โครงการกิจกรรมส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กร ค่ายแสงแห่งอนาคต..แสงซินโครตรอน

จันทร์ ๒๖ มีนาคม ๒๐๑๒ ๑๖:๕๘
ด้วยเว็บไซต์วิชาการดอทคอม (www.vcharkarn.com) เว็บไซต์ด้านการศึกษาไทย มุ่งสร้างและถ่ายทอดความรู้ให้แก่สังคมไทย โดยไม่มุ่งหวังสิ่งใดตอบแทน และมุ่งส่งเสริมให้สังคมไทยเป็นสังคมวิทยาศาสตร์ มีความประสงค์จะร่วมกับ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) จัดกิจกรรมค่ายแสงแห่งอนาคต..แสงซินโครตรอน ให้แก่เยาวชนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายทั่วประเทศที่มีพื้นฐานความสนใจด้านฟิสิกส์ ในปี 2555 เป็นครั้งแรก โดยจะคัดเลือกเยาวชนผ่านการเขียนเรียงความ จำนวน 20 คน โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

ค่ายแสงแห่งอนาคต..แสงซินโครตรอน เพื่อเป็นค่ายที่มุ่งเน้นในการสร้างความรู้ความเข้าใจด้านแสงซินโครตรอน รู้จักเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน การนำไปใช้ประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ซึ่งการที่เยาวชนได้เรียนรู้ถึงอุปกรณ์ทางวิทศาสตร์ที่ทันสมัย รวมทั้งได้สัมผัสบรรยากาศการทำงานภายใน “ห้องปฏิบัติการแสงสยาม” จึงถือเป็นการเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีแสงซินโครตรอนให้แก่เยาวชนไทย ร่วมสร้างแรงจูงใจ และกระตุ้นในการพัฒนาตนเองสู่การศึกษาต่อในด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีขั้นสูงต่อไปในอนาคต ทั้งยังสร้างโอกาสให้เยาวชนที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เผยแพร่ความรู้ และถ่ายทอดประสบการณ์ที่ได้รับจากกิจกรรมครั้งนี้ต่อไป

ความสำคัญและที่มาของโครงการ

ห้องปฏิบัติการแสงสยาม สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) มีภารกิจหลักในการให้บริการแสงซินโครตรอนเพื่องานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีของประเทศ ทั้งยังเป็นห้องปฏิบัติการขนาดใหญ่ด้านเทคโนโลยีแสงซินโครตรอน ซึ่งถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ ทั้งยังได้ผลิตผลงานวิจัยที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศ และเพิ่มองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ให้กับวงการวิทยาศาสตร์โลก นอกจากนั้นยังดำเนินพันธกิจหลักในการสร้างบุคคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และส่งเสริมความตระหนักทางด้านวิทยาศาสตร์แก่เยาวชน และประชาชนทั่วไปอย่างต่อเนื่อง

เพื่อเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจด้านแสงซินโครตรอนสู่กลุ่มเป้าหมายนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปในพื้นที่สื่อสังคมออนไลน์ที่มีเครือข่ายได้อย่างกว้างขวาง โดยจัดโครงการนำร่องเปิดโอกาสให้เยาวชนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายทั่วประเทศที่มีพื้นฐานความสนใจด้านฟิสิกส์ ได้เรียนรู้จักเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน การนำไปใช้ประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ซึ่งการที่เยาวชนได้เรียนรู้ถึงอุปกรณ์ทางวิทศาสตร์ที่ทันสมัย รวมทั้งได้สัมผัสบรรยากาศการทำงานภายใน “ห้องปฏิบัติการแสงสยาม” เพื่อเป็นการเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีแสงซินโครตรอนให้แก่เยาวชนไทย ร่วมสร้างแรงจูงใจ และกระตุ้นในการพัฒนาตนเองสู่การศึกษาต่อในด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีขั้นสูงต่อไปในอนาคต ทั้งยังสร้างโอกาสที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เผยแพร่ความรู้ และถ่ายทอดประสบการณ์ที่ได้รับจากกิจกรรมครั้งนี้ต่อไป ส่วนงานประชาสัมพันธ์ จึงได้ร่วมกับ เว็บไซต์วิชาการดอทคอม จัดโครงการโครงการ “ค่ายแสงแห่งอนาคต..แสงซินโครตรอน” โดยคัดเลือกเยาวชนจากทั่วประเทศ ที่ส่งผลงานเรียงความเพื่อกระตุ้นความรู้ความเข้าใจด้านวิทยาศาสตร์ หัวข้อ “เรียนฟิสิกส์ สนุกอย่างไร?” ผู้ผ่านคัดเลือกจะได้เข้าร่วมเดินทำกิจกรรมสัมผัสเทคโนโลยีแสงซินโครตรอน ณ ห้องปฏิบัติการแสงสยาม จังหวัดนครราชสีมา

วัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรม

1. เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กรของการเป็นห้องปฏิบัติการวิจัยด้านเทคโนโลยีแสงซินโครตรอนระดับชาติ

2. สร้างความรู้ความเข้าใจด้านเทคโนโลยีแสงซินโครตรอนสู่เยาวชน ในยุคสังคมออนไลน์ Social Media ผ่านเว็บไซต์ที่เป็นแหล่งรวมทางด้านวิชาการ

3. เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนผู้สนใจด้านฟิสิกส์ ได้สัมผัสกับการบรรยากาศการทำงานภายในสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน

4. เพื่อสร้างเครือข่ายระหว่าง สถาบันฯ ร่วมกับสื่อออนไลน์ที่มีผลงานสู่สังคมอย่างต่อเนื่อง เช่น เว็บไซต์วิชาการ กับเยาวชน และประชาชนทั่วประเทศ

กลุ่มเป้าหมาย

เป้าหมายหลัก

เยาวชนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สายวิทยาศาสตร์จากทั่วประเทศ ที่มีความสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์ ผ่านเว็บไซต์วิชาการดอทคอม ซึ่งมีสถิติผู้เข้าชมกว่า 53,000 Uip/วัน

เป้าหมายรอง

นักเรียน นักศึกษา นักวิชาการ และประชาชนทั่วไปในสังคมออนไลน์ Social Media ซึ่งเป็นสื่อที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้รวดเร็วและมีการขยายเครือข่ายกว้างขวาง

หลักเกณฑ์การคัดเลือก

เป็นเยาวชนที่กำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สายวิทยาศาสตร์ จำนวน 20 คน จากทั่วประเทศ โดยพิจารณาจากการเขียนเรียงความ หัวข้อ “เรียนฟิสิกส์ สนุกอย่างไร?” (ใช้ตัวอักษร Angsana New 16 ความยาว 1 หน้ากระดาษ A4) โดยผู้ที่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

คุณสมบัติผู้เข้าร่วมกิจกรรม “ค่ายแสงแห่งอนาคต..แสงซินโครตรอน”

1. เยาวชนที่ศึกษาอยู่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สายวิทยาศาสตร์และมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนฟิสิกส์

2. เยาวชนที่มีความสนใจศึกษาต่อ และทำงานเกี่ยวกับด้านฟิสิกส์

3. เยาวชนจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองให้ร่วมกิจกรรม

4. เยาวชนต่างจังหวัดที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถเดินทางมีขึ้นรถ ณ จุดนัดหมายเองได้ รวมทั้งไม่มีปัญหาด้านการเดินทาง และที่พัก

5. เยาวชนที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมกิจกรรมฯ มีสุขภาพแข็งแรงไม่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินกิจกรรม

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1. เยาวชนได้รับความรู้ความเข้าใจ ทางด้านเทคโนโลยีแสงซินโครตรอนผ่านการสืบค้นข้อมูลทางสื่อสารออนไลน์ และทราบทัศนคติทางด้านการเรียนฟิสิกส์ของเยาวชนไทย

2. เยาวชนผู้สนใจด้านวิทยาศาสตร์ และด้านฟิสิกส์ ได้สัมผัสกับการบรรยากาศการทำงานภายในสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน

3. สร้างเครือข่ายสื่อมวลชน ระหว่างสถาบันฯ กับสื่อสารออนไลน์ทางด้านวิชาการที่มีผลงานสู่สังคมอย่างต่อเนื่อง

4. สื่อมวลชนเข้าร่วมเผยแพร่ข่าวกิจกรรม ณ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน จ.นครราชสีมา

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง