รวมพลังแสดงจุดยืน “การตอบโต้การปรับเซอร์ชาร์จกระดาษนำเข้าจะกระทบการส่งออกและสังคมแห่งการเรียนรู้ทันที”

พฤหัส ๒๕ สิงหาคม ๒๐๑๑ ๑๔:๐๐
สหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ซึ่งประกอบด้วย 9 สมาคมคือกลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์กระดาษ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมแยกสีแม่พิมพ์เพื่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย สมาคมการพิมพ์ไทย สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย สมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย สมาคมบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกไทย สมาคมส่งเสริมวิชาการพิมพ์ สมาคมการพิมพ์สกรีนไทย และชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย ร่วมกับ 3 สมาคมคือ สมาคมนิตยสารแห่งประเทศไทย สมาคมไทยค้ากระดาษและสมุด สมาคมการค้าวัสดุอุปกรณ์การพิมพ์ไทย รวมพลังคัดค้านการบังคับใช้กฎหมายตอบโต้การทุ่มตลาด (anti-dumping) สินค้ากระดาษ โดยจัดกิจกรรม “รวมพลังเดินเพื่อสุขภาพและอนาคตของอุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย” ขึ้น หวังให้ทุกภาคส่วนตระหนักรู้ถึงผลกระทบจากการกำหนดอัตราเรียกเก็บเงินส่วนต่าง (เซอร์ชาร์จ) จากการนำเข้ากระดาษต่างประเทศ เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมผู้ผลิตกระดาษในประเทศเป็นสำคัญ ย่อมส่งผลให้อุตสาหกรรมการพิมพ์ ผู้ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ต้องแบกรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้นอย่างไม่เป็นธรรม จะมีผลต่อการแข่งขันในภูมิภาคที่ประเทศไทยส่งออกสิ่งพิมพ์สูงขึ้นตลอด 5 ปี หลังจากมีการรณรงค์ลดอัตราภาษีการนำเข้ากระดาษเป็นศูนย์เปอร์เซ็นต์ เมื่อปี 2549 ตลอดจนสามารถผลักดันนโยบายส่งเสริมการอ่านของรัฐบาลให้เป็นวาระแห่งชาติ จนกรุงเทพมหานครได้รับการคัดเลือกให้เป็น World Book Capital จากยูเนสโก ในปี 2556

นายทวีชัย เตชะวิเชียร ประธานสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ เปิดเผยว่า จากมาตรการสนับสนุนและส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เป็นนโยบายเขตการค้าเสรี ส่งผลให้ปัจจุบันมีอัตราเพิ่มขึ้นของตลาดนำเข้าสินค้ากระดาษและกระดาษแข็งเคลือบจากต่างประเทศ และได้มีส่วนสำคัญต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมการพิมพ์ เพราะทำให้ราคากระดาษมีเสถียรภาพและมีปริมาณกระดาษเพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศ ซึ่งปัจจุบันปริมาณการผลิตในประเทศไม่เพียงพอต่อความต้องการอันเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการพิมพ์

แม้การนำเข้ากระดาษแข็งเคลือบจะทำให้ผู้ใช้ได้ประโยชน์ แต่บริษัทผู้ผลิตกระดาษรายใหญ่ในประเทศที่ต้องเผชิญกับการแข่งขันเสรีได้ยื่นจดหมายร้องเรียนต่อกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ขอให้มีการไต่สวนการทุ่มตลาดสินค้ากระดาษและกระดาษแข็งเคลือบที่มีแหล่งกำเนิดจากสาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุ่นและไต้หวัน โดยคณะกรรมการไต่สวนฯ ของกรมการค้าต่างประเทศได้ตั้งอัตราเรียกเก็บเงินส่วนต่าง (เซอร์ชาร์จ) เบื้องต้นจาก 5 ประเทศดังกล่าวในอัตราที่แตกต่างกันไปแล้ว

ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการพิมพ์และผู้ที่เกี่ยวข้องเห็นพ้องต้องกันว่าหากคำร้องการไต่สวนการทุ่มตลาดสินค้ากระดาษดังกล่าวไปถึงบทสรุป จะต้องมีการจัดเก็บเซอร์ชาร์จจริงไม่ว่าในอัตราเท่าใดก็ตาม ย่อมส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตสิ่งพิมพ์ทุกชนิดอันเป็นการสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้บริโภคหรือผู้ใช้สิ่งพิมพ์ เป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมการพิมพ์ทั้งระบบ ความสามารถในการแข่งขันในตลาดการพิมพ์ต่างประเทศจะลดลงจนทำให้มูลค่าการส่งออกสิ่งพิมพ์ลดลง ที่สำคัญยังเป็นการขัดขวางนโยบายส่งเสริมการเรียนรู้ (Anti Knowledge) ที่มุ่งให้ราคาหนังสือมีราคาถูกลง และเป็นอุปสรรคต่อแผนส่งเสริมการอ่านของรัฐบาล นโยบายวาระการอ่านแห่งชาติ และโครงการ Bangkok Read For Life ของกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้รับการประกาศจากองค์กรยูเนสโกให้เป็นเมืองหนังสือโลกในปี 2556 (World Book Capital 2013)

ฉะนั้น การตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-dumping) จึงสร้างวิกฤติให้กับอุตสาหกรรมการพิมพ์ของไทยตลอดจนอุตสาหกรรมการผลิตบรรจุภัณฑ์ (Anti Printing) สื่อสิ่งพิมพ์ นิตยสาร และหนังสือ (Anti Knowledge) ที่ต้องแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้น นำไปสู่ผลเสียหายมหาศาลต่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ของไทย ซึ่งเป็นผู้ส่งออกงานพิมพ์เป็นอันดับต้นๆ ของเอเชียและเป็นฐานการผลิตสิ่งพิมพ์รายใหญ่จากผู้สั่งซื้อต่างชาติ และที่สำคัญขัดขวางการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

ด้วยเหตุนี้เอง จึงเป็นที่มาของการจัด กิจกรรม “รวมพลังเดินเพื่อสุขภาพและอนาคตของอุตสาหกรรมการพิมพ์” ขึ้น ในวันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม 2554 ตั้งแต่เวลา 07.00 น. เป็นต้นไป ณ ลานพระบรมรูปรัชกาลที่ 6 สวนลุมพินี เพื่อเรียกร้องให้ผู้เกี่ยวข้องออกมาแสดงพลัง และประกาศเจตนารมณ์ชัดเจนว่าไม่เห็นด้วยกับการเก็บเซอร์ชาร์จเพิ่ม เพราะเป็นการขัดขวางการพัฒนาอุตสาหกรรมการพิมพ์และการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

คุณมรุต ทวีเพ็ชร / คุณศุภมาศ พูลสวัสดิ์

บริษัท ไอเดียเวิร์คส์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัดอีเมล์: [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๓๓ COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๑๘:๓๖ GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๑๘:๔๔ PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๑๘:๓๙ LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๑๘:๑๒ ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๑๘:๕๗ ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๑๘:๓๖ LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๑๘:๔๖ SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๑๘:๔๙ STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๑๘:๓๕ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน