?การบินไทย? ประสบความสำเร็จ ธุรกิจการบินขานรับ ประชุมเชิงปฏิบัติการ "Biofuels"

พุธ ๒๘ มีนาคม ๒๐๑๒ ๑๗:๐๑
การบินไทย ประสบความสำเร็จยิ่งใหญ่ ผู้เกี่ยวข้องอุตสาหกรรมการบินทั่วโลก ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ ?Thai Aviation and Environmental Workshop - Biofuels and Efficient Flight Operations? พร้อมขานรับแนวทางในการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพอย่างยั่งยืน เชื่อศักยภาพเมืองไทยจะเป็นศูนย์กลาง Biofuel แห่งเอเชียในอนาคต

นับเป็นความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ใน การประชุมเชิงปฏิบัติการ ภายใต้โครงการพัฒนาเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพในการบินอย่างยั่งยืน ( Thai Aviation and Environmental Workshop - Biofuels and Efficient Flight Operations) เป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่ "การบินไทย" ได้จับมือกับพันธมิตร กระทรวงพลังงาน ปตท.โบอิ้ง ณ โรงแรมพลาซ่าแอทธินี รอยัล เมอริเดียน ที่ผ่านมา โดยมีเนื้อหาการประชุมเกี่ยวกับการพัฒนาเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพ ที่มีบุคคลสำคัญจากแวดวงธุรกิจการบินทั้งภาครัฐ เอกชน สายการบินต่างๆ บริษัทผู้ผลิตเครื่องบิน และผลิตเครื่องยนต์ บริษัทผู้จัดจำหน่ายและผลิตน้ำมัน ผู้บริหารภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมพืชพลังงาน สถาบันวิจัย สถาบันการศึกษา ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางอากาศ ฯลฯ ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับพืชพลังงาน แหล่งวัตถุดิบ เทคโนโลยีการผลิต รวมถึงแนวทางการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพ เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมการบินอย่างยั่งยืน

ตามยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจด้านรักษาสิ่งแวดล้อมของ "การบินไทย" คือ การเดินทางแบบรักษ์สิ่งแวดล้อม หรือ Travel Green เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้ตระหนักถึงการรักษาสิ่งแวดล้อม และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์สู่ชั้นบรรยากาศ โดยหวังกระตุ้นให้สายการบินในภูมิภาคนี้ เกิดการตื่นตัวในการใช้เชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพแทนการใช้น้ำมันอากาศยานที่มาจากฟอสซิล ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ หรือ ไออาต้า (IATA) ผลักดันให้สมาชิกธุรกิจการบินทั่วโลกมีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์

ภายใต้การริเริ่ม ในการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ในครั้งนี้ เป็นความพยายามของการบินไทย ที่จะผลักดันให้โครงการดังกล่าวเกิดขึ้นเป็นรูปธรรม โดย นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้กล่าวสรุปการประชุมฯ ในครั้งนี้ว่า การพัฒนา Biofuel นั้นถือเป็นเรื่องยากในทางปฏิบัติ เนื่องจากเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ แต่เป็นสิ่งที่การบินไทยจะต้องทำให้ได้ก่อนปีค.ศ.2015 เพื่อนำการบินไทยไปสู่เป้าหมาย คือ ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้ 50% ภายในปีค.ศ.2050 ขณะนี้การบินไทยมีนโยบายที่จะพัฒนาไปสู่การเป็นสายการบินไร้มลภาวะภายใต้ คอนเซ็ปท์ ?Travel Green? ด้วยแนวคิดการใช้พลังงานสะอาด จะช่วยลดค่าใช้จ่าย และทำให้โลกน่าอยู่ยิ่งขึ้น ซึ่งการบินไทยเริ่มดำเนินการแล้วอย่างค่อยเป็นค่อยไป ด้วยการทดแทนการใช้กระดาษบนเครื่องบิน มาเป็นอิเล็คทรอนิค เช่น E-Magazine, E-Duty Free การใช้ขวดพลาสติกที่ย่อยสลายง่าย แทนการใช้แก้ว พร้อมระบุว่า การเปลี่ยนแปลงวัสดุอุปกรณ์ในห้องโดยสารให้เบาขึ้น จะช่วยลดน้ำหนักเครื่อง และยังช่วยประหยัดพลังงานได้อีกทางหนึ่ง การบินไทย มีความมั่นใจว่าประเทศไทยสามารถเป็นศูนย์กลางของ Biofuel แห่งเอเชียได้อย่างแน่นอน โดยดูจากปริมาณการใช้น้ำมัน Biofuel ที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก จาก 6 ปีที่แล้ว มีการใช้เพียง 2 แสนลิตรต่อวัน ปัจจุบันมีการใช้มากถึง 2.5 ล้านลิตรต่อวัน อย่างไรก็ตาม การจะพัฒนาไปสู่ความสำเร็จได้ ต้องได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่าย ทั้งรัฐบาล สายการบินต่างๆ คู่ค้า โดยขณะนี้ได้มีความร่วมมือระหว่างการบินไทย และปตท. ที่จะพัฒนาเชื้อเพลิง Biofuel แล้ว และอยากเรียกร้องให้หน่วยงานรัฐบาลเข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษาครั้งนี้

ผศ.ดร. สุตเขตต์ นาคะเสถียร อาจารย์ประจำภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ยังได้สรุปสาระสำคัญของการประชุมตลอด 2 วันที่ผ่านมาว่า แนวทางการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพอย่างยั่งยืน จะประสบความสำเร็จได้ ต้องเริ่มต้นด้วยการเน้นและให้ความสำคัญกับการปลูกพืชพลังงานทดแทน ไม่ว่าจะเป็น มันสำปะหลัง อ้อย ปาล์ม และถั่วเหลือง นอกจากนี้ ปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่ การขยายตัวของการปลูกพืชพลังงาน คือ นโยบายจากภาครัฐ ที่จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการลงทุนจากภาคเอกชน รวมทั้งมีการปลูกพืชพลังงานมากขึ้น โดยรัฐบาลจะต้องสร้างความเชื่อมั่นด้านนโยบาย ซึ่งจะเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศต่อไป ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพลังงาน ที่ควรจะต้องมาดูแล เพื่อให้ประเทศไทยพัฒนาเป็นศูนย์กลางของ Biofuel ในภูมิภาคเอเชีย ประเด็นหลัก คือ การปลูกพืชพลังงานทดแทนต้องมีการบริหารการจัดการตั้งแต่ระดับรากหญ้า คือ เกษตรกร, การพัฒนานโยบายให้สอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกร, การเพิ่มความเชื่อมั่น, การพัฒนาคุณภาพพันธุ์, การช่วยเหลือเรื่องการจัดจำหน่ายและขนส่ง และการประมาณการกำไร ที่ควรจะเป็นให้แก่เกษตรกร รวมถึงการจัดสรรพื้นที่อย่างถูกต้องและถูกกฎหมาย สุดท้ายคือ รัฐบาลต้องช่วยกระตุ้นจากต้นน้ำสู่ปลายน้ำ ตั้งแต่ชาวไร่ชาวนาจนถึงผู้บริโภครายสุดท้าย ซึ่งต้องผ่านกระบวนการให้ความรู้และการพัฒนาด้านเทคโนโลยีอีกมาก

กัปตันสินนภ เทพรักษา นักบินทดสอบ ประจำฝูงบินโบอิ้ง 777 บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ระบุว่าอุตสาหกรรมการบินมีการเติบโตเป็นอย่างมาก ดังนั้นอุตสาหกรรมการบินจึงควรมีส่วนสำคัญ ในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งบริษัทโบ อิ้ง ที่เป็นผู้ผลิตเครื่องบิน ได้ทุ่มเทงบประมาณจำนวนมาก เพื่อวิจัย ออกแบบ และพัฒนา ให้เครื่องบินในรุ่นใหม่ๆ มีอัตราการใช้เชื้อเพลิงลดลง ในส่วนของสายการบินเอง ทั้งสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์และบริษัทการบินไทย นั้นมีกลยุทธ์และ แนวทางที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น การกำหนดกลยุทธ์ Eco-Skies ของสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ และ TG: Travel Green ของบริษัทการบินไทย ที่มีการพัฒนา ปรับปรุง วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้บนเครื่องบิน ระบบการคำนวณแผนการบินและเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้ในการบิน การปรับปรุงและปรับเปลี่ยนเครื่องบินเพื่อลดการใช้เชื้อเพลิง รวมทั้งการประสานความร่วมมือ ระหว่างหน่วยงานต่างๆ ทั้งใน และต่างประเทศ เพื่อให้เกิดการพัฒนาการใช้เชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพในอนาคต เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งบริษัทการบินไทยและ สายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ ต่างเป็นสายการบินแรกในภูมิภาคของตน ที่ทำการบินด้วยเชื้อเพลิงชีวภาพ นอกจากนี้ การให้บริการการจราจรทางอากาศ นั้นมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากที่จะช่วยลด การใช้เชื้อเพลิง ด้วยการนำระบบการจัดการการจราจรทางอากาศที่หลากหลายมาใช้รวมทั้งการปรับปรุง พัฒนา แก้ปัญหา การนำร่อง การใช้น่านฟ้า ด้วยการตัดสินใจร่วมกัน (Collaborative Decision Making : CDM) ซึ่งการจัดการการจราจรทางอากาศอย่างมีประสิทธิภาพนั้น สามารถช่วยสายการบินลดการใช้เชื้อเพลิงไปได้มาก โดยที่สายการบินไม่ต้องลงทุนมาก เหมือนกับการซื้อเครื่องบินรุ่นใหม่มาทดแทนจากองค์ความรู้และข้อมูลต่างๆ ที่ได้จากการสัมมนานี้ บริษัทการบินไทย พร้อมที่จะนำความรู้เหล่านี้มาร่วมมือ พัฒนาและเรียนรู้ไปกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การปฏิบัติการบินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพร่วมกัน

อย่างไรก็ตาม ภาพรวมในการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ Thai Aviation and Environmental Workshop - Biofuels and Efficient Flight Operations ครั้งนี้ ถือเป็นการเริ่มต้นในการปลุกจิตสำนึก และกระตุ้นให้เกิดการการร่วมมือกันในทุกภาคส่วน เพื่อพัฒนาน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพอย่างยั่งยืนของอุตสาหกรรมการบิน ทั้งสำหรับประเทศไทย และภูมิภาคเอเชีย ด้วยการพูดคุยถึงแนวทางพัฒนาพลังงานเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพ การวิเคราะห์ถึงปัญหาและการแก้ไขเพื่อจะทำให้เกิดประสิทธิภาพ และประโยชน์สูงสุดในทุกภาคส่วนของอุตสาหกรรมการบินที่ต้องการนำพลังงานทดแทนมาใช้ สนองตอบความต้องการลดปัญหา ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ลดต้นทุนด้านเชื้อเพลิงของสายการบิน และสิ่งสำคัญสุดของการพัฒนา Biofuel จะช่วยให้ไทยไม่มีปัญหาในการบินผ่านน่านฟ้ายุโรป (EU ETS) และอนาคตไทยจะเป็นศูนย์กลางของ Biofuel แห่งเอเชีย ซึ่งจะทำรายได้อย่างมหาศาลเข้าประเทศในที่สุด

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ : ฝ่ายประชาสัมพันธ์โครงการฯ หรือ http://www.prthaiairways.com/thaiair_4p/biofuelsworkshop/

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๕:๓๘ Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง