NECTEC ร่วมกับมูลนิธิสยามกัมมาจลและภาคีเครือข่าย จัดโครงการ NSC 2013 พร้อม “ต่อยอด” ผลงานสู่ผู้ใช้จริง

ศุกร์ ๐๓ สิงหาคม ๒๐๑๒ ๑๔:๕๑
เนคเทค จับมือมูลนิธิสยามกัมมาจล และภาคีเครือข่าย จัดโครงการ “การแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทยครั้งที่ 15 (The Fifteenth National Software Contest : NSC 2013)” เปิดโอกาสเด็กไทยพัฒนาความรู้สู่การเป็นนักวิจัยระดับมืออาชีพ หนุนเด็กไทย “ต่อยอด” พัฒนาผลงานให้ใช้ได้จริงใน “โครงการต่อกล้าให้เติบใหญ่” พร้อมโอกาสก้าวสู่อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในระดับนานาชาติ

นายเจษฎา จงสุขวรากุล หัวหน้างานพัฒนาวิชาชีพและเยาวชนไอที ฝ่ายบริหารและสนับสนุนงานวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)เปิดเผยว่าปัจจุบันคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างมาก การผลิตบุคลากรที่มีความสามารถเพื่อพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้เพียงพอต่อความต้องการของอุตสาหกรรมและประเทศเป็นสิ่งจำเป็น และต้องเริ่มต้นปลูกฝังตั้งแต่วัยเยาว์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าวจึงได้จัดโครงการ “การแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 15 (The Fifteenth National Software Contest : NSC 2013)” ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โดยเปิดโอกาสให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา ได้มีโอกาสพัฒนาซอฟต์แวร์และนำความรู้ที่เรียนมาประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน และร่วมพัฒนาศักยภาพด้านไอซีทีให้สามารถนำไปสู่การเป็นนักพัฒนาซอฟต์แวร์มืออาชีพต่อไป

โครงการ “การแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 15 หรือ NSC 2013” จัดการแข่งขันทั้งสิ้น 12 ประเภท แบ่งเป็น ระดับนักเรียน และระดับนิสิตนักศึกษา ทั้งนี้ในระดับนักเรียนจัดการแข่งขันใน 3 หัวข้อ ได้แก่ โปรแกรมเพื่อความบันเทิง โปรแกรมเพื่อการส่งเสริมการเรียนรู้ และโปรแกรมเพื่อการประยุกต์ใช้งาน ในส่วนของระดับนิสิตนักศึกษา แบ่งออกเป็น 5 หัวข้อโดยเพิ่มเติมจากระดับนักเรียน 2 หัวข้อ คือ โปรแกรมเพื่อช่วยคนพิการ ผู้สูงอายุ และโปรแกรมเพื่อการประยุกต์ใช้งานสำหรับลินุกซ์

โปรแกรมเพื่อความบันเทิง ผู้ส่งเข้าประกวดจะต้องพัฒนาโปรแกรมที่สร้างความบันเทิง ด้วยภาพ เสียง สัมผัส การเคลื่อนที่ที่กระตุ้นการใช้ไหวพริบของผู้เล่นหรือส่งเสริมวัฒนธรรม รวมถึงการนำเอกลักษณ์วัฒนธรรมที่ดีของไทยมาใช้ในเกม ซึ่งถือเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมประเพณีของไทย โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้ กำหนดให้ทำในรูปแบบโครงงานมัลติมีเดียที่ส่งเสริมให้มีการพัฒนาทักษะในการคิด และแก้ปัญหาให้ผู้เรียนรู้สึกสนุกกับเนื้อหาในบทเรียน ในส่วนของโปรแกรมเพื่อช่วยคนพิการ จัดทำโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อเป็นเครื่องช่วยอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการประเภทต่าง ๆ ให้สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ อาทิ โปรแกรมช่วยการเขียนหรือการอ่านของเด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้ โปรแกรมช่วยขยายหน้าจอของคนสายตาเลือนลาง นอกจากหัวข้อดังกล่าวข้างต้นยังมีโปรแกรมเพื่อการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นการจัดทำโปรแกรมจำลองสถานการณ์ที่มีผลกระทบต่อสังคม เช่น ปริมาณน้ำในธรรมชาติ การจัดการพื้นที่ป่าไม้ รวมไปถึงโปรแกรมเพื่อการประยุกต์ใช้งานสำหรับลินุกซ์ ซึ่งเป็นโปรแกรมที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน จึงอยากให้เยาวชนมาพัฒนางานในระบบดังกล่าวให้มากขึ้น

“เวทีนี้นอกจากจะเปิดโอกาสให้เยาวชนได้พัฒนาทักษะความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการเขียนโปรแกรม ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในอนาคตแล้ว ยังช่วยสร้างและพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถด้านการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์อีกด้วย ดังจะเห็นได้จากที่ผ่านมามีซอฟแวร์ต้นแบบหลายชิ้นถูกนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง”

ด้านนางปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร ผู้จัดการมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จากการจัดการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฯ ที่ผ่านมา มูลนิธิสยามกัมมาจล พบว่า มีผลงานของเยาวชนที่ส่งเข้าประกวดและได้รับรางวัลในแต่ละปี หลายๆ โครงการเป็นนวัตกรรม ที่หากสามารถสพัฒนาไปสู่การใช้ประโยชน์ได้จริง จะเกิดประโยชน์กับกลุ่มเป้าหมาย และสังคมอย่างมาก อาทิ การพัฒนาโปรแกรมไปสู่เครื่องช่วยอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ การพัฒนาโปรแกรมไปสู่การพัฒนาทางการแพทย์ กลุ่มผู้ต้องการสร้างเสริมสุขภาพ mobile apps รวมไปถึงการพัฒนาโปรแกรมเพื่อเป็นสื่อการเรียนรู้ เป็นต้น

ดังนั้นมูลนิธิฯ จึงร่วมมือกับศูนย์เทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์แห่งชาติ จัดทำโครงการ “ต่อกล้าให้เติบใหญ่” ขึ้น เพื่อให้การสนับสนุน “ทุนต่อยอด” การพัฒนาผลงานไปสู่การใช้ประโยชน์ได้จริงทั้งในระดับชุมชน สังคม และเศรษฐกิจ รวมทั้งให้การสนับสนุนเจ้าของผลงานเข้าร่วมแข่งขันในเวทีนานาชาติอีกด้วย โดยเยาวชนที่ส่งผลงานเข้าแข่งขันฯ และมีความสนใจ สามารถสมัครขอรับทุนสนับสนุนการพัฒนาผลงานเพิ่มเติมจากมูลนิธิฯ ได้ โดยมูลนิธิฯ หวังว่า การสนับสนุนครั้งนี้คงเป็นอีกส่วนหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพด้านไอทีของเยาวชนไทยให้ทัดเทียมกับนานาชาติได้

สำหรับเยาวชนผู้สนใจสามารถส่งใบสมัครเพื่อขอรับทุนพัฒนาผลงาน ทีมละไม่เกิน 3 คน พร้อมส่งข้อเสนอผลงานเพื่อขอรับทุนสนับสนุนเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ประสานงานภูมิภาค มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยศิลปากร สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2555 สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.nectec.or.th/nscหรือ www.nscthailand.netโทรศัพท์ 0 - 2564 - 6900 ต่อ 2345 , 2326 — 28 โทรสาร 0 — 2564 — 6768 หรือที่ Email : [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๔ พ.ค. Siriraj Education Expo 2024 ก้าวสู่ยุคใหม่ไปกับศิริราช พร้อมยกระดับทางการแพทย์ให้ดีขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยทุกคน
๐๓ พ.ค. ครั้งแรก! งานเทศกาลคอนเทนต์ LGBTQ ฉลองความเท่าเทียมทางเพศ THAILAND INTERNATIONAL LGBTQ FILM TV FESTIVAL 2024 ปักหมุดเตรียมพบกัน กันยายนนี้
๐๓ พ.ค. โน วัน เอลส์ ส่ง 3 เพลงรัก 3 สไตล์! ผ่านมิวสิกซี่รีย์ ที่จะทำให้คุณเข้าใจความรักมากขึ้น
๐๓ พ.ค. ทีซีเอ็มซีมอบรางวัลประกวดการออกแบบผลงานด้านผลิตภัณฑ์อคูสติกส์
๐๓ พ.ค. GT Auto ฉลองแชมป์ยอดขาย Volvo จัดงาน มหกรรม GT Auto Show ลดสูงสุด 1,000,000 บาท พร้อมชูบริการ GT Auto Exclusive Service
๐๓ พ.ค. กทม. เตรียมพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงและนักเรียนในสังกัด
๐๓ พ.ค. กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมคณะทำงานความร่วมมือด้านการรับรองแหล่งผลิตพืชฯ (GAP พืช) ครั้งที่ 1/2567
๐๓ พ.ค. First Sale! realme 12 5G และ realme 12X 5G สัมผัสประสบการณ์ Portrait Master กับกล้องซูม 3X in sensor
๐๓ พ.ค. CRYSTALLIZING ใหม่! โดย SHISEIDO PROFESSIONAL อัปเกรดกลุ่มผลิตภัณฑ์ยืด-ดัดผม ชูเทคโนโลยีสุดล้ำ DUAL PERFORMANCE SYSTEM
๐๓ พ.ค. บัลเลต์ รีทรีต บนเกาะมัลดีฟส์ กลับมาอีกครั้ง ที่ อวานี พลัส แฟเรส โดย คาร์ริส สการ์เลต นักเต้นบัลเลต์ชื่อดัง