ผู้เลี้ยงหมูหวั่นน้ำท่วม ดั๊มหมูขายก่อนเวลา เป็นโอกาสผู้บริโภคกินหมูถูกลง คาดกระทบหมูหายช่วงปลายปี

พฤหัส ๐๑ กันยายน ๒๐๑๑ ๑๕:๐๕
นายวีระ ป้อมสุวรรณ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคกลางตอนบน เปิดเผยถึงสถานการณ์สุกรในปัจจุบันว่า ขณะนี้ผู้เลี้ยงสุกรในหลายภูมิภาคเกิดความวิตกเกี่ยวกับสภาวะน้ำท่วมที่อาจจะส่งผลกระทบกับการผลิตสุกร เกษตรกรในหลายพื้นที่ที่เสี่ยงภัยและเคยประสบกับปัญหาน้ำท่วมมาก่อน จึงต้องป้องกันปัญหาด้วยการเร่งจับสุกรออกขายก่อนถึงเวลาและน้ำหนักที่เหมาะสม หากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้ต่อไป ก็จะส่งผลต่อปริมาณสุกรที่จะหายไปในช่วงปลายปีอย่างแน่นอน

“จากภาวะน้ำท่วมที่ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและคาดเดาไม่ได้ ทำให้เกษตรกรกังวลว่าจะเกิดปัญหาขึ้นมาอีกอย่างที่เคยเป็นมา สิ่งที่เกษตรกรจะทำได้ในวันนี้ คือการจับหมูออกขายที่น้ำหนัก 85-90 กก. จากปกติต้องจับที่น้ำหนัก 105-110 กก. ทำให้เกษตรกรเสียโอกาสทางการตลาดประมาณ 15-25 กก.ต่อตัว หรือคิดเป็นมูลค่าถึง 1,200-2,000 บาทต่อตัว หากคำนวนจากราคาที่ถูกควบคุมที่ 81 บาทต่อกก.ในปัจจุบัน และก่อนนี้ในหลายพื้นที่มีปัญหาอากาศแปรปรวน และปัญหาระบาด โดยเฉพาะโรค FMD หรือปากเท้าเปื่อย ที่เริ่มจากเกิดฟาร์มเล็กๆ ในภาคเหนือและภาคอีสาน แล้วลามไปสู่ภาคกลาง ทำให้ฟาร์มใหญ่ๆ บางฟาร์มเสียหายสูงถึง 70-80% หรือบางแห่งก็ตายเกือบทั้งฟาร์ม ทำให้ปริมาณหมูที่จะออกสู่ตลาดน้อยลง ผู้ค้าหลายรายเมื่อไม่มีหมูจำหน่ายก็ขอให้ผู้เลี้ยงหมูขายหมูน้ำหนักก่อนกำหนดที่ประมาณ 90 กก. เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ทำให้สามารถคาดการณ์ได้เลยว่าในช่วงสิ้นปีนี้ ปริมาณสุกรในท้องตลาดจะขาดแคลนอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ผลของความวิตกเกี่ยวกับปัญหาน้ำท่วมและโรคระบาดดังกล่าว ทำให้ปริมาณหมูหนีตายที่ออกมาสู่ตลาดมากขึ้นในปัจจุบัน มีผลต่อราคาขายหมูเป็นหน้าฟาร์มลดลงจาก 81 บาทต่อกก. มาอยู่ที่ 75-77 บาทต่อกก. และเชื่อว่าราคาหมูเนื้อแดงน่าจะลดลงตามราคาหมูเป็น ซึ่งจะเป็นผลดีต่อผู้บริโภคที่จะได้ซื้อหมูเนื้อแดงที่ราคาถูกลงในปัจจุบัน” นายวีระ กล่าว

ขณะนี้ ปริมาณผลผลิตสุกรในภูมิภาคเอเชียโดยรวมลดลงถึง 30 — 40% จากปัญหาโรคระบาดในสุกรรุมเร้า ตั้งแต่โรคที่มีอยู่เดิมอย่าง PRRS แต่ความรุนแรงของโรคเพิ่มขึ้นเพราะไม่เพียงทำให้แม่สุกรแท้งเท่านั้นแต่ยังทำให้แม่สุกรถึงตาย โรคปากเท้าเปื่อยที่จะยิ่งประทุหนักในช่วงฤดูฝน รวมทั้งโรคอุบัติใหม่อย่างโรคพีอีดี (PED) ซึ่งเป็นไวรัสชนิดร้ายแรงจากประเทศจีนและเกาหลีใต้ที่กำลังลุกลาม ก่อความเสียหายแก่แม่สุกรและลูกสุกรจะมีอาการท้องเสียตายยกคอก สาเหตุเหล่านี้ ทำให้สุกรของประเทศไทยลดจำนวนลงที่ 35,000-36,000 ตัวต่อวัน แต่เมื่อผนวกกับการแก้ปัญหาของเกษตรกรด้วยการขายก่อนกำหนด ส่งผลให้ปริมาณสุกรที่ออกสู่ตลาดลดลงเหลือเพียงแค่ 32,000 ตัวต่อวัน.

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๐ เม.ย. มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ตอกย้ำปณิธาน สร้างชีวิต มอบเครื่องเล่นสนาม อุปกรณ์ครุภัณฑ์ พร้อมเครื่องอุปโภคบริโภคแก่เด็กนักเรียนในส่วนภูมิภาค ณ โรงเรียนวัดนาร่อง อ.เมือง
๓๐ เม.ย. เฮงลิสซิ่ง จับมือ วิริยะประกันภัย เสนอ ประกันภัยอุ่นใจ ทางเลือกใหม่สำหรับประกันภัยคุ้มครองบ้าน
๓๐ เม.ย. ม.วลัยลักษณ์-สมาคมกีฬาตะกร้ออาวุโส-สมาคมกีฬา จ.นครศรีฯ เอ็มโอยูเตรียมระเบิดศึกตะกร้อเยาวชนฮอนด้า ยูเนี่ยน
๓๐ เม.ย. หลักสูตรการประยุกต์ใช้ NODE-RED ในงานอุตสาหกรรม เชื่อมต่อ CLOUD PLATFORM NEXIIOT
๓๐ เม.ย. ม.วลัยลักษณ์ คว้า 2 รางวัลระดับโลก 3G Award 2024
๓๐ เม.ย. YouTrip เปิดอินไซต์ช่วงหยุดยาวคนไทยแห่เที่ยว ญี่ปุ่น-จีน ยอดใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 150%
๓๐ เม.ย. คณะการท่องเที่ยวฯ DPU ให้ความสำคัญต่องานบริการ จัด HT Makeup Competition 2024 เพิ่มทักษะแต่งหน้าให้กับ นศ.
๓๐ เม.ย. กิจกรรมดี ๆ สำหรับเยาวชนหญิงที่หลงใหลศิลปะการทำอาหาร ในโครงการ Women for Women (WFM) Internship Program ร่วมฝึกงานในร้านอาหารโพทง
๓๐ เม.ย. ผู้ถือหุ้น CIVIL โหวตอนุมัติ จ่ายปันผล 0.012 บาท/หุ้น ทิศทางธุรกิจปี 67 เติบโตต่อเนื่อง
๓๐ เม.ย. PRM จัดประชุม E-AGM ปี 67 อนุมัติจ่ายปันผล 0.26บ./หุ้น