กรุงเทพธุรกิจเปิดเวทีฟื้น “ยุทธศาสตร์สร้างคน สร้างไทย” หวังกระตุ้นภาคการศึกษาผลิตกำลังคนคุณภาพ สู่ตลาดแรงงานไทย

พุธ ๑๔ กันยายน ๒๐๑๑ ๑๕:๐๙
เมื่อเร็วๆ นี้ หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ จัดเสวนาโต๊ะกลมภายใต้หัวข้อ “ยุทธศาสตร์สร้างคน สร้างไทย” งานนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัย การพัฒนาแรงงานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ (ทีดีอาร์ไอ) ดร.พานิช เหล่าศิริรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ร่วมเผยถึงแนวนโยบายการพัฒนาประเทศ พร้อมด้วย ดร.วิรไท สันติประภพ รองผู้จัดการสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย คุณสุราษฎร์ เลิศภูมิปัญญา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอบีเอ็ม โซลูชันส์ ดีลิเวอรี่ จำกัด คุณบุญชัย ปัณฑุรอัมพร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซาบีน่า จำกัด (มหาชน) และ คุณเพ็ญศรี สุธีรศาสนต์ ผู้อำนวยการ สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย ร่วมพูดคุย และเสนอแนะถึงแนวทางเสริมสร้างทรัพยากร “คน” ให้มีคุณภาพ

ทั้งนี้ ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัย การพัฒนาแรงงานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ(ทีดีอาร์ไอ) กล่าวถึงเป้าหมายเชิงนโยบายในการพัฒนาแรงงานสู่ภาคธุรกิจไทยว่า 1) ยกระดับการเรียนการสอน โดยคำนึงถึงเรื่องการพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานตั้งแต่การเรียนการสอนในห้องเรียน โดยเน้นเรื่องของความสามารถในการสื่อสาร ไปจนถึงการให้โอกาสได้ฝึกงาน และทำงานที่ตนเองมีความถนัด รวมถึงการเสริมสร้างการศึกษาสายอาชีพให้เข้มแข็งมีสมรรถนะสูงเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับประเทศ และในระดับสากล เพื่อยกระดับความรู้ความสามารถต่อยอดเป็นแรงงานที่มีคุณภาพออกสู่ตลาดภาคธุรกิจ 2) พัฒนาในด้านมาตรฐานฝีมือแรงงาน และมาตรฐานวิชาชีพ โดยมีระบบการบริหารจัดการแรงงานที่ดี เสริมสร้างบุคลากรที่มีความสามารถให้ได้แสดงออกถึงศักยภาพเฉพาะตน รวมถึงการพัฒนาอาชีพเพื่อการต่อยอดเป็นธุรกิจอื่นๆ 3) พัฒนาและเสริมสร้างระบบข้อมูลสารสนเทศให้ก้าวล้ำ ควบคู่ไปกับการพัฒนากำลังคนให้เข้มแข็ง พร้อมรับการพัฒนาตนเองสู่การเรียนรู้ในนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น

ทางด้าน ดร.พานิช เหล่าศิริรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ เสนอแนวทางการพัฒนาบุคลากรว่า จากปัญหาที่ระบบการศึกษาไทยผลิตแรงงานไม่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานนั้นแนวทางแรกต้องมีการประสานการทำงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนให้เดินหน้าไปด้วยกัน ในฐานะ “ผู้ผลิตแรงงาน กับ ผู้ใช้แรงงาน” ดังนั้น ควรช่วยกันหาวิธีที่จะทำอย่างไรให้ทั้ง 2 ฝ่ายรับทราบความต้องการของกันและกันมากที่สุด เพื่อประโยชน์ในแง่ทรัพยากรแรงงานที่จะออกสู่ภาคธุรกิจต่อไป โดยภาคเอกชนซึ่งมีบทบาทของ “ผู้ใช้แรงงาน” ควรเข้าไปเสนอแนะแนวทางการเรียนรู้ เช่น กระบวนการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย “ผู้ผลิตแรงงาน” มีหน่วยงานภาคเอกชนเข้าไปสอนวิชาที่อาจไม่มีในตำราเรียน ทั้งเรื่องของหลักธรรมมาภิบาลในระบบธุรกิจ การเรียนรู้เรื่องทักษะการบริการ การมีวินัย การเคารพผู้อื่น เรื่องทีมเวิร์ค การเจรจาต่อรอง หรือการสื่อสารให้เกิดประโยชน์ในเชิงธุรกิจ

คุณบุญชัย ปัณฑุรอัมพร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซาบีน่า จำกัด (มหาชน) ให้ความเห็นเกี่ยวกับคุณภาพการศึกษาไทยในการผลิตทรัพยากรมนุษย์เข้าสู่ตลาดแรงงานในปัจจุบันว่า ทุกฝ่ายต้องช่วยกันขยายผลเรื่องการพัฒนาคนให้มากขึ้น โดยภาคเอกชนอาจเข้าไปร่วมมือจัดทำหลักสูตรผลิตคนที่มีคุณภาพออกสู่สายธุรกิจอย่างตรงความต้องการ เช่น อาจผลักดันให้บุคลากรในระดับบริหารของภาคเอกชนออกไปถ่ายทอดสู่นักศึกษาเป็นโรลโมเดลที่ดีให้พวกเขา ปัจจุบันพบปัญหาเรื่องคุณภาพของแรงงาน ส่วนใหญ่ความสามารถและทักษะการทำงาน มักไม่ตรงกับความต้องการของธุรกิจ เช่น เรียนภาควิชาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศแต่ทักษะการพูดเจรจาไม่ดี บางคนพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ ทำให้แรงงานบางคนพลาดโอกาสได้ร่วมงานกับบริษัทธุรกิจใหญ่ๆ หรือบริษัทต่างชาติ หรืออีกแนวทางให้คิดกลับกัน ลองให้เด็กๆ ที่สอบตกวิชานี้ แต่ได้คะแนนอีกวิชาดี แทนที่จะให้พวกเขาไปนั่งสอบซ่อมวิชาเหล่านั้น ก็ให้ลองหันมาพัฒนาวิชาที่คิดว่าเรียนพอได้ พอไหว หรือดีแล้วให้ดีที่สุดขึ้นไปอีกขั้น ให้เกิดเป็นความถนัดติดตัว เพราะฉะนั้นคนรอบข้างต้องช่วยกันค้นให้เจอว่าเด็กถนัดอะไรที่สุด หรือทำคะแนนวิชาอะไรได้ดีกว่าวิชาอื่นที่เขาไม่ชอบ

สำหรับ คุณเพ็ญศรี สุธีรศาสนต์ ผู้อำนวยการสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย เปิดเผยถึงสถิติระดับความกังวลใจต่อปัจจัยเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจของบริษัทต่างๆ ในช่วง 6 เดือนข้างหน้า (ข้อมูลจากผลการสำรวจ ประจำวันที่ 23 มิ.ย.54) พบว่า ความกังวลใจด้านการขาดแคลนแรงงานที่มีฝีมือมีอัตรามากถึงร้อยละ 48 เมื่อเทียบกับความกังวลใจในด้านการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก และความกังวลใจด้านเสถียรภาพทางการเมืองร้อยละ 46 ในขณะที่ความต้องการจ้างงานเพิ่มของบริษัทมีอัตราเติบโตสูงขึ้น ซึ่งเห็นได้ว่าปัญหาการขาดแคลนกำลังคนที่มีคุณภาพถือเป็นปัจจัยใหญ่ที่ภาคธุรกิจให้ความสำคัญ และถือเป็นเรื่องเร่งด่วนในการคิดแก้ไขปัญหา ดังนั้น ภาคธุรกิจจึงวางนโยบายในการเตรียมรับมือกับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจไทย และเศรษฐกิจโลก โดยหลายหน่วยงานได้เริ่มดำเนินการพัฒนาแรงงานภาคการผลิตของตนให้มีคุณภาพในแง่การเพิ่มประสิทธิภาพของผลงานการผลิต และการบริการในรูปแบบใหม่ๆ พร้อมกับพัฒนาทักษะของพนักงานในองค์กรอย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี เพื่อการลดต้นทุนในสายการผลิต เพื่อรองรับการปรับตัวของภาวะเศรษฐกิจผันผวนต่อไป

กรุงเทพธุรกิจร่วมสนับสนุน “ยุทธศาสตร์สร้างคน สร้างไทย”

การปรับตัวของภาคการศึกษา และภาคธุรกิจต้องเดินเคียงไปด้วยกัน

เพื่อเป้าหมายร่วมกันคือ “คน” และ “คุณภาพ”

ออกข่าวในนามส่วนงานประชาสัมพันธ์ ฝ่ายสื่อสารองค์กร

บริษัท กรุงเทพธุรกิจ มีเดีย จำกัด

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๓๓ COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๑๘:๓๖ GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๑๘:๔๔ PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๑๘:๓๙ LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๑๘:๑๒ ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๑๘:๕๗ ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๑๘:๓๖ LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๑๘:๔๖ SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๑๘:๔๙ STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๑๘:๓๕ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน