สมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดสัมมนาในหัวข้อเรื่อง “เจาะลึก AEC กับวิชาชีพวิศวกรรม : ความท้าทายและโอกาส”

อังคาร ๒๔ กรกฎาคม ๒๐๑๒ ๑๖:๑๑
ในปี พ.ศ. 2558 ประเทศไทยจะก้าวสู่การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC (Asian Economic Community) อย่างเต็มรูปแบบ ส่งผลให้วิชาชีพวิศวกรรมซึ่งเป็นหนึ่งในธุรกิจบริการเกิดการเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี ภายใต้กรอบการดำเนินงานของ AEC ดังกล่าว ซึ่งหมายความว่า วิชาชีพวิศวกรรมจะมีทั้งโอกาสและความท้าทายเกิดขึ้นในขณะเดียวกัน การเสริมสร้างศักยภาพของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมให้มีความเข้มแข็ง จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะยกระดับขีดความสามารถของวิศวกรไทยให้มีความได้เปรียบในการแข่งขัน แม้จะมีวิศวกรต่างชาติเข้ามาประกอบวิชาชีพในประเทศไทยมากขึ้น เป็นความท้าทายใหม่สำหรับการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ที่วิศวกรไทยต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น

สมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยการสนับสนุนของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ตระหนักดีถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดงาน Intania Forum 1/2555 ในหัวข้อเรื่อง “เจาะลึก AEC กับวิชาชีพวิศวกรรม : ความท้าทายและโอกาส” ขึ้น ในวันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม 2555 เวลา 13.00-17.00 น. ณ ห้องประชุม ตึก 4 อาคารเจริญวิศวกรรม ชั้น 2 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และเพื่อเตรียมความพร้อมให้วิศวกรไทยก้าวสู่ AEC ได้อย่างมีศักยภาพ

การสัมมนา

เรื่อง “เจาะลึก AEC กับวิชาชีพวิศวกรรม : ความท้าทายและโอกาส”

วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เวลา 13.00 - 17.00 น.

ณ ห้องประชุม ตึก 4 อาคารเจริญวิศวกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จัดโดย สมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สนับสนุนโดย กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยจะก้าวสู่การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC (Asian Economic Community) อย่างเต็มรูปแบบ ในปี พ.ศ. 2558 โดยมีตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมืออย่างเสรี และมีการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่เสรีมากขึ้น ซึ่งการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียนจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจด้วยขนาดประชากรกว่า 600 ล้านคนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนในตลาดโลก ตลอดจนลดอุปสรรคทางการค้าและการลงทุนให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ทั้งนี้ เมื่อประเทศไทยต้องเข้าร่วม AEC ย่อมทำให้วิชาชีพวิศวกรรมเกิดการเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี ภายใต้กรอบการดำเนินงานของ AEC ซึ่งหมายความว่า วิชาชีพวิศวกรรมจะมีทั้งโอกาสและความท้าทายเกิดขึ้นในขณะเดียวกัน การเสริมสร้างศักยภาพของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมให้มีความเข้มแข็ง จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะยกระดับขีดความสามารถของวิศวกรไทยให้มีความได้เปรียบในการแข่งขัน แม้จะมีวิศวกรต่างชาติเข้ามาประกอบวิชาชีพในประเทศไทยมากขึ้น เป็นความท้าทายใหม่สำหรับการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ที่วิศวกรไทยต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอีก 3 ปีข้างหน้า

จากความสำคัญดังกล่าว สมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยการสนับสนุนของ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จึงได้จัดการสัมมนา เรื่อง“เจาะลึก AEC กับวิชาชีพวิศวกรรม : ความท้าทายและโอกาส” ขึ้นใน วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม ณ ห้องประชุม ชั้น 4 อาคารเจริญวิศวกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เพื่อเตรียมความพร้อมให้วิศวกรไทยก้าวสู่ AEC ได้อย่างมีศักยภาพ ผ่านการแลกเปลี่ยนมุมมอง แนวคิดจากวิทยากรผู้มากด้วยองค์ความรู้ และประสบการณ์บนเส้นทางของการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม

กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมการบรรยายพิเศษ

สมาชิก สมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

องค์กร วิชาชีพ หน่วยงานต่างๆ เจ้าของธุรกิจ และประชาชนผู้สนใจทั่วไป

วิทยากร

บรรจงจิตต์ อังศุสิงห์ ผู้อำนวยการสำนักการค้าบริการและการลงทุน กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

พยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

พิสิฐ พุฒิไพโรจน์ นายกสมาคมวิศวกรที่ปรึกษาแห่งประเทศไทย

ประสงค์ ธาราไชย ประธานกรรมการ บริษัท โปรเจค แพลนนิ่ง เซอร์วิส จำกัด, อดีตนายก ว.ส.ท.

ทวีจิตร จันทรสาขา อดีตนายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์

ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ค่าใช้จ่าย การลงทะเบียน 1. ฟรีสมาชิกสมาคมนิสิตเก่าฯ, คณาจารย์, นิสิตปัจจุบัน

2. บุคคลทั่วไป 500 บาท

กำหนดการ Intania Forum 1/2555

เรื่อง “เจาะลึก AEC กับวิชาชีพวิศวกรรม : ความท้าทายและโอกาส”

วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เวลา 13.00 - 17.00 น.

ณ ห้องประชุม ตึก 4 อาคารเจริญวิศวกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เวลา 13.00 - 13.30 น. ลงทะเบียน

เวลา 13.30 - 13.40 น. พิธีเปิดการสัมมนา โดย รศ.ดร.บุญสม เลิศหิรัญวงศ์

คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เวลา 13.40 - 14.30 น. พันธกรณี / สิทธิประโยชน์ / กฎระเบียบธุรกิจบริการและวิชาชีพ ภายใต้ AEC

โดย คุณบรรจงจิตต์ อังศุสิงห์ ผู้อำนวยการสำนักการค้าบริการและการลงทุน

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

เวลา 14.30 - 15.15 น. ทิศทางประเทศไทย เมื่อก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

โดย พยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

เวลา 15.15 -15.30 น. พักรับประทานของว่าง

เวลา 15.30 -16.45 น. เสวนา : ผลกระทบ AEC กับวิชาชีพวิศวกรรม : ความท้าทายและโอกาส

โดย พิสิฐ พุฒิไพโรจน์ นายกสมาคมวิศวกรที่ปรึกษาแห่งประเทศไทย

AEC 2015 : วิศวกรไทย เตรียมความพร้อมรับมืออย่างไรให้ยั่งยืน

โดย ประสงค์ ธาราไชย ประธานกรรมการ บริษัท โปรเจค แพลนนิ่ง เซอร์วิส จำกัด

AEC 2015 : ประสบการณ์และความพร้อมการก้าวสู่ AEC ของสถาปนิกไทย

โดย ทวีจิตร จันทรสาขา อดีตนายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์

ดำเนินการเสวนาโดย ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล

เวลา 16.45 -17.00 น. ถาม-ตอบ

เวลา 17.00 น. ปิดการสัมมนา

หมายเหตุ :

ผู้เข้าร่วมฟังการสัมมนา แนะนำให้จอดรถที่อาคารจามจุรี สแควร์ และ อาคารจอดรถฝั่งอักษรศาสตร์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๓๓ COM7 เดินหน้าเต็มสปีด EV7 ส่งมอบแท็กซี่ไฟฟ้าล็อตแรก ดันเมกะเทรนด์ EV สู่หัวใจเมือง
๑๘:๓๖ GCAP ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ไฟเขียวผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมเดินหน้าแผนธุรกิจขยายสู่กลยุทธ์ Non Lending
๑๘:๔๔ PYLON จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นไฟเขียวจ่ายปันผล 0.04 บาท/หุ้น
๑๘:๓๙ LDC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 มุ่งเป็นคลินิกทันตกรรมพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงง่าย
๑๘:๑๒ ผู้ถือหุ้น TATG ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.07 บาท/หุ้น ลงทุนเครื่องจักรใหม่เสริมแกร่งสายการผลิต พิชิตเป้ารายได้ 3,000
๑๘:๕๗ ADVICE จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นรูปแบบ Hybrid ประจำปี 2568 ผถห.ไฟเขียวทุกวาระ เคาะแจกปันผล 0.175 บ./หุ้น
๑๘:๓๖ LE ร่วมงานสถาปนิก'68 โชว์นวัตกรรมแสงสว่างอัจฉริยะ เสริมภาพผู้นำ Lighting Solutions Provider
๑๘:๔๖ SELIC จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ปี 2568 ผู้ถือหุ้นเห็นชอบทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.038 บาท/หุ้น เดินหน้า 3 ธุรกิจ
๑๘:๔๙ STA เปิดบ้านต้อนรับภาครัฐ โชว์มาตรฐานรับซื้อยางโปร่งใส เป็นธรรม หนุนรัฐต้านยางเถื่อน
๑๘:๓๕ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือเอกชน ปั้นช่างเชื่อมโกอินเตอร์ รายได้ทะลุ 70,000 บาทต่อเดือน