าทรัพย์สิน หนี้สินของ TPI และบริษัทย่อยได้อย่างละเอียด ครบถ้วน และโปร่งใสการลงนามครั้งนี้ไม่ใช่การทำสัญญาซื้อขายและยังไม่มีการกำหนดราคาซื้อขายหุ้นแต่อย่างใด เนื่องจาก TPI มีโครงสร้างการดำเนินธุรกิจที่ค่อนข้างซับซ้อน จึงต้องรอผลการทำ Due Diligence ก่อน จึงจะสามารถประเมินราคาหุ้นที่เหมาะสมได้ ทั้งนี้ ปตท. ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินทั้งในและต่างประเทศ ได้แก่ บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด และ บริษัท Citigroup Global Markets Limited โดยมีบริษัท ลิ้งค์เลเทอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด เป็นที่ปรึกษากฎหมาย บริษัท KBC Advanced Technology Pte Ltd เป็นที่ปรึกษาด้านเทคนิค และบริษัท PricewaterhouseCoopers FAS Ltd. เป็นที่ปรึกษาด้านบัญชี
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ในการพิจารณาเข้าร่วมลงทุนใน TPI ปตท. จะต้องศึกษาทิศทาง กลยุทธ์ แผนงานทางธุรกิจ รวมถึงผลตอบแทนการลงทุนในระยะยาว ซึ่ง ปตท. มีเป้าหมายผลตอบแทนในการลงทุนเช่นเดียวกับการลงทุนในโครงการอื่นๆ นอกจากนี้ ในการเข้าลงทุน ปตท. จะต้องเข้าไปมีบทบาทในการบริหารจัดการธุรกิจของ TPI และบริษัทย่อย เพื่อให้บริษัทมีความแข็งแกร่งมากขึ้น และสามารถแข่งขันได้ภายหลังออกจากแผนฟื้นฟูกิจการ และสิ่งสำคัญสูงสุดที่ ปตท. พิจารณา คือ ปตท. ต้องมีการประเมินและบริหารจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่สามารถรับได้ เพื่อให้การเข้าซื้อหุ้นดังกล่าวเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ถือหุ้นทั้งของ ปตท. และ TPI ซึ่งหากผลการตรวจสอบเป็นที่ยอมรับ ราคามีความเหมาะสม เงื่อนไขเป็นไปตามที่ ปตท. กำหนด รวมทั้ง ปตท. ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปรับโครงสร้างหนี้แล้ว ปตท. จึงจะตัดสินใจเข้าซื้อหุ้นดังกล่าว ซึ่งจะเป็นโอกาสให้ ปตท. ขยายตัวไปสู่ธุรกิจปิโตรเคมีแบบครบวงจร (fully integrated) ได้ทันที บนฐานธุรกิจของ TPI ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งสนับสนุนและเกื้อกูลกันได้ (synergy) ในหลายๆ ส่วน เช่น การจัดหาน้ำมันดิบและวัตถุดิบ (feedstock) การทำการตลาดและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ (marketing and trading) น้ำมันและปิโตรเคมี
อนึ่ง หาก ปตท. ตัดสินใจเข้าร่วมลงทุนใน TPI จะมีการชำระเงินค่าหุ้น ต่อเมื่อ TPI และบริษัทย่อย ออกจากแผนฟื้นฟูแล้ว และเงื่อนไขต่างๆ มีผลสมบูรณ์ครบถ้วน ซึ่งตามกำหนดในแผนฟื้นฟูคาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในปลายปี 2548--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๐ เม.ย. COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๓๐ เม.ย. GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๓๐ เม.ย. PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๓๐ เม.ย. LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๓๐ เม.ย. ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๓๐ เม.ย. ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๓๐ เม.ย. LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๓๐ เม.ย. SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๓๐ เม.ย. STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๓๐ เม.ย. กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน