“ยุทธศาสตร์สร้างเมือง สร้างไทย” Reinvent Thailand ก้าวใหม่ประเทศไทย

พฤหัส ๒๒ กันยายน ๒๐๑๑ ๐๘:๓๖
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ จัดเสวนาโต๊ะกลมภายใต้หัวข้อ “ยุทธศาสตร์สร้างเมือง สร้างไทย” งานนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.ปรเมธี วิมลศิริ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ดร.ธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึงแนวนโยบายเพื่อพลิกฟื้นประเทศไทยแบบยั่งยืน ร่วมด้วยนักวิชาการ ดร.พีรดร แก้วลาย อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คุณพรรณสิรี อมาตยกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด และ ดร.กุลเดช สินธวณรงค์ กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัทจาร์เค็น ร่วมพูดคุยถึงความเป็นไปได้ในการชุบชีวิตการเมืองไทยเมืองหลวงให้กลับมาสดใสอีกครั้ง

ทั้งนี้ ดร.ธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เสนอแนวคิดเรื่องเมืองอัจฉริยะแห่งอนาคตว่า ประเทศไทยโดยเฉพาะหัวเมืองใหญ่ในแต่ละภูมิภาค ต้องให้ความสำคัญในการพัฒนาเมืองให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ เหมาะสำหรับการลงทุนทางธุรกิจ เพราะจากการสำรวจสถิติการเคลื่อนย้ายประชากรโลกพบว่าในปี 2550 ถือเป็นปีแรกที่ประชากรโลกกว่าครึ่งได้เข้ามาอยู่อาศัยในเมือง และในปี 2573 จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 60 เมื่อเมืองในฐานะระบบหนึ่งของระบบโดยรวม มีผลทำให้ประเทศใดที่ก่อตัวเป็น ‘เมืองอัจฉริยะแห่งอนาคต’ เกิดความได้เปรียบทางเศรษฐกิจมากขึ้น ซึ่งสามารถผ่องถ่าย และเติมเต็มความชาญฉลาดเข้าไปในระบบหลักต่างๆได้ อาทิ การคมนาคมขนส่ง พลังงาน และสาธารณูปโภค การโทรคมนาคม การบริการภาครัฐ ความปลอดภัยสาธารณะ ระบบการศึกษา และสาธารณสุข ทั้งนี้ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ให้กำเนิดเป็นเมืองอัจฉริยะได้นั้น ต้องเริ่มจากเป้าหมาย และยุทธศาสตร์ในระยะยาว โดยเลือกสรรพัฒนาโครงการมูลค่าสูงที่สามารถจัดการได้อย่างรอบคอบ เพื่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีวิธีการ 1)พัฒนายุทธศาสตร์ในระยะยาวสำหรับเมืองของคุณ 2)ลำดับความสำคัญของโครงการมูลค่าสูง 3)การบริหารแบบองค์รวม หรือบูรณาการทั่วทั้งระบบ 4)ใช้บริการ และการดำเนินการอย่างเหมาะสม 5)ค้นหาโอกาสใหม่ที่จะเติบโต และมีความเหมาะสมที่สุด

ทั้งนี้ อาจศึกษาจากตัวอย่างแนวคิดเมืองใหม่ของต่างประเทศ และนำมาปรับใช้ให้เหมาะกับเมือง หรือชุมชนที่ต้องการพัฒนา อาทิ ประเทศสิงคโปร์ถือเป็นเมืองน่าอยู่ มีความรวดเร็วในการตัดสินใจดำเนินการพัฒนา และขึ้นชื่อว่ามีศักยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจมาก ด้วยการจัดการผังเมืองที่ดี ระบบคมนาคมขนส่ง คุณภาพการศึกษา พื้นที่กรีนสาธารณะ (Green Area) การรักษาความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน การอำนวยความสะดวกในการลงทุนของธุรกิจรายย่อย และอีกหลายประเทศที่สามารถเป็นตัวอย่างการสร้างเมืองที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งผู้นำประเทศของเราควรศึกษาถึงกระบวนการคิด และแนวทางในการพัฒนาเมืองอย่างเป็นรูปธรรม นำมาพัฒนาต่อยอด เพื่อรังสรรค์ให้เกิด “Smart City” ขึ้นในประเทศไทย โดยการวางผังเมืองที่ครอบคลุมทุกมิติทั้ง เศรษฐกิจ สาธารณูปโภค โดยเฉพาะเรื่องของสิ่งแวดล้อม เพื่อรองรับการเติบโตเกิดเป็นเมืองที่สมดุล และน่าอยู่ ซึ่งปัจจุบันกรุงเทพมหานครได้มีระบบเทคโนโลยีการสื่อสารที่มีคุณภาพ อาทิ เปิดสายร้องเรียน 1555 เพื่อช่วยกันสอดส่องความเรียบร้อยในสังคม โดยเฉพาะกล้องวงจรปิดตามถนนจุดสำคัญๆ ซึ่งเครื่องมือดังกล่าวสามารถตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ได้ในหลายมิตินอกเหนือจากในเรื่องการจราจร

ทางด้าน ดร. พีรดร แก้วลาย อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ความเห็นเกี่ยวกับการวางโพสิชั่นนิ่ง (positioning) ให้กับเมืองว่า ปัจจุบันกรุงเทพฯ มีการเติบโตขึ้น มีภูมิทัศน์ที่ดีขึ้นกว่าก่อนมาก ซึ่งจากการทำงานวิจัยพบว่าองค์ประกอบ 2 ส่วนที่ต้องให้ความสำคัญในการพัฒนาคือ เมือง และทรัพยากรคน หากดูตัวอย่างของกรุงโซลจะเห็นว่าเขาให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิต และคนมาก มีการปรับเปลี่ยนการใช้พื้นที่ทางเศรษฐกิจ อาทิ การปรับที่ว่าราชการ พื้นที่อยู่อาศัย มาเป็นพื้นที่สาธารณะ เพื่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจได้มหาศาล ดังนั้น หากประเทศไทยกำหนดโพสิชั่นนิ่งของเมืองได้ ความเติบโตทางเศรษฐกิจก็จะเกิดขึ้น ซึ่งปัจจุบันได้มีการปรับพัฒนาพื้นที่หลายแห่ง อาทิ สยามสแควร์ อาร์ซีเอ หรือบริเวณทาวน์อินทาวน์ เป็นพื้นที่สร้างมูลค่าทางธุรกิจ ปรับมาเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมแฟชั่น โดยเฉพาะจ.เชียงใหม่ ถือเป็นเมืองที่มีองค์ประกอบหลายส่วนที่เข้มแข็ง ไม่ว่าจะเป็นความโดดเด่นด้านบุคลากร และเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งในอนาคตสามารถเป็นเมืองต้นแบบในการเป็นเมืองขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจอย่างสร้างสรรค์ได้ เพราะฉะนั้นการวางโพสิชั่นนิ่งให้กับเมืองมีความจำเป็นมาก แต่ต้องให้ความสำคัญกับกระบวนการทำให้เกิดการขับเคลื่อนขึ้น เมืองจะพัฒนาและน่าอยู่ ต้องมีการกำหนดยุทธศาสตร์ร่วมกันจากคนกลุ่มใหญ่ทั้งภาครัฐ เอกชน การศึกษา ชุมชนท้องถิ่น เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมคิด และรักษาการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ ซึ่งต้องอาศัยระยะเวลา และความร่วมมือของหลายภาคส่วน ทั้งนี้ ปัจจุบันบทบาทของท้องถิ่นมีมากขึ้น เห็นได้จากมีคนรุ่นใหม่ที่มีโอกาสได้เห็นอะไรใหม่ๆเข้ามามีบทบาทในการบริหารท้องถิ่นมากขึ้น แต่ยังขาดองค์ความรู้ กระบวนการในการพัฒนาชุมชนที่ถูกต้อง ดังนั้น รัฐบาลต้องเข้าไปให้ความรู้ความเข้าใจในหลักการ เพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการในท้องถิ่น ฟื้นฟูคุณภาพเมืองสาธารณูปโภคที่ดี เพื่อรองรับการพัฒนาทางเศรษฐกิจต่อไป

สำหรับ คุณพรรณสิรี อมาตยกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด มองการเปลี่ยนเมืองในอนาคตว่า เราควรให้ความสำคัญกับการสร้างแบรนด์ (Branding) ให้กับเมือง และชุมชน หาให้เจอว่าแต่ละเมืองมีศักยภาพอะไรที่ต้องการนำเสนอในแง่ของการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ และหน่วยงานไอทีจะเข้าไปเสริมทัพในการช่วยพัฒนาระบบ เช่น ชุมชนเกษตร ทางไอทีเข้าไปช่วยบูรณาการแผนงานต่อยอดเป็น Smart Food Hub หาว่าอะไรที่จะเป็นผลผลิตที่ดีทางเศรษฐกิจได้ต่อไป ดังนั้น หากจะเริ่มพัฒนาเมืองให้เป็นเมืองที่น่าอยู่นั้น ต้องเริ่มศึกษาจากตัวอย่างของหลายๆ ประเทศที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาเมือง ให้ความสำคัญในเรื่องของความปลอดภัย สร้างเมืองที่มีโอกาสในการทำธุรกิจ ซึ่งรัฐบาลต้องกล้าเปลี่ยนวิธีคิด กล้าที่จะคิดใหม่ ทุกฝ่ายต้องมีเป้าหมายร่วมกันทั้งกทม. และหน่วยงานอื่นๆต้องช่วยกันขับเคลื่อนนำไปสู่ความเจริญ โดยรัฐบาลต้องหาจุดดึงดูดร่วมกัน เปลี่ยนตามตัวอย่างความสำเร็จของประเทศอื่น โอกาสทางเศรษฐกิจก็จะมีมหาศาล อาทิ โตเกียว กรุงโซล หรือปักกิ่ง ถือเป็นตัวอย่างประเทศที่รัฐบาลกลางกล้าที่จะคิดไกลในการผลักดันให้มีการจัดกีฬาระดับโลกขึ้น ซึ่งหากประเทศไทยสามารถผลักดันนโยบายการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม หรือมีกิจกรรมอะไรที่ช่วยเสริมศักยภาพได้ ก็จะเป็นผลดีในภาพรวมของเศรษฐกิจไทยต่อไป

กรุงเทพธุรกิจร่วมสนับสนุน “ยุทธศาสตร์สร้างเมือง สร้างไทย”

‘กรุงเทพมหานคร’ กับการขนานนาม ‘Smart City’ สามารถเกิดขึ้นได้

ด้วยการร่วมมือกันพลิกฟื้นแนวความคิดแบบใหม่ สรรค์สร้าง และผลักดัน

เพื่อต่อยอดมนต์เสน่ห์แห่งวัฒนธรรมไทยให้เกิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล

ออกข่าวในนามส่วนงานประชาสัมพันธ์ ฝ่ายสื่อสารองค์กร

บริษัท กรุงเทพธุรกิจ มีเดีย จำกัด

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๕๙ PROS จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2567 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวอนุมัติทุกวาระ
๐๙:๔๙ ซีพี - ซีพีเอฟ สนับสนุนโครงการ สานใจไทย สู่ใจใต้ รุ่นที่ 42 ส่งเสริมเยาวชนรุ่นใหม่ ตอบแทนคุณแผ่นดิน
๐๙:๑๓ นักวิชาการ TEI แนะมุมมองการสร้าง Urban Climate Resilience ต้องเร่งปรับตัวและเตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
๐๙:๓๙ TEI เปิดวงเสวนา บทเรียนและทางออกการจัดการกากแคดเมียม ? พร้อมเร่งแก้ปัญหา โจทย์ใหญ่กากแคดเมียม จัดการอย่างไรให้ปลอดภัยและถูกต้อง
๐๙:๒๔ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง สร้างอาชีพ สร้างชีวิต ร่วมกับกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว มอบอุปกรณ์ประกอบอาชีพให้กับสตรีที่ด้อยโอกาสในโครงการส่งเสริมอาชีพเพื่อสตรี ณ
๐๙:๑๑ เขตปทุมวันกำชับเจ้าของพื้นที่ตั้งวางสิ่งของ-อุปกรณ์การค้าริมกำแพงส่วนบุคคลให้เรียบร้อย
๐๙:๓๔ ม.หอการค้าไทย ปฐมนิเทศสำหรับผู้เข้าอบรมหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านนวัตกรรมการบริการ รุ่นที่ 5 (Top Executive Program for Creative Amazing Thai Services :
๐๙:๐๒ เฮงลิสซิ่ง รับรางวัล หน่วยงานส่งเสริมสุขภาพการเงินพนักงาน ระดับดีเด่น โดย ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
๐๙:๔๕ มูลนิธิเฮอริเทจ (ประเทศไทย) ส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จังหวัดสมุทรสาคร
๐๙:๔๔ พาราไดซ์ พาร์ค ต้อนรับ The Little Gym เปิดสาขาที่ 3