สมาคมโรงกลั่นวอนรัฐสร้างมาตรฐานราคาน้ำมันปาล์ม

อังคาร ๒๗ กันยายน ๒๐๑๑ ๑๑:๓๗
โรงกลั่นวอนรัฐเร่งผลักดัน “มาตรฐานราคาน้ำมันปาล์ม”หวังสร้างความมั่นคงของอุตสาหรกรมทั้งระบบ ผ่าวิกฤตช่วงไตรมาสส่งท้ายปี ชี้อาจเกิดซ้ำรอย หากบริหารจัดการไร้ประสิทธิภาพ

นายอัสนี มาลัมพุช นายกสมาคมโรงกลั่นน้ำมันปาล์ม เปิดเผยว่า สมาคมฯต้องการให้รัฐบาลและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องร่วมกัน กำหนดมาตรฐานราคาน้ำมันปาล์มในประเทศเหมือนกับอุตสาหกรรมน้ำมัน โดยพิจารณาความเหมาะสมของต้นทุนทั้งระบบ ตั้งแต่เกษตรกร โรงสกัด โรงกลั่น สอดคล้องกับราคาในตลาดโลก เพื่อให้อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันอยู่ได้ทั้งระบบ ขณะเดียวกันจะช่วยแก้ไขปัญหาปาล์มน้ำมันขาดแคลนได้อย่างเป็นธรรมกับทุกฝ่ายและยั่งยืน ลดความได้เปรียบเสียเปรียบของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

“การมีมาตรฐานราคาน้ำมันปาล์ม เพื่อหาแนวทางป้องกันการขาดแคลนน้ำมันปาล์ม เพื่อให้ประชาชนมั่นใจว่าจะได้ราคาที่เป็นธรรม อีกทั้งยังช่วยให้ผู้ประกอบการวางแผนธุรกิจได้อย่างเป็นระบบ โดยโครงสร้างต้นทุนมีส่วนประกอบ อาทิ ภาษีมูลค่าเพิ่ม กำไรผู้ค้าปลีก-ผู้ค้าส่ง ค่าขนส่ง ค่าบรรจุภัณฑ์ ค่ากลั่นน้ำมันปาล์ม ฯลฯ ซึ่งจำเป็นต้องอธิบายให้ผู้บริโภครับทราบถึงต้นทุนต่างๆ เหมือนกับการกำหนดสูตรราคาน้ำมันไบโอดีเซล หรือ น้ำมันเบนซินที่มีกับปรับขึ้นลงตามสูตรราคา”นายอัสนี กล่าวและว่า นอกจากนี้ต้องการให้ทุกฝ่ายหันหน้าเข้ามาหารือกัน โดยกำหนดประชุมเป็นประจำ เพื่อเฝ้าติดตามและป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น

ทั้งนี้สต็อกน้ำมันปาล์มในระบบขณะนี้มีอยู่ราว 2.5 แสนตัน มีปริมาณการใช้เฉลี่ย 1.2 แสนตันต่อเดือน ซึ่งไตรมาสสุดท้าย(ตุลาคม-ธันวาคม 2554 )นี้ เป็นช่วงเดียวกับปีที่แล้ว ที่เกิดการคำนวนปริมาณผลผลิตและความต้องการใช้คลาดเคลื่อน จนส่งผลให้น้ำมันปาล์มเกิดการขาดแคลนอย่างหนัก ปัจจุบันคาดว่าสต็อกในช่วงเดือนนี้ จะมีสต็อกเพียงพอกับความต้องการจนถึงไตรมาสแรกของปี 2555 แต่หากไม่มีการบริหารจัดการที่ดี มีการดึงน้ำมันปาล์มไปใช้ในอุตสาหกรรมน้ำมันมาก ไม่มีการกำหนดสัดส่วนที่เหมาะสม อาจจะเกิดภาวะความผันผวนของตลาดพืชน้ำมัน ส่งผลให้ราคาเพิ่มสูงขึ้นได้อีก

นายอัสนี กล่าวว่า ปัจจุบันราคาน้ำมันปาล์มดิบจากหน้าโรงกลั่นอยู่ที่กิโลกรัมละ 30-31 บาท น้ำมันปาล์มจำหน่ายปลีกที่รัฐกำหนดจาก 47 บาท มาเหลืออยู่ที่ลิตรละ(กก.) 42 บาท และมีข่าวว่าภาครัฐกำหนดให้ลดลงเหลือ 38 บาทอีก ปัจจุบันแม้ปริมาณสำรองน้ำมันปาล์มดิบในประเทศสูงเพียงพอต่อการบริโภค แต่ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ราคาน้ำมันปาล์มในตลาดโลกมีแนวโน้มสูงขึ้นมาโดยตลอด การที่รัฐควบคุมราคาขายปลีกที่ไม่เป็นไปตามกลไกตลาดและควบคุมเฉพาะปลายน้ำ ไม่ใช่ทั้งระบบ อาจทำให้เกิดปัญหาขึ้นอีกได้ น้ำมันปาล์มดิบสามารถส่งอกกได้ โดยไม่มีการควบคุม แต่กลับมีการควบคุมการนำเข้า เมื่อราคาในประเทศถูกกดให้ต่ำกว่าราคาตลาดโลก ก็ทำให้เกิดปัญหาคล้ายกับน้ำตาล เพราะไม่มีแรงจูงใจให้ขายในประเทศ

ปัญหาที่ผ่านมารัฐบาลต้องการให้ต้นทาง คือ เกษตรกรได้ราคาสูง และการจำหน่ายปลีกปลายทางน้ำมันพืชมีราคาต่ำ ถือเป็นการบิดเบือนกลไกตลาด ในขณะที่อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มมีต้นทุนหลัก คือ น้ำมันปาล์มดิบ ที่ปรับขึ้นลงตามผลผลิต ความต้องการในตลาดโลก(อ้างอิงตลาดมาเลเซีย) สต็อกในตลาด เป็นต้น ซึ่งไม่สามารถควบคุมได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง