ก้าวสำคัญของมาร์ซันในประเทศไทย

อังคาร ๑๖ สิงหาคม ๒๐๑๑ ๑๔:๒๐
มาร์ซันได้มีการร่วมมือกับโรลส์-รอยซ์ในฐานะพันธมิตรทางธุรกิจมาอย่างยาวนาน โดยตระหนักดีถึงบทบาทอันสำคัญของซัพพลายเออร์รายต่างๆ ที่มีส่วนในการผลิตเรือคุณภาพระดับโลก

มาร์ซันถือเป็นบริษัทรายสำคัญที่ให้บริการด้านการต่อเรือมาสู่อ่าวไทย โดยเป็นบริษัทที่ต่อเรือและให้บริการแก่เรือเดินสมุทรขนาดใหญ่หลากหลายรูปแบบ รวมถึงเรือเร็วโจมตีที่ขับเคลื่อนด้วยใบพัดของโรลส์รอยซ์ (Rolls-Royce propelled fast assault craft)

กว่า 30 ปีที่ผ่านมาบริษัท มาร์ซัน จำกัด ได้สร้างชื่อเสียงที่แข็งแกร่งในฐานะผู้นำอุตสาหกรรมการต่อเรือที่มีความเชี่ยวชาญในการสร้างเรือนาวิกโยธิน เรือทหารพลเรือน (para military) และเรือพาณิชย์ รวมไปถึงการให้บริการการซ่อมแซมและปรับปรุงยกเครื่อง บริษัท มาร์ซัน ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นฝั่งตะวันออกของปากแม่น้ำเจ้าพระยา ห่างจากกรุงเทพฯ ราว 35 กิโลเมตร โดยได้ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมาระยะหนึ่งแล้วและยังเดินหน้าอย่างต่อเนื่องในการขยายธุรกิจ เพื่อการออกแบบและต่อเรือที่หลากหลายมากยิ่งขึ้นในประเทศไทย

บริษัทมาร์ซัน เป็นบริษัทไทยที่ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2523 โดยเริ่มธุรกิจจากการสร้างเรือเล็กที่ผลิตจากไฟเบอร์กลาสเพียงอย่างเดียว จนกระทั่งกลายเป็นอู่ต่อเรือที่สามารถให้บริการได้ครบวงจร ทั้งในการต่อเรือที่ผลิตจากเหล็กกล้า อะลูมิเนียม และคอมโพไซต์ นอกจากนี้ยังสามารถให้บริการการซ่อมบำรุงเรือเดินสมุทรที่มีความยาวสูงสุดถึง 100 เมตร ทั้งนี้ คุณภาพถือเป็นหัวใจที่บริษัทมาร์ซันให้ความสำคัญ โดยมาร์ซันได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 9001 เป็นเครื่องยืนยันคุณภาพ การให้บริการของมาร์ซัน นั้นรวมถึงการออกแบบและต่อเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ การปรับปรุงหรือเปลี่ยนเครื่องยนต์ การซ่อมบำรุง และการจัดการทางวิศวกรรม นอกจากนี้บริษัทฯ ยังให้บริการด้านการวางแผนการเงินและบริหารจัดการโครงการแบบพร้อมสรรพ

การที่บริษัท มาร์ซันตั้งอยู่ในตำแหน่งยุทธศาสตร์ที่ดีบนชายฝั่งของประเทศไทย อีกทั้งยังอยู่ใกล้กรุงเทพฯ ส่งผลให้มาร์ซันเป็นหนึ่งในผู้นำทางด้านอู่ต่อเรือของประเทศ ตลอดช่วงเวลา 30 ปีที่ผ่านมา มาร์ซันได้ส่งมอบเรือเดินสมุทรลำใหม่ๆ ทั้งสำหรับใช้ในนาวิกโยธิน และในธุรกิจการเดินเรือพาณิชย์ไปแล้วถึง 235 ลำ และยังให้บริการซ่อมบำรุงแก่เรือจำนวนมาก การส่งมอบเรือที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ได้แก่ การส่งมอบเรือส่งกำลังขนาดเล็ก (landing craft) จำนวน 2 ลำ ให้กับกองทัพเรือไทยในปลายปี พ.ศ. 2553 โดยเรือทั้ง 2 ลำนี้ได้รับการออกแบบโดยทีมงานของมาร์ซันเอง และส่งมอบตามสัญญาที่ดำเนินการไว้ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2551

ปัจจุบัน โรงงานของบริษัท มาร์ซัน ประกอบไปด้วยโรงขึ้นรูปโลหะ (fabrication shop) หลายห้อง โรงประกอบเรือขนาด 6,500 ตารางเมตร ท่าเทียบสำหรับต่อเรือ (building berth) ขนาด 7,000 ตารางเมตร ซึ่งเหมาะสำหรับการประกอบติดตั้งเรือที่มีความยาวได้ถึง 100 เมตรลงน้ำ ถัดจากท่าเทียบจะเป็นพื้นที่สำหรับเป็นทางเคลื่อนเรือลงสู่น้ำหรือขึ้นจากน้ำ (slipway) ที่รองรับน้ำหนักเรือได้ถึง 3,000 ตัน

ผลงานความสำเร็จอีกชิ้นหนึ่งของมาร์ซันคือการออกแบบและต่อเรือเร็วโจมตีที่ใช้อลูมิเนียมเป็นวัสดุ ขนาด 18.3 เมตร จำนวน 4 ลำ ให้กับกองทัพเรือไทย และนำไปประจำการที่ฐานทัพเรือสัตหีบ ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ไปทางตะวันออกเฉียงใต้ราว 180 กิโลเมตร ไม่ไกลจากแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของประเทศไทย

ด้วยเครื่องยนต์ดีเซลคู่ที่มีกำลังขับเคลื่อน 956 กิโลวัตต์ ที่เป็นพลังขับเคลื่อนให้เครื่องยนต์วอเตอร์เจ็ตรุ่น Kamewa FF450S ทำให้เรือปฏิบัติการพิเศษ M18 สามารถเคลื่อนตัวด้วยความเร็วสูงสุดถึง 43 น็อต และมีความเร็วในการล่องเรือปกติที่ 35 น็อต เรือดังกล่าวสามารถบรรทุกได้เต็มลำอย่างปลอดภัยแม้ในบริเวณที่น้ำตื้นมาก การหยุดเรืออย่างกระทันหันในกรณีฉุกเฉินสามารถทำได้ในเวลาเพียง 12 วินาที โดยเรือดังกล่าวยังสามารถตั้งหลักได้เอง ระบบการควบคุมเรือเว็คเตอร์สติ๊ก (Vector Stick) ของโรลส์-รอยซ์ทำให้สามารถปฏิบัติการเดินเรือได้ง่ายยิ่งขึ้น ส่งผลให้เรือสามารถบังคับได้โดยง่าย และตอบสนองได้ดีในทุกระดับความเร็วในการขับเคลื่อน

เรือลำดังกล่าวได้รับการออกแบบมาสำหรับภารกิจต่างๆ รวมถึงการป้องกันน่านน้ำ การบังคับใช้กฎหมายตามแนวชายฝั่ง และในทะเล ขณะเดียวกันก็ยังสามารถป้องกันสิ่งก่อสร้างหรือฐานบริเวณท่าเรือ แม่น้ำ พื้นที่ห่างจากฝั่ง และบริเวณชายฝั่ง นอกจากนี้เรือดังกล่าวสามารถใช้ในภารกิจการตรวจตราและการลาดตระเวนได้อีกด้วย เรือ M18 สามารถบรรทุกกองกำลังทหารพร้อมยุทโธปกรณ์ครบครันได้ถึง 18 นาย พร้อมด้วยลูกเรืออีก 3 นาย ทั้งนี้ ยังมีเรือยางอัดลม (RIBS) 2 ลำ ติดตั้งอยู่บนดาดฟ้าท้ายเรือ ซึ่งช่วยเพิ่มความคล่องตัวสำหรับการปฏิบัติการที่หลากหลายในยามจำเป็น และสามารถปล่อยออกหรือเก็บกลับได้ในตอนที่เรือเคลื่อนตัวช้า โดยใช้ทางขึ้นลงเรือที่ลาดเอียง รัศมีปฏิบัติการของเรือเล็กนี้อยู่ที่ 300 ไมล์ทะเล

ทางลาดตรงส่วนหัวเรือที่บังคับด้วยระบบไฮโดรลิกทำให้สามารถส่งกำลังพิเศษขึ้นบกได้เมื่อจำเป็น หรือสามารถกลับขึ้นเรือจากชายหาดพร้อมด้วยยุทโธปกรณ์ต่างๆ ในความเป็นจริงแล้วหัวเรือสำหรับฝ่าน้ำแข็ง หัวเรือที่ทอดขึ้นลงได้ และระบบขับเคลื่อนแบบวอเตอร์เจ็ท จะช่วยทำให้เรือขึ้นเทียบชายหาดได้อย่างรวดเร็ว ทำให้สามารถส่งคนขึ้นฝั่งได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

รจิตร พุทธิพงษ์

ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน ประเทศไทย

โทรศัพท์: 0-2627-3501 ต่อ 204

โทรสาร: 0-2627-3545

Email: [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๔๐ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ตอกย้ำปณิธาน สร้างชีวิต มอบเครื่องเล่นสนาม อุปกรณ์ครุภัณฑ์ พร้อมเครื่องอุปโภคบริโภคแก่เด็กนักเรียนในส่วนภูมิภาค ณ โรงเรียนวัดนาร่อง อ.เมือง
๑๖:๑๔ เฮงลิสซิ่ง จับมือ วิริยะประกันภัย เสนอ ประกันภัยอุ่นใจ ทางเลือกใหม่สำหรับประกันภัยคุ้มครองบ้าน
๑๖:๕๘ ม.วลัยลักษณ์-สมาคมกีฬาตะกร้ออาวุโส-สมาคมกีฬา จ.นครศรีฯ เอ็มโอยูเตรียมระเบิดศึกตะกร้อเยาวชนฮอนด้า ยูเนี่ยน
๑๖:๓๕ หลักสูตรการประยุกต์ใช้ NODE-RED ในงานอุตสาหกรรม เชื่อมต่อ CLOUD PLATFORM NEXIIOT
๑๖:๓๘ ม.วลัยลักษณ์ คว้า 2 รางวัลระดับโลก 3G Award 2024
๑๖:๓๖ YouTrip เปิดอินไซต์ช่วงหยุดยาวคนไทยแห่เที่ยว ญี่ปุ่น-จีน ยอดใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 150%
๑๖:๕๗ คณะการท่องเที่ยวฯ DPU ให้ความสำคัญต่องานบริการ จัด HT Makeup Competition 2024 เพิ่มทักษะแต่งหน้าให้กับ นศ.
๑๖:๔๒ กิจกรรมดี ๆ สำหรับเยาวชนหญิงที่หลงใหลศิลปะการทำอาหาร ในโครงการ Women for Women (WFM) Internship Program ร่วมฝึกงานในร้านอาหารโพทง
๑๕:๒๒ ผู้ถือหุ้น CIVIL โหวตอนุมัติ จ่ายปันผล 0.012 บาท/หุ้น ทิศทางธุรกิจปี 67 เติบโตต่อเนื่อง
๑๕:๐๖ PRM จัดประชุม E-AGM ปี 67 อนุมัติจ่ายปันผล 0.26บ./หุ้น