ดนตรีสร้างนักวิทยาศาสตร์รุ่นจิ๋ว

พฤหัส ๒๐ ตุลาคม ๒๐๑๑ ๑๕:๒๒
ดนตรีเป็นมากกว่าความบันเทิง หรือกิจกรรมเสริมยามว่าง วันนี้ดนตรียังช่วยสร้างอัจฉริยะ..... ล่าสุด มูลนิธิวงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพฯ (BSO) ร่วมกับ กลุ่มบริษัท บี.กริม, แผนกเคมีภัณฑ์-บริษัท เมอร์ค จำกัด, ดีเคเอสเอช (ประเทศไทย), เลสชาโก้ (ประเทศไทย), โรงแรมอิมพีเรียลควีนส์ปาร์ค กรุงเทพฯ และ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท) จัดคอนเสิร์ตการกุศล ‘ฟิลฮาร์โมนิกออร์เคสตร้า’ การแสดงคอนเสิร์ตของวงดุริยางค์ดอยซ์ฟิลฮาร์โมนีเมอร์ค นักดนตรีออร์เคสตร้าจากเยอรมนี จำนวน 64 ชีวิต ที่มาพร้อมกับบทเพลงไพเราะกินใจและพลังจิตกุศลอันแรงกล้า ที่หมายมั่นช่วยสร้างสรรค์นักวิทยาศาสตร์น้อยของไทย โดยรายได้ครั้งนี้จะนำไปสนับสนุนโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย โดยมีแขกผู้มีเกียรติ ที่หลงใหลในเสียงดนตรีร่วมงานอย่างคับคั่งกว่า 600 คน ณ โรงเรียนนานาชาติโชรส์เบอรี่ กรุงเทพฯ อาทิ ดร.แฟรงค์ ชตันเก็นแบรก-ฮาเฟอร์คัมพ์ ประธานคณะกรรมการบริหารหุ้นส่วน ของอี เมอร์ค เคจี ประเทศเยอรมนี, ฯพณฯ มร.รอลฟ์ ชูลเซ่ เอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ประจำประเทศไทย, คุณหญิงสุมณฑา และ ดร.สืบแสง พรหมบุญ, วิเชียร เตชะไพบูลย์, ดร.ธาริษา วัฒนเกส อดีตผู้ว่าการของธนาคารแห่งประเทศไทย, พลตรีสกล เอี่ยมตระกูล, ดร.ปัทมาฆะ สุคนธมาน, ดร.วัฒนา ปิติเจริญกุล, พนิต และวิภาศิริ กิจสุบรรณ ฯลฯ

พลังแห่งเสียงเพลงครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อหาทุนสนับสนุนโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ที่ริเริ่มโดยมูลนิธิในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งเป็นโครงการปลูกฝังนิสัยรักวิชาวิทยาศาสตร์แก่เด็กในวัยอนุบาล อายุระหว่าง 3-6 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยที่มีความสำคัญมาก เพราะเป็นวัยที่มีความสามารถในการเรียนรู้และการจดจำสูง จึงสมควรวางรากฐานที่ดี ให้มีทัศนคติและทักษะพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ สำหรับปีนี้โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย วางแผนการขยายผลสู่โรงเรียนอนุบาลกว่า 3,000 แห่งทั่วประเทศ ให้เด็กกล้าคิด กล้าทำ กล้าพูดและทำให้เด็กเห็นว่าวิทยาศาสตร์เป็นวิชาน่าสนใจ นอกจากนี้ยังเป็นความหวังของประเทศ ที่จะสร้างนักวิจัย นักประดิษฐ์หน้าใหม่ๆ ที่อาจจะกลายเป็นนักวิทยาศาสตร์ ผู้ยิ่งใหญ่ในอนาคตอันใกล้

คอนเสิร์ตครั้งนี้เริ่มด้วยบทเพลงของคีตกวีเอกโลก อย่างบีโธเฟน ในเพลง Leonore Ouverture No 3 โดยมี ผู้อำนวยเพลง คือ มร.วูล์ฟกัง เฮนเซล วาทยกรฝีมือดีชาวเยอรมัน และบทเพลงแห่งฝันอีกมาก อาทิ Hungarian Dance No1, Hungarian Dance No.5, Ouverture The Marriage of Figaro, Waltz and Polonaise from Eugen Onegin ฯลฯ ส่วนไฮไลต์อยู่ที่การแสดงเดี่ยวเป่าฟลุตโดยศิลปินชาวออสเตรีย มร.เฮนริก วีซี่ส์ ที่ทำให้ผู้ชมทั้งฮอลล์ ได้ค้นพบศักยภาพของบทเพลงอันไพเราะ ทั้งจากอากัปกริยาตลอด การแสดง ที่เห็นถึงความสำคัญในการสื่อสารกับวงออร์เคสตร้า ตลอดจนการเคลื่อนไหว โยกย้ายส่ายตัว ไปมาขณะเป่าฟลุต บางช่วงของการโซโล วีซี่ส์เป่าฟลุตด้วยน้ำเสียงที่เบามากๆ ลื่นไหล เป็นลูกเล่นลูกล้อ กับวง ราวกระซิบ ที่สะกดผู้ชมทั้งฮอลล์พากันเงี่ยหูฟังด้วยใจจดจ่อ การแสดงโชว์ ปิดท้ายด้วยการอัญเชิญบทเพลงพระราชนิพนธ์ “คำหวาน” ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มาบรรเลง เพื่อเป็นการเผยแพร่ พระอัจฉริยภาพด้านดนตรี และเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสที่ปีมหามงคล เพลงพระราชนิพนธ์นี้ มีจังหวะ รุกเร้า อารมณ์เพลงหวานๆ ปนเศร้าๆ ในลีลาที่ไม่เร็วนัก และปิดท้ายโดย ฯพณฯ มร.รอลฟ์ ชูลเซ่ เอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประจำประเทศไทย ขึ้นเป็นประธานมอบช่อดอกไม้แก่ มร.วูล์ฟกัง เฮนเซล ผู้อำนวยเพลงของวงฯ ก่อนที่จะแยกย้ายกันกลับบ้าน ด้วยความประทับใจทั้งความไพเราะของ การบรรเลงเพลงและได้ทำการกุศลร่วมกันในงานนี้

สัมผัสอรรถรสแห่งพลังทางดนตรี พร้อมร่วมสานฝัน..สร้างความหวัง..สรรค์สร้างนักวิทยาศาสตร์ไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๒๙ ม.กรุงเทพ เห็นถึงคุณค่าพลังงานที่ยั่งยืนเชิญผู้เชี่ยวชาญมาสร้างสกิลตรง
๑๖:๐๗ แอลจีเผยผลประกอบการไตรมาสแรกของปี 2024 ผลักดันธุรกิจด้วยนวัตกรรมพร้อมรักษาสมดุลระหว่างธุรกิจหลักและการเติบโตในอนาคตเพื่อสร้างโอกาสใหม่ๆ
๑๖:๓๕ ฮั้วฟง รับเบอร์ฯ (HFT) จัดประชุมผู้ถือหุ้นปี 2567 ผถห.โหวตผ่านฉลุยทุกวาระ
๑๖:๕๒ ซีเอ็ด เปิดสาขาใหม่ที่ตราด! บริจาคหนังสือ 2 แสนบาท หนุนการอ่านในท้องถิ่น
๑๖:๕๙ ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 มีมติอนุมัติจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น ทั้งปีที่อัตราหุ้นละ 0.52
๑๖:๕๙ ปรับการนอนหลับของคุณให้มีคุณภาพดีขึ้นด้วยฟีเจอร์ใน HUAWEI Band 9
๑๖:๓๔ ไฮเออร์ ประเทศไทย โชว์ศักยภาพแกร่ง พาเหรดทัพนวัตกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ร่วมจัดแสดงในงาน China Enterprise Product Resources
๑๖:๑๐ สถานทูตอิตาลี เปิดศูนย์รับคำร้องขอวีซ่าแห่งใหม่ในกรุงเทพ
๑๖:๕๒ CHAYO จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ไฟเขียวทุกวาระ
๑๖:๑๓ ผู้บริหารบางจากฯ แชร์แนวทางขับเคลื่อนการรับมือวิกฤตสภาพภูมิอากาศ 2 เวที