สถาบันคุ้มครองเงินเสริมสร้างความอุ่นใจ...ปลอดภัยทางการเงิน

พฤหัส ๑๒ มกราคม ๒๐๑๒ ๑๕:๔๗
สถาบันคุ้มครองเงินฝากเสริมสร้างความปลอดภัยทางการเงิน ปฏิบัติภารกิจดูแลจ่ายเงินคืนผู้ฝากเมื่อเกิดกรณีวิกฤติ พร้อมยังเป็นผู้ทำหน้าที่ชำระบัญชีจ่ายคืนเงินส่วนที่เหลือ หากมีเงินฝากเกินวงเงินที่กฎหมายกำหนด

นายสิงหะ นิกรพันธุ์ ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองเงินฝาก (สคฝ.) เปิดเผยว่าที่ผ่านมา วิกฤตการณ์ทางการเงินสหรัฐอเมริกาเมื่อปี พ.ศ. 2551 ถือเป็นวิกฤติการเงินครั้งใหญ่อีกครั้งที่ลุกลามไปทั่วโลก ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจทั้งทางด้านการเงินและการคลัง โดยมีสาเหตุหลักมาจากปัญหาสินเชื่อภาคอสังหาริมทรัพย์ที่มีความน่าเชื่อถือต่ำ(ซับไพร์ม) ในสหรัฐอเมริกา ที่ได้แผ่ขยายลุกลามไปยังสินเชื่อประเภทอื่นๆ และมีผลกระทบต่อฐานะการดำเนินงานของสถาบันการเงิน จนนำไปสู่การขาดความเชื่อมั่นต่อสถาบันการเงิน รวมทั้งปัญหาสภาพคล่องในระบบการเงินทั่วโลก

ดังนั้น การประกันเงินฝากหรือการกำหนดจำนวนเงินคุ้มครองไว้ชัดเจนเป็นวิธีการหนึ่งของรัฐบาลในการคุ้มครองผู้ฝากเงินส่วนใหญ่ว่าจะได้รับคืนทุกบาททุกสตางค์ อันจะบรรเทาความตื่นตระหนกเมื่อมีข่าวเกี่ยวกับสถาบันการเงิน ผู้ฝากเงินไม่มีความจำเป็นต้องเร่งถอนเงินที่อาจทำให้เกิดปัญหาขาดความเชื่อมั่นลุกลามต่อเนื่องในลักษณะลูกโซ่เหมือนในอดีต การคุ้มครองเงินฝากจึงเป็นองค์ประกอบหนึ่งของความปลอดภัยทางการเงิน

นายสิงหะกล่าวเพิ่มเติมว่า การมีสถาบันคุ้มครองเงินฝาก (สคฝ.) เป็นผู้ทำหน้าที่จ่ายเงินคืนให้แก่ผู้ฝากเมื่อสถาบันการเงินปิดกิจการ จะมีข้อดีกว่าเดิมคือ ผู้ฝากจะได้เงินคืนอย่างรวดเร็วในจำนวนไม่เกิน 50 ล้านบาทในปี 2554 และ1 ล้านบาทหลังเดือนสิงหาคม 2555 จากนั้นจะได้รับเงินคืนส่วนที่เหลือภายหลังการชำระบัญชี ที่ไม่น่าจะมีกระบวนที่ยาวนานดังเช่นแต่ก่อน

โดยเมื่อสถาบันการเงินถูกเพิกถอนใบอนุญาต กฎหมายกำหนดให้สถาบันคุ้มครองเงินฝากประกาศภายใน 40 วันให้ผู้ฝากเงินมายื่นเรื่องเพื่อขอรับเงิน นับแต่วันที่สถาบันการเงินถูกเพิกถอนใบอนุญาต โดยผู้ฝากมีเวลาในการยื่นขอรับเงินภายใน 90 วันนับแต่วันประกาศ เมื่อผู้ฝากยื่นคำขอแล้ว สถาบันต้องจ่ายเงินให้ผู้ฝากภายใน 30 วันเมื่อนำหลักฐานมาแสดงครบถ้วน ซึ่งการที่กฎหมายกำหนดระยะเวลาการจ่ายคืนผู้ฝากไว้อย่างชัดเจน ก็เพื่อให้ผู้ฝากเกิดความมั่นใจว่าหากสถาบันการเงินถูกเพิกถอนใบอนุญาตแล้วจะได้รับเงินฝากคืนอย่างรวดเร็ว

ทั้งนี้ เมื่อจ่ายคืนผู้ฝากแล้ว สถาบันคุ้มครองเงินฝากก็ยังทำหน้าที่เป็นผู้ชำระบัญชี เพื่อที่จะนำทรัพย์สินต่างๆเหล่านั้นมาแปลงเป็นเงินสด เพื่อแบ่งให้กับผู้ฝากเงินที่มีวงเงินเกินกว่าการคุ้มครองอีกทีหนึ่งดังนั้น ภารกิจของสถาบันคุ้มครองเงินฝาก เป็นการช่วยบรรเทากรณีเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ ซึ่งนำไปสู่การเสริมสร้างเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน และยังช่วยลดภาระของภาครัฐในการเข้าแทรกแซงหรือช่วยเหลือสถาบันการเงินที่ประสบปัญหาอีกด้วย

สำหรับผู้สนใจรายละเอียดต่างๆของสถาบันคุ้มครองเงินฝากสามารถติดตามหรือเสนอความคิดเห็นได้ทาง www.dpa.or.th หรือ 02-272-0400

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๓๓ COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๑๘:๓๖ GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๑๘:๔๔ PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๑๘:๓๙ LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๑๘:๑๒ ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๑๘:๕๗ ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๑๘:๓๖ LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๑๘:๔๖ SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๑๘:๔๙ STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๑๘:๓๕ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน