WWF ขยายเครือข่ายโรงเรียนฟื้นฟูสัตว์ป่า พัฒนาหลักสูตรการเรียนดึงชุมชนมีส่วนร่วมมุ่งหวังฟื้นฟูประชากรเสือ

ศุกร์ ๑๓ กรกฎาคม ๒๐๑๒ ๑๕:๔๖
WWF ประเทศไทยร่วมกับอุทยานแห่งชาติกุยบุรีและโรงเรียนในพื้นที่รอบอุทยานฯพัฒนาหลักสูตรเสริมความรู้สร้างเครือข่ายโรงเรียนอนุรักษ์เสือโคร่งมุ่งหวังฟื้นฟูประชากรเสือโคร่งและสัตว์ป่าทุกชนิดในพื้นที่

คณะครูอาจารย์จำนวน 40 คนจาก 20 โรงเรียนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่โดยรอบอุทยานแห่งชาติกุยบุรีร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดกิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการอนุรักษ์เสือโคร่งครั้งที่ 4 ประจำปี 2555 ซึ่ง WWF ประเทศไทยและอุทยานแห่งชาติกุยบุรีจัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายโรงเรียนอนุรักษ์เสือโคร่งและพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับงานอนุรักษ์เสือโคร่งและสัตว์ที่เป็นเหยื่อโดยมุ่งหวังให้แต่ละโรงเรียนนำหลักสูตรไปปรับใช้ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมของแต่ละพื้นที่เพื่อการฟื้นฟูและอนุรักษ์ประชากรเสือโคร่ง

การประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดกิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการอนุรักษ์เสือโคร่งครั้งนี้มีขึ้นเป็นเวลา 3 วันระหว่างวันที่ 11 — 13 กรกฎาคม 2555 ณอุทยานแห่งชาติกุยบุรีโดยเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดกิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษาของโรงเรียนแต่ละแห่งรวมทั้งการหาแนวทางการจัดกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์เสือโคร่งในอนาคตของเครือข่ายโรงเรียนอนุรักษ์เสือโคร่งแนวทางการจัดหลักสูตรสถานศึกษาที่บูรณาการความรู้ด้านการอนุรักษ์เสือโคร่งในโรงเรียนอย่างยั่งยืนและสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในโรงเรียนได้ซึ่งครอบคลุมกระบวนการคิดเชิงระบบเพื่อการวิเคราะห์ปัญหาการประยุกต์ใช้ภูมิสารสนเทศเพื่อประกอบการศึกษาและรวบรวมองค์ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมในพื้นที่และการจัดกระบวนการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมโดยผ่านเกมสิ่งแวดล้อมศึกษา

“การสร้างเครือข่ายโรงเรียนอนุรักษ์เสือโคร่งเป็นหนึ่งในความพยายามของ WWF ประเทศไทยและอุทยานแห่งชาติกุยบุรีในการฟื้นฟูประชากรและอนุรักษ์เสือโคร่งและแก้ปัญหาการลดลงของสัตว์ที่เป็นเหยื่อของเสือโคร่งอันมีสาเหตุมาจากการล่าสัตว์เพื่อขายโดยสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในทุกภาคส่วนโดยเฉพาะภาคการศึกษาซึ่งมีความสำคัญและเป็นความจำเป็นเร่งด่วนให้ความรู้เพื่อสร้างความเข้าใจชุมชนในพื้นที่ซึ่งมีความสำคัญต่อการอนุรักษ์เสือโคร่งอย่างมาก” โรเบิร์ตสไตน์เมท์ซหัวหน้าฝ่ายชีววิทยาการอนุรักษ์ WWF ประเทศไทยกล่าว

เครือข่ายโรงเรียนอนุรักษ์เสือโคร่งเริ่มดำเนินการขึ้นเมื่อปี 2552 โดยได้ทำการร่างหลักสูตรการฟื้นฟูประชากรเสือโคร่งขึ้นใช้สอนในโรงเรียนในพื้นที่เป้าหมายโดยรอบอุทยานแห่งชาติกุยบุรีและมีเป้าหมายขยายเครือข่ายโรงเรียนอนุรักษ์เสือโคร่งให้ครอบคลุมทุกโรงเรียนในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์และจังหวัดใกล้เคียงซึ่งในระยะ 3 ปีของการดำเนินโครงการจนถึงปัจจุบันส่งผลให้จำนวนประชากรเหยื่อของเสือโคร่งอย่างเก้งกระทิง และหมูป่าในอุทยานแห่งชาติกุยบุรีมีการฟื้นฟูประชากรเพิ่มขึ้นอันเป็นแนวโน้มที่ดีในการฟื้นฟูเสือโคร่ง

"อยากให้นักเรียน ชุมชน เข้าใจและตระหนักว่าการอนุรักษ์สัตว์ป่าเป็นสิ่งสำคัญ ป่าจะต้องไม่เงียบ คือมีแต่ป่าแต่ไม่มีสัตว์ป่าเหลืออยู่ ให้เห็นคุณค่าของสัตว์ป่า ป่ายังคงเป็นป่าถ้ามีสัตว์ป่า ทำหน้าที่ในห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศ สัตว์ป่ามีการกระจายพันธุ์ฟื้นฟูมากขึ้น และก็จะส่งผลต่อชุมชน ที่มีผืนป่าที่สมบูรณ์ มีสัตว์ป่า และยังที่จะมีรายได้จากการท่องเที่ยว อีกทางหนึ่งอีกด้วย"วิจิตราญาณกิตติ อาจารย์โรงเรียนประจวบวิทยาลัยหนึ่งในคณะครูเครือข่ายอนุรักษ์เสือโคร่งและสัตว์ป่า กล่าว

“โอกาสในการฟื้นฟูและอนุรักษ์ประชากรเสือโคร่งต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของคนในสังคมทุกฝ่ายที่ต้องตระหนักถึงความสำคัญและเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมกันลดละเลิกเพื่อแก้ปัญหาไม่ว่าจะเป็นการไม่บริโภคเนื้อสัตว์ป่าไม่ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำหรือมีส่วนประกอบจากอวัยวะของสัตว์ป่าสนับสนุนการทำงานของชุมชนในการต่อต้านการล่าเสือและสัตว์ที่เป็นอาหารของเสือและเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการรณรงค์เพื่อยุติการค้าสัตว์ป่าโดยตรง” โรเบิร์ตกล่าว

การลดลงของประชากรเสือโคร่งมีสาเหตุหลักมาจากการลดลงของพื้นที่ป่าที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยการลดลงของสัตว์ที่เป็นเหยื่อและการล่าเสือโคร่งเพื่อขายอวัยวะการอนุรักษ์และฟื้นฟูประชากรเสือโคร่งซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดความสมบูรณ์ของระบบนิเวศจึงมีความสำคัญและจำเป็นเร่งด่วนอุทยานแห่งชาติกุยบุรีซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของผืนป่าแก่งกระจานซึ่งเป็น 1 ใน 3 ผืนป่าในประเทษไทยที่ยังมีเสือโคร่งเหลืออยู่ซึ่งคาดว่าเป็นประชากรส่วนหนึ่งของประชากรเสือโคร่งที่อาศัยอยู่ทั้งในประเทศพม่าและประเทศไทยตามแนวเทือกเขาตะนาวศรีซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญระดับโลกในการอนุรักษ์เสือโคร่ง

ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ

โรเบิร์ตสไตน์เมท์ซหัวหน้าฝ่ายชีววิทยาการอนุรักษ์ WWF ประเทศไทย

โทร +662 619 8534-37 Ext 114,

Email [email protected]

เอื้อพันธ์ชำนาญเอื้อผู้จัดการฝ่ายสื่อสารองค์กร WWF ประเทศไทย

โทร.+662 619 8534-37 Ext 106, +668 19282426,

Email [email protected]

www.wwfthai.org

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง