ต่างชาติมั่นใจอุตฯรถยนต์ไทยฟื้นตัวเร็ว

พุธ ๐๒ พฤศจิกายน ๒๐๑๑ ๑๑:๓๑
ฟรอสต์แอนด์ซัลลิแวน องค์กรให้คำปรึกษาและวิจัยระดับโลก เปิดเผยว่าบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ในไทยหลายรายจะสามารถกลับมาผลิตรถยนต์ได้อีกครั้งในช่วงไม่กี่สัปดาห์นี้

มร. วิเวก ไวยา ผู้อำนวยการกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ บริษัท ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน องค์กรให้คำปรึกษาและวิจัยระดับโลก ได้ให้ความเห็นว่า บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิจำกัด ซึ่งได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดนั้นคาดว่าจะกระทบกับยอดการผลิตร 10,000-15,000 คัน ในระหว่างที่มีการปิดโรงงานไปกว่า 5 สัปดาห์ ขณะที่บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ รายใหญ่ในประเทศอย่างโตโยต้าและอีซูซุนั้นได้รับผลกระทบทางอ้อมคือการขาดแคลนชิ้นส่วนในการผลิต เนื่องจากมีโรงงานผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมด้วย คาดว่าในส่วนของโตโยต้านั้นจะสูญเสียการผลิตราว 30,000-35,000 คัน ส่วนอีซูซุนั้นจะ สูญเสียการผลิตราว 10,000-15,000 คัน

“และหากผู้ผลิตรถยนต์หลายรายยังไม่สามารถกลับมาผลิตรถยนต์ได้ตามปกติภายใน 2-3 สัปดาห์นี้ คาดว่าไทยจะสูญเสียกำลังการผลิตรวมประมาณ 80,000-100,000 คัน แต่ก็คาดว่าผู้ผลิตก็น่าจะสามารถกลับมาเพิ่มกำลังการผลิตทดแทนได้ ด้วยการเพิ่มชั่วโมงการทำงานและใช้กำลังการผลิตในโรงงานทุกแห่งอย่างเต็มที่ในช่วงระยะเวลา 2 เดือนจนถึงสิ้นปีนี้” มร. ไวยากล่าว

ส่วนผลกระทบต่อการส่งออกในตลาดต่างประเทศนั้น ในปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีการส่งออกราว 54-55% ของจำนวนรถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตได้ มีการส่งออกในประเทศออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, ยุโรป, ตะวันออกกลาง, เม็กซิโก, แอฟริกาใต้ และบรูไน โดยรุ่นรถที่จะถูกส่งออกจากผู้ผลิตในไทยที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วม เช่น ฮอนด้า แจ๊ซ, ซีวิค, ซิตี้ และแอคคอร์ด รวมถึง รถกระบะไฮลักซ์ของโตโยต้าด้วย

ทั้งนี้ การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานเนื่องจากการเกิดน้ำท่วม เป็นเหตุผลหลักสำหรับผู้ผลิตจำนวนมากที่ต้องหยุดสายการผลิตรถยนต์ จึงได้มีการเสนอแนะแนวทางการฟื้นฟูปัญหาของซัพพลายเชน ด้วยการหาแนวทาง 3 ข้อคือ การเพิ่มระยะเวลาการสต๊อกชิ้นส่วนเพื่อให้ผู้ผลิตมีสต๊อกเพียงพอสำหรับอย่างน้อย 1 เดือน หากมีการหยุดชะงักใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาชิ้นส่วน

การใช้กลยุทธ์การจัดหาชิ้นส่วนจากซัพพลายเออร์หลายแหล่งที่ไม่เพียงแต่จากซัพพลายเออร์หลายบริษัทเท่านั้น แต่ควรจะเลือกใช้ซัพพลายเออร์จากหลายภูมิภาคเพื่อช่วยลดผลกระทบลงหากสถานการณ์น้ำท่วมเกิดขึ้นอีกครั้ง และสุดท้ายคือการลดความเสี่ยงของห่วงโซ่อุปทานที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนด้วยการเลือกสถานที่ทางภูมิศาสตร์ที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติน้อย

อาทิ ผู้ผลิตรถยนต์ในประเทศญี่ปุ่นที่ได้ไปลงทุนในต่างประเทศที่มีความเสี่ยงต่อภัยพิบัติน้อย โดยใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศที่ไปตั้งฐานการผลิตราว 80-90% ส่วนชิ้นส่วนอื่น ๆ อาจจะนำเข้าจากญี่ปุ่นหรือประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคแทน

"การผลิตรถยนต์ในประเทศไทย จะได้รับผลกระทบในระยะสั้น ซึ่งเกิดจากการขาดชิ้นส่วนรถยนต์ซึ่งเป็นผลมาจากน้ำท่วม แต่ไม่ได้มีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตในระยะกลางถึงระยะยาว ทำให้ประเทศไทยยังคงเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ในภูมิภาคนี้"

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗ พ.ค. สุรีย์พร คลินิก เปิดตัวตึกสูงที่สุดแห่งวงการคลินิกสถาบันเสริมความงาม ฉลอง 20 ปีความสำเร็จพร้อมยกระดับชูเทคโนโลยีล้ำสมัย Volformer
๑๗ พ.ค. ปตท.สผ. จัดงานประชุม SSHE Forum 2024 ส่งเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัยในการทำงาน
๑๗ พ.ค. บมจ. เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) แนะนำ ชุดล็อคประตูกลอนแม่เหล็กไฟฟ้า จากแบรนด์ HIP
๑๗ พ.ค. ซัมซุง อัปเกรดประสบการณ์การชมทุกมหรรมกีฬา ด้วยนวัตกรรม AI TV สุดล้ำ ชัดทุกแมตซ์เหมือนเชียร์ติดขอบสนาม
๑๗ พ.ค. ไทยพาณิชย์ปักหมุดผู้นำดิจิทัลแบงก์ นำ AI เสริมแกร่ง 360 องศา เปิด 3 นวัตกรรม AI ครั้งแรก! สร้างปรากฏการณ์ใหม่กลุ่มสินเชื่อรายย่อย และ Digital
๑๗ พ.ค. หัวใจเต้นช้า โรคหัวใจที่มักถูกมองข้าม
๑๗ พ.ค. DDD โชว์งบ Q1/67 กวาดกำไรทะยาน 317% YoY พร้อมลุยขยายตลาดสินค้าไลฟ์สไตล์ อัพผลงานปีนี้โตสวย
๑๗ พ.ค. PCC เปิดงบ Q1/67 รายได้โต 14.25% ยอดขายสินค้าหม้อแปลงไฟฟ้า - อุปกรณ์ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ เพิ่มขึ้น มั่นใจรายได้ปีนี้โต 10%
๑๗ พ.ค. บางจากฯ สานต่อพันธกิจสนับสนุนด้านกีฬาอย่างเป็นมิตรต่อโลก ร่วมจัดกิจกรรมเดิน-วิ่ง Olympic Day 2024 Together, For A Better
๑๗ พ.ค. บัตรเครดิต ttb ช้อปคุ้ม อิ่มครบ ได้มากกว่า รับ Magic Gift Voucher รวมมูลค่าสูงสุด 1,500 บาท ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลทั้ง 5