กลุ่มซีไอเอ็มบี ประกาศผลประกอบการไตรมาส 1 ปี 2555 แสดงกำไรสุทธิ 1.011 หมื่นล้านบาท

ศุกร์ ๒๕ พฤษภาคม ๒๐๑๒ ๑๖:๐๔
CIMB Group Holdings Berhad (“CIMB Group” หรือ “กลุ่มซีไอเอ็มบี”) ประกาศผลประกอบการไตรมาส 1 ปีบัญชี 2555 มีกำไรสุทธิ 1.011 พันล้านริงกิต หรือประมาณ 1.011 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.3% จากปีที่ผ่านมา และคิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) เท่ากับ 13.6 เซ็น (sen) อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นเฉลี่ย (ROE) เท่ากับ15.6% ทั้งนี้ กำไรสุทธิดังกล่าวต่ำกว่ากำไรสุทธิไตรมาส 4 ปีบัญชี 2554 ที่ 10.8%

ดาโต๊ะ ศรี นาเซียร์ ราซัค ประธานกรรมการบริหารกลุ่มซีไอเอ็มบี กล่าวว่า “เราเริ่มต้นปี 2555 ได้อย่างดี ด้วยแรงขับเคลื่อนจากบรรษัทธุรกิจและธุรกิจบริหารเงิน (Corporate Banking & Treasury Markets — CBTM) และการรักษาพลวัตรการเติบโตในอัตราสูงของ CIMB Niaga นอกจากนี้ เรารักษาโมเมนตัมการขยายตัวในระดับปานกลางด้วยสินทรัพย์รวมและเงินกู้ยืมสุทธิที่เพิ่มขึ้น 14% และ 12% ตามลำดับ”

“งบการเงินล่าสุดของกลุ่มฯมีการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินเพิ่มมากขึ้นเพื่อสะท้อนการรวมตัวกันของเครือข่ายในภูมิภาคของกลุ่มฯให้ชัดเจนขึ้น อันเป็นการชี้ให้เห็นถึงมุมมองของฝ่ายบริหารต่อธุรกิจต่างๆของกลุ่มฯที่ดำเนินงานอยู่ทั่วภูมิภาค อีกทั้งเป็นการแสดงถึงการบริหารจัดการที่โปร่งใสของกลุ่มฯต่อผู้ถือหุ้นและผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย” ดาโต๊ะ ศรี นาเซียร์ กล่าว

ผลประกอบการของกลุ่มซีไอเอ็มบี เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา

รายได้รวมของกลุ่มซีไอเอ็มบี สำหรับไตรมาส 1/55 เท่ากับ 3.255 พันล้านริงกิต (หรือประมาณ 3.255 หมื่นล้านบาท) เพิ่มขึ้น18.4% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการขยายตัวของรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย มีกำไรก่อนหักภาษี 1.341 พันล้านริงกิต คิดเป็นอัตราเติบโต8.8% โดยการเติบโตของเงินได้ส่วนหนึ่งชดเชยด้วยการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายจากการด้อยค่าและค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด

ในไตรมาส 1/55 กำไรก่อนหักภาษี จากธนาคารเพื่อผู้บริโภค (consumer banking) ทั่วภูมิภาคของกลุ่มฯเพิ่มสูงขึ้น 3.4% จากไตรมาส 1/54 เป็น 530 ล้านริงกิต โดยกำไรก่อนหักภาษีในธุรกิจนี้ ของมาเลเซียเติบโต 4.7% อันเป็นผลจากการขยายตัวของธุรกิจรายย่อยในขณะที่การเรียกคืนหนี้เสียลดลง ส่วนกำไรก่อนหักภาษีจากธุรกิจรายย่อยของอินโดนีเซียลดลง 1.8% จากปีที่ผ่านมา อันมีสาเหตุจากต้นทุนการดำเนินงานที่สูงขึ้นและการแปลงอัตราแลกเปลี่ยน ในขณะที่กำไรก่อนหักภาษีจากธุรกิจรายย่อยของประเทศไทยมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นภายใต้เกณฑ์ตามมาตรฐานบัญชีของไทย (Thai GAAP) แต่มีผลขาดทุนเล็กน้อยตามงบรวมอันเป็นผลมาจากช่วงเวลาที่แตกต่างกันของการบันทึกการตั้งสำรองหนี้สูญ

ขณะที่ กำไรก่อนหักภาษี จากธุรกิจขนาดใหญ่ทั่วภูมิภาคของกลุ่มฯในไตรมาส 1/55 เพิ่มขึ้น 7.1% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาเป็น 641 ล้านริงกิต เนื่องจากด้านบริหารเงินมีกำไรก่อนหักภาษี เพิ่มขึ้นเท่าตัวเป็น 381 ล้านริงกิต จากตลาดทุนที่แข็งแกร่งและกระแสเงินต่างประเทศ ในขณะที่ด้านวาณิชธนกิจเริ่มต้นปีใหม่อย่างช้าๆโดยมี กำไรก่อนหักภาษี ลดลง78.2% ส่วน กำไรก่อนหักภาษี จากบรรษัทธุรกิจลดลง27.0% จากไตรมาส 1/54 อันเป็นผลจากการตั้งสำรองที่สูงขึ้นในไตรมาส 1/55 และ กำไรก่อนหักภาษี จากการลงทุนเท่ากับ 170 ล้านริงกิต เพิ่มขึ้น 40.4% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา

ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานโดยรวมของกลุ่มฯในไตรมาส 1/55 มาจากธุรกิจด้านธนาคารเพื่อผู้บริโภค (consumer banking) ในสัดส่วนสูงสุด คือ 40% เทียบกับ 36% ในปี 2554 ส่วนที่มาจากธุรกิจบริหารเงินพุ่งขึ้นเป็น 28% จาก 19% ในปี 2554 สัดส่วนที่มาจากบรรษัทธุรกิจเท่ากับ 18% วาณิชธนกิจ 1% และ การลงทุน 13%

กำไรก่อนหักภาษี ของ CIMB Niaga ในไตรมาส 1/55 เพิ่มขึ้น 30.7% มาอยู่ที่ 1,280 พันล้านรูเปียห์อินโดนีเซีย โดยคิดเป็นสัดส่วนต่อกลุ่มฯสูงขึ้น28.3% มาอยู่ที่ 431 ล้านริงกิต สำหรับ กำไรก่อนหักภาษี ของธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เท่ากับ 353 ล้านบาท คิดเป็นอัตราเติบโต 20.8% แต่หลังจากปรับตาม Thai GAAP และ FRS139 สัดส่วนต่อกลุ่มฯลดลง 73.5% มาอยู่ที่ 10 ล้านริงกิต โดยสรุป กำไรก่อนหักภาษี จากกิจการที่ไม่ใช่สัญชาติมาเลเซียมีสัดส่วนสูงขึ้นเป็น 43%ในไตรมาส 1/55 จาก38% ในปี 2554

เงินให้สินเชื่อรวมของกลุ่มฯในไตรมาส 1/55 ขยายตัว 10.5% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ หากไม่รวมส่วนที่เรียกคืนจากหนี้เสียซึ่งมีอัตราลดลงแล้ว เงินให้สินเชื่อรวมของกลุ่มฯจะขยายตัว11.8% โดยในส่วนที่เป็นสินเชื่อผู้บริโภคนั้น สัดส่วนสินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อระยะยาว บัตรเครดิต และสินเชื่อขนาดย่อม (Micro-lending) ของกลุ่มฯเติบโต12.6% 7.5% 8.0% และ33.6% ตามลำดับเมื่อเทียบกับไตรมาส 1/54 สินเชื่อเพื่อการพาณิชย์ขยายตัว18.3% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ในขณะที่สินเชื่อรถยนต์เติบโต3% ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) โดยรวมของกลุ่มฯลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่3.04% เทียบกับ3.08% ในปีที่ผ่านมา

เงินฝากรวมของกลุ่มฯในไตรมาส 1/55 เพิ่มสูงขึ้น 13.7% จากไตรมาส 1/54 อันเป็นผลจากเงินฝากรายย่อยเติบโต 15.6% เงินฝากบรรษัทธุรกิจและบริหารเงินเพิ่มสูงขึ้น 11.1% จากไตรมาส 1/54 หากแบ่งตามประเทศ เงินฝากขยายตัวสูงสุดในประเทศไทยที่อัตรา 25.3% จากฐานซึ่งค่อนข้างแคบ ในขณะที่เงินฝากในมาเลเซียเพิ่มขึ้น15.2% อินโดนีเซีย 6.2% และสิงคโปร์ 13.0% อัตราเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (CAR) ของกลุ่มฯลดลงเล็กน้อยจาก 34.6% ในปีที่ผ่านมามาอยู่ที่ 34.2%

หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้รวมของกลุ่มฯ เท่ากับ 144 ล้านริงกิตในไตรมาส 1/55 ซึ่งเพิ่มขึ้นมากจาก 6 ล้านริงกิตในไตรมาส 1/54 ซึ่งรวมการกลับรายการ (write-back) สำรองหนี้สงสัยจะสูญและการเรียกคืนหนี้สูญเป็นจำนวนมาก อัตราส่วนการตั้งสำรองหนี้สูญต่อสินเชื่อของกลุ่มฯ (credit charge) ที่คำนวณเป็นสัดส่วนปี (annualized) อยู่ที่ 0.30% ซึ่งเป็นไปตามเป้าทั้งปีที่ 0.31% อัตราหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้รวม (gross impairment ratio) ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องมาอยู่ที่ 4.8% ในไตรมาส 1/55 เทียบกับ 5.1% ณ ปลายปี 2554 และ 5.9% ณ สิ้นไตรมาส 1/54 โดยมีอัตราส่วนการตั้งสำรองหนี้สูญ (impairment allowance coverage) ของกลุ่มฯเท่ากับ 81.3% อัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้ปรับตัวดีขึ้นเป็น 55.1% เปรียบเทียบกับ 56.2% ในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา

CIMB Bank มีอัตราเงินทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (risk weighted capital ratio) ที่ 15.9% โดยเป็นกองทุนชั้นที่ 1 ที่ 13.9% ณ วันที่ 31 มีนาคม 2555 (รวมกำไรสุทธิไตรมาส 1/55 แล้ว) อัตราส่วนเงินลงทุนในบริษัทลูกต่อทุน (double leverage ratio) และ อัตราเร่ง (gearing ratio) ของ CIMB Group เท่ากับ 118.1% และ 20.2% ตามลำดับ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2555

ผลประกอบการของธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย

เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2555 ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย แถลงผลประกอบการไตรมาส 1/55 ซึ่งมีกำไรสุทธิ 344 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 282 ล้านบาทในไตรมาส 1/54 ซึ่งหากรวมกำไรบันทึกครั้งเดียวจำนวน 1.009 พันล้านบาทจากการเรียกคืนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เดิมที่บริหารโดยบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ซึ่งส่วนหนึ่งได้มีการใช้ไปในการตั้งสำรองเพิ่มหลังจากอุทกภัยครั้งใหญ่ในปีที่ผ่านมา ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จะมีกำไรสุทธิลดลง 25.2% สัดส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อเงินให้สินเชื่อ (loan loss charge) คำนวณเป็นสัดส่วนปีอยู่ที่ 0.5% ในขณะที่สัดส่วนเงินสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ (loan loss coverage) ลดลงจาก 98.4% ณ สิ้นไตรมาส 1/54 มาอยู่ที่ 71.1%

อัตราเงินกองทุนชั้นที่ 1 และ สัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (risk weighted capital) ของธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เท่ากับ 7.6% และ 11.9% ตามลำดับ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2555 สัดส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวมสุทธิ (net NPL ratio) เพิ่มขึ้นเป็น 2.3% จาก 1.9% ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2554

แนวโน้มสภาวะธุรกิจในอนาคต

ดาโต๊ะ ศรี นาเซียร์ ราซัค กล่าวว่า “แม้ภาวะเศรษฐกิจและตลาดโลกจะมีความเสี่ยงสูง กลุ่มซีไอเอ็มบี ยังคงมองเห็นโอกาสที่จะสามารถบรรลุเป้าหมายธุรกิจปี 2555 ที่ตั้งไว้ได้ ดีลธุรกิจต่างๆที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้มีความสดใส เชื่อว่าเราจะสามารถรองรับแนวโน้มการชะลอการเติบโตของสินเชื่อผู้บริโภคในภูมิภาคนี้ได้โดยการปรับปรุงการบริหารหนี้สินและเพิ่มรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยให้สูงขึ้น”

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๗ เม.ย. อแมนด้า ชาร์ลีน ออบดัม VICHY LIFTACTIV BRAND PARTNER ตัวแทนประเทศไทย ร่วมงาน 'V.I.C VICHY INTEGRATIVE CENTER' อีเว้นท์สุดยิ่งใหญ่ในรอบ 5 ปี ของแบรนด์ VICHY (วิชี่) อวดลุคเซ็กซี่สุดฮอต สวย ปัง
๒๖ เม.ย. ไทยพีบีเอสผนึกกำลัง สสส. ผลิต และเผยแพร่เนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว
๒๖ เม.ย. NPS ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ประจำปี 2567
๒๖ เม.ย. แพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี แนะฤดูร้อนควรทานพืชผักที่มีฤทธิ์เย็นช่วยลดความร้อนในร่างกาย
๒๖ เม.ย. แพรนด้า จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566
๒๖ เม.ย. RBRU Herb Shot ขยายศักยภาพทางธุรกิจ รุกตลาดอินเดีย
๒๖ เม.ย. ไฮเออร์ ประเทศไทย เดินเกมรุกไตรมาส 2 เปิดตัวตู้เย็นรุ่นใหม่ Multi-door HRF-MD679 ตั้งเป้าปี 67 ดันยอดขายตู้เย็นโต
๒๖ เม.ย. เอ็น.ซี.ซี.ฯ ประกาศจัดงาน PET EXPO THAILAND 2024 ระดมสินค้า บริการ ลดหนักจัดเต็ม รับกระแส Petsumer ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตแรง
๒๖ เม.ย. ธอส. ขานรับนโยบายรัฐบาล ลดอัตราดอกเบี้ย MRR 0.25% ต่อปี พร้อมส่งเสริมวินัยการออม ด้วย เงินฝากออมทรัพย์เก็บออม ดอกเบี้ยสูงถึง 1.95%
๒๖ เม.ย. ManageEngine ลดความซับซ้อน ช่วยองค์กรจัดการต้นทุนบนคลาวด์ทั่วมัลติคลาวด์ได้ง่ายขึ้น พร้อมรองรับแพลตฟอร์ม Google Cloud