เอกชนเสนอคลังเร่งออกพระราชกฤษฎีกายกเว้นการเสียภาษีสำหรับบริษัทไทยที่ไปลงทุนต่างประเทศ

ศุกร์ ๐๖ กรกฎาคม ๒๐๑๒ ๑๕:๑๙
เอกชนเสนอคลังเร่งออกพระราชกฤษฎีกายกเว้นการเสียภาษีสำหรับบริษัทไทยที่ไปลงทุนต่างประเทศ หลังค้างมาตั้งแต่รัฐบาลก่อน ชี้เป็นประโยชน์ในการผลักดันให้คนไทยออกไปลงทุนต่างประเทศ และเตรียมพร้อมรับมือการเปิดเสรี AECในปี 2558

ศาสตราจารย์พิเศษกิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ ประธานคณะกรรมการกฎหมายภาษีอากร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า เอกชนขอเรียกร้องไปยังนายกิตติรัตน์ ณ ระนองรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อให้เร่งพิจารณาผลักดันร่างแก้ไขพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 442 ที่ว่าด้วยการยกเว้นภาษีให้กับบริษัทไทยที่ออกไปลงทุนในต่างประเทศ เพราะเป็นกฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อการสนับสนุนให้ธุรกิจคนไทยออกไปลงทุนต่างประเทศตามนโยบายของรัฐบาล และยังเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับภาคธุรกิจไทยในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558

ทั้งนี้ ร่างแก้ไขพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ได้ดำเนินการมาแล้วตั้งแต่สมัยรัฐบาลก่อน ซึ่งได้มีการตัดเงื่อนไขในเรื่องการเสียภาษีของบริษัทไทยในต่างประเทศ โดยเหลือแค่ว่า หากบริษัทไทยที่ไปลงทุนต่างประเทศได้เสียภาษีเงินได้ไม่ว่าในชั้นใดชั้นหนึ่งแล้ว ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของบริษัทที่ประกอบการหรือบริษัทที่ถือหุ้นในโฮลดิ้ง เงินปันผลที่ส่งกลับเข้ามาจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้

“หลังจากเปลี่ยนรัฐบาล เรื่องได้ถูกส่งกลับมายังนายกิตติรัตน์ เพื่อพิจารณาว่าเห็นด้วยหรือไม่แต่เอกชนทราบว่าท่านรัฐมนตรีไม่เห็นชอบกับนโยบายภาษีดังกล่าว โดยขอให้กรมสรรพากรพิจารณาข้อมูลใหม่ เพราะเห็นว่าอาจจะเป็นช่องทางในการหลบเลี่ยงภาษีของบริษัทไทย และไม่อยากให้บริษัทนำเงินต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทยเพื่อไม่ให้เงินบาทแข็งตัว ซึ่งไม่ทราบว่าข้อเท็จจริงเป็นเช่นนั้นหรือไม่แต่เอกชนเห็นว่า รัฐบาลควรจะเร่งออกพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับธุรกิจไทยที่ไปลงทุนต่างประเทศ เพราะนโยบายที่สวนทาง ทำให้บริษัทไทยมีต้นทุนแพงกว่าบริษัทในประเทศอื่น จึงอยากขอให้นายกิตติรัตน์พิจารณาเรื่องนี้อีกครั้ง”นายกิติพงศ์กล่าว

นายกิติพงศ์ กล่าวว่า ปัจจุบันการออกไปลงทุนต่างประเทศของบริษัทไทย หากเป็นการลงทุนในบริษัทโฮลดิ้งในสิงคโปร์ ฮ่องกง หรือในประเทศสวรรค์ผู้เสียภาษี (Tax Haven) ปกติเงินได้หรือกำไรที่ได้จากการประกอบธุรกิจในต่างประเทศ จะถือเป็น Foreign Source Income มักจะไม่ต้องเสียภาษีแต่เมื่อบริษัทดังกล่าวจ่ายเงินปันผลคืนมาให้บริษัทไทย และบริษัทไทยนำเงินปันผลกลับเข้าประเทศจะต้องเสียภาษีเต็มจำนวนคือ 23% ในปี 2555 และ 20% ในปี 2556 ซึ่งเป็นเรื่องที่นักลงทุนได้เรียกร้องมานาน 2-3 ปีแล้ว

ทั้งนี้ การที่รัฐบาลไม่สนใจต่อข้อเรียกร้องของเอกชน ทำให้อาจมีบริษัทไทยที่ไปลงทุนต่างประเทศ ไม่นำเงินปันผลกลับมามาประเทศไทย และจะยิ่งทำให้ประเทศไทยเสียประโยชน์ในภาพรวม เพราะบริษัทก็จะนำเงินไปลงทุนต่อหรือเก็บเงินไว้ในต่างประเทศ ประเทศไทยก็จะไม่ได้อะไรเลย

“ผมเห็นว่าการลงทุนในต่างประเทศของบริษัทไทยควรเป็นเรื่องเร่งด่วนที่รัฐบาลจะต้องพิจารณาและให้ความสำคัญในเรื่องนี้อย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกฎหมายและภาษี ผมเห็นว่าในภาวะวิกฤติยุโรปอาจทำให้เราซื้อของได้ถูก เราควรพลิกวิกฤตเป็นโอกาสหาช่องทางการซื้อทรัพย์สินและกิจการในต่างประเทศให้เป็นของคนไทย นอกจากนั้น ในปี 2558 ยังจะมีการดำเนินการเปิดเสรี AEC จึงเป็นเรื่องเร่งด่วนและสำคัญ”นายกิติพงศ์กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๓๓ COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๑๘:๓๖ GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๑๘:๔๔ PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๑๘:๓๙ LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๑๘:๑๒ ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๑๘:๕๗ ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๑๘:๓๖ LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๑๘:๔๖ SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๑๘:๔๙ STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๑๘:๓๕ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน