มาตรการรองรับการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบจากวิกฤตอุทกภัย

อังคาร ๐๖ ธันวาคม ๒๐๑๑ ๑๗:๒๓
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจ การคลัง เปิดเผยว่าสืบเนื่องจากวิกฤตอุทกภัยในปี 2554 ได้สร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจไทยด้าน ภาคการผลิต ซึ่งประกอบด้วย ภาคการเกษตร อุตสาหกรรม บริการและการท่องเที่ยว สำนักงานเศรษฐกิจ การคลัง (สศค.) ได้ประเมินมูลค่าความเสียหายเบื้องต้นอยู่ที่ 127,162 - 254,324 ล้านบาท และส่งผลกระทบต่อภาวะการจ้างงาน ซึ่งสอดคล้องกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้รายงานวิกฤตอุทกภัยทำให้อัตราการว่างงาน ในไตรมาสที่ 4 อยู่ที่ระดับร้อยละ 1.8 - 2.3 หรืออยู่ที่ประมาณ 730,000 - 920,000 คน และส่งผลให้ประชาชนมีรายได้ลดลงไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ โดยคาดว่าอาจมีประชาชนบางส่วนที่หันไปพึ่งพาแหล่งเงินกู้นอกระบบเพิ่มมากขึ้น

สศค.ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว และได้เตรียมการแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องตามแผนแม่บทการเงินระดับฐานรากที่มีเป้าหมายสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจโดยผ่านกระบวนการสร้างความเข้มแข็งขององค์กรการเงินภาคประชาชนให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ และพัฒนาบทบาทของสถาบันการเงินเฉพาะกิจเพื่อเติมเต็มช่องว่างในระบบการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของประชาชนและลดการพึ่งพาแหล่งเงินทุนนอกระบบ ทั้งนี้ สศค. ได้มีมาตรการรองรับการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบโดยได้ร่วมกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 5 แห่ง เปิดจุดบริการสำหรับรับปรึกษาปัญหาหนี้นอกระบบของประชาชนและพิจารณาให้สินเชื่อแก่ประชาชนในทุกสาขาทั่วประเทศ เพื่อเตรียมพร้อมในการปล่อยสินเชื่อให้ลูกหนี้นอกระบบในพื้นที่โดยตรงได้ทันที ตามหลักเกณฑ์ และกลไกของแต่ละสถาบันการเงินที่มีเครื่องมือสำหรับการปล่อยสินเชื่ออยู่ในระบบปัจจุบัน ซึ่งสถาบันการเงินเฉพาะกิจจะมีรูปแบบและหลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือที่หลากหลาย ซึ่งประชาชนที่มีความสนใจสามารถติดต่อขอสินเชื่อแต่ละแห่งผ่านสายด่วนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ดังนี้

- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โทร. 02 280 0180 ต่อ 2352

- ธนาคารออมสิน โทร. 1115

- ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย โทร. 1302

- ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย โทร. 1357

- ธนาคารอาคารสงเคราะห์ โทร. 02 645 9000

สำหรับมาตรการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้ออกมาตรการที่สำคัญ เช่นธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรได้ขยายเวลาการชำระหนี้เงินกู้เดิมเป็นเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปีบัญชี 2554 - 2556 หากลูกค้าเสียชีวิตจากอุทกภัยให้จำหน่ายลูกหนี้ออกจากบัญชีเป็นหนี้สูญ ธนาคารออมสิน พักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย หรือพักชำระหนี้เงินต้นไม่เกิน 6 เดือน ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยให้ผ่อนปรนการชำระหนี้ ทั้งส่วนเงินต้นและกำไรเป็นระยะเวลา 3 เดือน ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยให้วงเงินกู้เพื่อปรับปรุง ซ่อมแซม ฟื้นฟูกิจการ และ/หรือเป็นเงินทุนหมุนเวียน รายละไม่เกิน 1,000,000 บาท ธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยและเปิดโอกาสให้กู้เพิ่มเติม เป็นต้น นอกจากนี้ สถาบันการเงินของรัฐ ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ได้มีโครงการให้สินเชื่อ ที่อยู่อาศัยกรุงไทยสู้อุทกภัย โดยปลอดชำระเงินต้นไม่เกิน 6 เดือน สำหรับผู้ได้รับความเสียหาย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง